ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.88/90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดเมื่อวาน (31/1) ที่ 30.89/92 โดยระหว่างการซื้อขายในช่วงเช้าในช่วงเช้าค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยการแข็งค่าของค่าเงินบาทหนึ่งมาจากการปรับฐานของตลาด หลังจากที่ไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ระดับ 31.10 บาท/ดอลลาร์สหรัฐได้
สำหรับการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยโดยทางกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเปิดเผยออกมาว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนธันวาคมนั้นเพิ่มขึ้น 18.6% ตรงกับที่ตลาดคาดการณืไว้ ส่วนตัวเลขนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.8% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ 9% ซึ่งไม่ได้ผิดไปจากการคาดการณ์ของตลาดมากนัก นอกจากนี้ยังมีการประกาศตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคมซึ่งเพิ่มขึ้น 3.03% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.0% ซึ่งทางนักวิจัยหลายฝ่ายก็มองว่าปัญหาเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทย โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ยังคงมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นและยังโฮกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ สำหรับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ค่อนข้างมีความผันผวนในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทยก้ได้ออกมา กล่าวว่าจะทำการดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนเกินกว่าที่ภาคธุรกิจจะแบกรับได้หลักจากเผชิญกับปัญหาเงินทุนไหลเข้า/ออกเร็ว สำหรับตลาดหุ้นในภูมิภาคต่างๆ นั้นกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากปรับตัวลดลงเนื่องจากการลดความต้องการในการถือสินทรัพย์เสี่ยงจากความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศอียิปต์คลายตัวลงไปบางส่วนจากการที่ทางฝ่ายรัฐบาลต้องการที่จะเจรจากับทางฝ่ายผู้ประท้วงและยืนยันที่จะไม่ใช้อาวุธในการห้ามปรามผู้ชุมนุม โดยตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 11891.93 จุด (+88.23 จุด หรือ 0.56%) สำหรับตลาดหุ้นไทยในวันนี้นั้นปรับตัวลดลง 0.46% หรือ 4.41 จุดก่อนที่จะปิดตัวที่ระดับ 959.69 จุด จากแรงเทขายหลังจากที่เปิดตัวบวกขึ้นไปเกือบ 10 จุด สำหรับค่าเงินบาทระหว่างวันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 30.85.93 ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 30.92/30.95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงเล็กน้อยเทียบกับระดับเปิด
ค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.3716/18 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยที่ค่าเงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นเทียบดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง จากการที่ตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซนออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 2.4% ในเดือนมกราคม ประกอบกับที่ผลการประชุมดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของทางธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ได้เริ่มมีเสียงสนับสนุนให้มีการปรับขึ้นดอกเบึ้ย ซึ่งเมื่อเทียบกับธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ที่ไม่ได้เผชิยกับความกดดันจากภาวะเงินเฟ้อทำให้ทาง ECB อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะทำให้การลงทุนที่เป็นสกุลเงินยูโรดึงดูดนักลงทุนที่ไล่ตามผลตอบแทนได้มากกว่า และจะส่งผลถึงอุปสงค์ต่อค่าเงินยูโรด้วย นอกจากนี้ทาง ECB อาจจะทำการถอดถอนมาตรการช่วยเหลือทางการเงินเฉพาะการบางอย่างถ้าสถานการณ์ปัญหาหนี้สินเริ่มทรงตัว โดยค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้นมาสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 1.3774 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยในระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1.3667-1.3774 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนปิดตลาดไปที่ระดับ 1.3771/3773 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับเหตุการณ์ที่น่าสนใจนั้นอยู่ที่การประกาศยอมเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงในอียิปต์ที่ได้มีการนัดออกมาชุมนุมกันครั้งใหญ่ กว่า 1 ล้านคน เพื่อกดดันประธานาธิบดี ออสนี บูมารัก ให้ก้าวลงจากตำแหน่งหลังจากที่เศรษฐกิจของอียิปต์ไม่สามารถฟื้นตัวได้หลังจากที่ผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกมาโดยอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหดตัวลงกว่า 7% ทำให้ไม่สามารถสร้างการจ้างงานเพื่อรองรับตลาดแรงงานได้ นอกจากนี้ประชาชนยังเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการปิดคลองชุเอสที่จะทำให้เส้นทางการขนส่งน้ำมันหลักจากทางแอฟริกาขาดตอนลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกดีดตัวขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ตลาดยังเฝ้าดูการประชุมดอกเบี้ยของทางธนาคารกลางยุโรปในวันพฤหัสบดีนี้และตัวเลข Non-Farm Payrolls ประจำเดือนมกราคมของสหรัฐและในวันพุธหน้านายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะแถลงการณ์เกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรส
อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ 0.75/1.00 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ 0.50/1.50 สตางค์/ดอลลาร์