หน่วย"กิโลกรัม"อาจไม่เหมือนเดิม หลังนักวิทยาศาสตร์พบ"ต้นแบบ"นน.หายไป 50 ไมโครกรัม
นักวิทยาศาสตร์กล่าวในวันนี้(24 มค.)ว่า เตรียมการที่จะพิจารณาการกำหนดขอบเขตนามธรมของ"กิโล"เสียใหม่ หลังพบว่า"สิ่งประดิษฐ์" ที่ทำจากแท่งโลหะ ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานชั่งตวงดังกล่าวอาจมีความคลาดเคลื่อนในด้านน้ำหนักอยู่เล็กน้อย
ปัจจุบัน น้ำหนักมาตรฐานของหน่วยกิโล อยู่ที่ประมาณ 2.2046 ปอนด์ ซึ่งใช้แท่งเหล็กซึ่งเรียกว่า "ต้นแบบกิโลกรัมสากล"(International Prototype Kilogram) หรือ ไอพีเค ซึ่งทำจากแพลตินัมและอิริเดียม เป็นตัววัด และถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดีที่ประเทศฝรั่งเศส
แต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากแสดงความเป็นห่วงต่อแท่งโลหะดังกล่าว ซึ่งถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดีที่สำนักงานชั่งและวัดนานาชาติ (International Bureau of Weights and Measures) หรือ บีไอพีเอ็ม ที่เมือง Sèvres ประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่พบว่ามัน"สูญเสียน้ำหนัก"จำนวนเล็กน้อยอย่างลึกลับ
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันดังกล่าว เปิดเผยเมื่อปี 2007 ว่าแท่งโลหะดังกล่าว มีน้ำหนักเบาลง 50 ไมโครกรัม หรือ 0.0000017 ออนซ์ จากมาตรฐานที่ควรจะเป็น ดังนั้นพวกเขาจึงหาวิธีการที่จะกำหนดขอบเขตทางนามธรมของหน่วย"กิโล"เสียใหม่ ร่วมกับหน่วยชั่งตวงวัดมาตรฐานสากลอื่นๆอีก 6 ประเภท อันได้แก่ เมตร, วินาที, แอมแปร์, เคลวิน, กรัมโมเลกุล และแคนเดล่า (หน่วยความเข้มของความสว่าง)
การทดลองจะมุ่งเน้นในด้านการหาจุดเชื่อมโยงระหว่างจุดคงตัวของ"มวล"และ"พลังค์" ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของการวัดของหน่วยของพลังงานทางฟิสิกส์ เพื่อหาคำจำกัดความใหม่ของกิโล
นายไมเคิล สต็อค นักวิทยาศาสตร์จากบีไอพีเอ็ม ซึ่งจะเข้าร่วมการประชุมในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่กรุงลอนดอน กล่าวว่า แท่งโลหะดังกล่าว หรือที่เรียกว่า "ต้นแบบสากล" อาจจำเป็นต้องสิ้นสุดการใช้งานเสียที
"การวัดเริ่มมีความเที่ยงตรงขึ้นเรื่อยๆ และความแม่นยำในการวัด จำเป็นต้องใช้เครื่องมือการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อแสดงผลของมัน" เขากล่าว
และกล่าวเสริมว่า "ผลการทดลองของคืบหน้าไปมาก อย่างไรก็ดี มันเร็วไปที่จะทำให้ผลการกำหนดขอบเขตน้ำหนักของกิโลกรัมบรรลุผล"