อัฟกานิสถาน- ประชาชนที่เมืองกันดาฮาร์ ทางตอนใต้ของประเทศ ประกาศร่วมบริจาคเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ออสเตรเลีย- ส่งหน่วยกู้ภัยและค้นหา ซึ่งรวมถึงสุนัขดมกลิ่นไปยังจังหวัดมิยางิ พร้อมทั้งเครื่องบิน C-17 เพื่อให้ความช่วยเหลือทางอากาศ ในการลำเลียงน้ำดื่มสะอาด และเจ้าหน้าที่กองทัพญี่ปุ่นไปยังเขตประสบภัยพิบัติ พร้อมทั้งหน่วยแพทย์สนามและผู้เชี่ยวชาญด้านการระบุเอกลักษณ์บุคคล
อังกฤษ- ส่งเจ้าหน้าที่ผจญเพลิง และผู้เชี่ยบวชาญด้านการค้นหา พร้อมทั้งอุปกรณ์หนักเพื่อใช้ในการยกและตัด พร้อมทั้งบุคลากรอีก 64 นาย และสุนัข 2 ตัว และอาจส่งผู้เชี่ยวชาญด้านิวเคลียร์เพิ่มเติม หากได้รับการร้องขอ
จีน- ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัย 15 นาย พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการค้นหาและช่วยเหลือขนาด 4 ตัน ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า และการสื่อสาร นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้บริจาคอุปกรณ์ยังชีพจำนวน 30 ล้านหยวน ซึ่งรวมถึงผ้านวมและเต๊นท์ที่พักขณะที่นายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน กล่าววานนี้ว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นเสมอ ด้านกาชาดจีนได้บริจาคเงินเพิ่มอีก 5 ล้านหยวน จากก่อนหน้านี้ที่บริจาคไปแล้ว 1 ล้านหยวน
ฝรั่งเศส- ส่งหน่วยค้นหาและกู้ภัยจำนวน 134 คน
เยอรมนี- ส่งหน่วยค้นหาและกู้ภัยจำนวน 41 คนและสุนัข 3 ตัว
ฮังการี- หน่วยงานด้านสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งเจ้าหน้าที่ในฐานะส่วนหนึ่งของเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือนานาชาติ (International Response Assistance Network (RANET)) เพื่อตรวจสอบระดับสารกัมมันตรังสี และให้คำปรึกษาด้านการรักษาพยาบาล โดยแบ่งเป็น 7 ทีม
อินเดีย- เตรียมส่งเครื่องบินบรรทุกผ้าห่มขนสัตว์
อินโดนีเซีย- เตรียมส่งหน่วยค้นหาและกู้ภัย 15 นาย ซึ่งเคยปฏิบัติภารกิจที่เฮติ พร้อมทั้งผ้าห่ม ที่นอน แท๊งค์น้ำ และน้ำดื่มบรรจุขวด
ลิธัวเนีย- เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ผจญเพลิงและหน่วยกู้ภัยทั้งสิ้น 32 นาย รวมถึงสุนัขค้นหา 3 ตัว และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 3 คน โดยประสานผ่านสหภาพยุโรป(อียู)
มาเลเซีย- เตรียมส่งทีมเจ้าหน้าที่ค้นหาและกู้ภัยมากกว่า 50 นาย พร้อมทั้งอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ยารักษาโรค และหน่วยสุนัขค้นหา 5 ตัว
มองโกเลีย- บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์ และผ้าห่มขนสัตว์ 2,500 ผืน รวมทั้งทหารจำนวนกว่า 300 นาย เพื่อช่วยค้นหาผู้รอดชีวิต
นิวซีแลนด์- ส่งหน่วยค้นหาและช่วยเหลือจำนวน 65 นาย
รัสเซีย- "โรซาทอม" หน่วยงานด้านความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาล เสนอความช่วยเหลือที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หากได้รับการร้องขอ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัย 75 นายเข้าไปยังพื้นที่ประสบภัยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
สโลวาเกีย- นายอิเวต้า ราดิโควา กล่าวต่อรัฐสภาว่า สโลวาเกียได้จัดเตรียมเงินจำนวน 250,000 ยูโร เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่น แต่ก็จะร่วมมือกับชาติอื่นๆในอียูเช่นกัน อย่างไรก็ดี รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงแจ้งว่ายังไม่จำเป็นต้องส่งหน่วยกู้ภัย จนกว่าจะพิจารณาได้ว่าต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งตอนนี้สโลวาเกียได้เตรียมพร้อมไว้แล้ว 25 นาย
เกาหลีใต้- เจ้าหน้าที่กู้ภัยจำนวน 102 นาย เดินทางถึงจังหวัดฟูกุชิมาแล้วเมื่อวันจันทร์โดยเครื่องบิน ซี-130 จำนวน 3 ลำ ขณะที่อีกจำนวน 100 นายเตรียมพร้อมช่วยเหลือ ขณะที่วันเสาร์ที่ผ่านมา ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ผจญเพลิงจำนวน 5 นาย และสุนัขค้นหาจำนวน 2 ตัวมาปฏิบัติงานแล้ว
ศรีลังกา- ประกาศให้เงินช่วยเหลือ 1 ล้านดอลลาร์ และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ พร้อมทั้งหน่วยแพทย์ไปยังญี่ปุ่น
ไต้หวัน- ผู้เชี่ยวชาญด้านกู้ภัยจำนวน 28 นายเดินทางไปถึงกรุงโตเกียววานนี้ (14 มี.ค.) ซึ่งบางส่วนเคยเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่เมืองไครสต์เชิร์ชมาแล้ว นอกจากนั้นยังส่งอุปกรณ์ยังชีพต่างๆ อาทิ เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม และอาหาร และเตรียมส่งเครื่องทำความร้อนเพิ่มเติม
ไทย- คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบช่วยเหลือจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อซื้อเสื้อกันหนาว ถุงมือ รองเท้าบูทยาง อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ รวมถึงข้าวสารจำนวน 15,000 ตัน ขณะที่แพทย์ 2 คนและพยาบาล 1 ราย เดินทางไปญี่ปุ่นแล้วเมื่อวันจันทร์ อีกทั้ง หน่วยแพทย์จำนวน 17 คน เตรียมเดินทางไปยังญี่ปุ่นเช่นกัน
สหรัฐอเมริกา- เครื่องบินขนส่ง ยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน เดินทางไปยังญี่ปุ่นเพื่อให้ความช่วยเหลือแล้ว ขณะที่มีการส่งเรือรบเพิ่มเติมไปยังบริเวณชายฝั่งเมื่อวันอาทิตย์
-สถานทูตสหรัฐฯ ณ กรุงโตเกียว จัดสรรเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จำนวน 100,000 ดอลลาร์ ขณะที่ทำเนีบขาวพร้อมให้ความช่วยเหลือหากว่าได้รับการร้องขอ
-หน่วยงานด้านการพัฒนานานาชาติแห่งสหรัฐ (ยูเสด) ส่งทีมเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือ 2 ทีม จำนวน 150 นาย และสุนัขค้นหาจำนวน 12 ตัว
เวียดนาม- เตรียมให้เงินช่วยเหลือจำนวน 200,000 ดอลลาร์ สภากาชาดเวียดนามจะมอบเงินจำนวน 50,000 ดอลลาร์ ผ่านสภากาชาดญี่ปุ่น
ความช่วยเหลืออื่นๆ:
เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากสภากาชาดตุรกี, ทีมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากสวิตเซอร์แลนด์, หน่วยแพทย์จากแคนาดา, หน่วยงาน Save the Children และ Plan International, ผู้สังเกตการณ์เบื้องต้นจากหน่วยแพทย์ไร้พรมแดน (Medecins Sans Frontieres-MSF) ที่เดินทางไปยังจังหวัดมิยางิ เพื่อค้นหาข้อมูลด้านความต้องการด้านอาหาร ผ้าห่ม และน้ำดื่มที่เมืองเซนได ขณะที่หน่วยสื่อสารไร้พรมแดน (Telecoms sans Frontiers-TSF) จัดให้มีการช่วยเหลือด้านระบบการสื่อสารฉุกเฉินจากกรุงโตเกียว
โดยหน่วยแพทย์ไร้พรมแดน ซึ่งมีจำนวน 10 คน ได้แบ่งออกเป็น 3 ทีม เพื่อจัดคลีนิคเคลื่อนที่ในจังหวัดมิยางิ
ขณะที่สำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OCHA) กล่าวในเว็บไซต์ของตนว่า ทีมกู้ภัยฉุกเฉินและหน่วยบรรเทาทุกข์กำลังเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น