เอกชนขอนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่ม5หมื่นตัน

เอกชนอ้างผลผลิตปาล์มในประเทศช่วงเดือนธ.ค.53 ต่ำเป้า ขอนำเข้าเพิ่มอีก 5 หมื่นตัน ชง"สุเทพ"ชี้ขาด 1 ก.พ.นี้

ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวอยู่ระหว่างการเสนอให้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณา

หากได้รับความเห็นชอบต้องนำเข้าให้เสร็จในช่วงปลายเดือนก.พ.นี้ก่อนผลปาล์มภายในออกสู่ตลาด และต้องเป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภคเท่านั้น เนื่องจาก
น้ำมันปาล์มดังกล่าวมีผู้ประกอบการบางกลุ่มที่นำไปสกัดใช้เป็นไบโอดีเซล ซึ่งเป็นการหาผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง ย่างไรก็ตามการพิจารณาให้นำเข้าได้ต้องคำนึงถึงสต๊อกน้ำมันปาล์มที่มีอยู่ในประเทศด้วย โดยสศก. ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจเช็ค ในเบื้องต้นคาดว่ามีอยู่ 6-7 หมื่นตัน ลดลงจากเดิมที่มีอยู่ 8 หมื่นตัน

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า

วันที่ 1 ก.พ.นี้ นายสุเทพ ในฐานะประธานคณะกรรมการ
น้ำมันปาล์มแห่งชาติ จะเรียกประชุมเพื่อหารือถึงสถานการณ์น้ำมันปาล์ม โดยกระทรวงฯจะเสนอให้มีการนำเข้าเพิ่มอีก เพราะ 3 หมื่นตันที่นำเข้าภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ไม่เพียงพอ

"น้ำมันปาล์มที่นำเข้ามา 3 หมื่นตันใช้ได้จริง 2 หมื่นตัน ที่เหลือเป็นไขปาล์ม ซึ่งต้องนำเข้าอีก เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ปกติขณะนี้และรัฐควรชะลอการส่งเสริมบี 5 ออกไปก่อน เพราะน้ำมันปาล์มถูกนำไปใช้ในส่วนพลังงานทดแทนสูงมาก"


แหล่งข่าวจากสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฯเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรรีบพิจารณาให้นำเข้านำมันปาล์มเพิ่มอีก 5 หมื่นตัน 

แต่ควรรอให้
น้ำมันปาล์มล๊อตแรก 3 หมื่นตันเข้ามาก่อน ทั้งนี้ 3 หมื่นตันสามารถนำมาแปรรูปเป็นปาล์มขวดได้ถึง 33 ล้านขวด นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการใช้น้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ซึ่งไม่ตรงกับกระทรวงพลังงานในส่วนของการใช้ไบโอดีเซล ที่ตัวเลขกระทรวงพาณิชย์ระบุมีการใช้ 42,900 ตัน แต่กระทรวงพลังงานยืนยันใช้ไปเพียงไม่เกิน 38,000 ตัน อย่างไรก็ตามหากรวมตัวเลขสต็อก 8 หมื่นตันของปี 2553แล้วปริมาณรวมจะอยู่ที่ 1.2 แสนตัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปาล์มไม่ได้ขาดแคลนแต่อย่างใด การที่โรงงานสกัดอ้างขาดตลาด จนต้องนำเข้านั้นมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่หรือไม่


รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เร็วๆนี้กรมการค้าภายในจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำปุ๋ย

เพื่อพิจารณาสถานการณ์ราคาปุ๋ยที่ขณะนี้มีต้นทุนนำเข้าสูงขึ้นมาก จนทำให้ผู้ประกอบการยื่นขอปรับราคาสูงถึง 70% และมีแนวโน้มอนุมัติให้ปรับราคา เพราะขณะนี้สถานการณ์เริ่มขาดแคลนและมีราคาแพง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ที่เริ่มจำหน่ายสูงกว่าราคาควบคุมตันละ 2,000-3,000 บาท

นางพรทิวา กล่าวต่อว่า การอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาปุ๋ยเคมีหรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯที่จะไปพิจารณาโครงสร้างต้นทุนทั้งหมด รวมถึงสต๊อกเก่าที่ผู้ผลิตสินค้าเก็บไว้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ยังพอใช้ในระยะนี้ได้ถึงกี่เดือน เพื่อไม่ให้กระทบกับเกษตรกรมากเกินไป


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์