กสิกรฯหนุนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 11บาท

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้มีมติการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 11 บาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.3 (เป็นระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเล็กน้อย) ซึ่งนับเป็นข่าวดีต่อผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ โดยเฉพาะภายใต้ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ผู้บริโภคกำลังต้องเผชิญกับภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

 


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำน่าจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อและคุณภาพในการดำเนินชีวิตของผู้ใช้แรงงานได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ภาครัฐและภาคธุรกิจยังคงต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้ายมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยในระยะสั้นนอกจากปัญหาสวัสดิการแรงงานของลูกจ้างแล้ว ในมุมมองของภาคธุรกิจปัญหาที่มีความกังวล คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนแรงงานที่สูงกว่าบางประเทศในภูมิภาค ซึ่งการที่ธุรกิจไทยจะยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะข้างหน้า จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งรัฐบาลอาจต้องมีการวางแผนนโยบายเชิงรุกในการพัฒนาศักยภาพตลาดแรงงานไทย โดยเร่งพัฒนาบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น การพัฒนาองค์ความรู้สู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อที่จะสร้างฐานกำลังแรงงานในประเทศให้แข็งแกร่ง

 


สำหรับในระยะปานกลางถึงระยะยาว เพื่อที่จะรักษาแรงงานที่มีฝีมือไว้กับองค์กรภาครัฐและเอกชนควรจัดระบบสวัสดิการแรงงานให้จูงใจมากขึ้น เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือไปยังต่างประเทศที่อาจจะมีเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานตามกรอบ AEC ในปี 2558 รวมถึงการเตรียมพร้อมต่อการเปิดเสรีให้แก่แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยในบางสาขาอาชีพ


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์