คมชัดลึก :ศูนย์อุทกวิทยาฯ ภาคเหนือตอนบน คาดพายุหมุนเขตร้อนทำ "แพร่-น่าน" เสี่ยงน้ำท่วมหนัก ส.ค.-ก.ย. ส่วนเชียงใหม่ชี้ทุก 6 ปี เตรียมรับอุทกภัย
(20พ.ค.) นายธาดา สุขะปุณพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน สำนักชลประทานที่ 1 จ.เชียงใหม่
กล่าวว่า จากสถิติปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึง ปัจจุบัน คาดการว่าในช่วงฤดูฝนของปีนี้อาจมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยปกติ โดยเฉพาะ ช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย. ซึ่งจะมีพายุหมุนเขตร้อนจากทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาบริเวณประเทศไทยตอน บน ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ลุ่มน้ำ
สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นพื้นที่ที่ได้ รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน
คือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ แต่ที่เสี่ยงมากที่สุดคือ จังหวัดน่านซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่จะต้องรับพายุหมุนเขตร้อนที่พัดมาจากเวียดนามและลาว ขณะที่ จังหวัดน่านและแพร่ยังเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มตามมาด้วย เนื่องจากมีประชาชนจำนวนหนึ่ง สร้างที่อยูอาศัยบริเวณที่ลุ่มเชิงเขา ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเคยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2548 จากข้อมูลพบว่า ในวงรอบทุก 6 ปี จังหวัดเชียงใหม่จะต้องเผชิญกับพายุหมุนเขตร้อนหรือฝนมรสุมที่รุนแรง ซึ่งใน ระหว่างปี 2548 ถึง 2554 จังหวัดเชียงใหม่จึงมีโอกาสที่จะต้องเจอพายุหนักอีกครั้งจนอาจเกิด อุทกภัยครั้งใหญ่ได้ อย่างช้าที่สุดคือปี 2554 ดังนั้นในปีนี้จึงถือว่ามีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดเป็นเพียงการคาดการจากสถิติและข้อมูลอื่น ๆ มาประกอบกัน แต่การพยากรณ์ก่อนพายุเข้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเป็นข้อมูลที่แม่นยำมากที่สุดและเป็นข้อมูล ที่ใช้ในการเตือนภัย
นายธาดา ระบุว่า สำหรับมาตรการรับมืออุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ศูนย์อุทกวิทยาและ บริหารน้ำภาคเหนือตอนบน ได้ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธาณะภัยอย่างเต็มที่ โดยความรับ ผิดชอบของกรมชลประทานจะเน้นที่การบริหารจัดการน้ำ ซึ่งในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ล่าสุด ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีพื้นที่รับน้ำในช่วงฝนมรสุมได้อีกกว่า 165 ล้านลูกบาศก์เมตร หรืออีกกว่าร้อยละ 60 ของความจุทั้งหมด ขณะที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารามีพื้นที่รับน้ำได้อีกกว่าร้อยละ 70 จากความจุทั้งหมด 263 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นแหล่งพักน้ำป้องกันไม่ให้ไหลบ่า เข้าท่วมในเขตเมืองได้เป็นอย่างดี
ด้านนายคณิต เอี่ยมระหงส์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ แจ้งเตือนให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยงใน 9 อำเภอทั้งจังหวัด
โดยเฉพาะ อ.เมือง อ.ลับแล และ อ.ท่าปลา ซึ่งเคยประสบภัยน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2549 รวมทั้งประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้กับบริเวณที่ลาดเชิงเขาให้ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน หลังมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ส่วน อ.ตรอน อ.พิชัย อ.ทองแสนขัน อ.บ้าน โคก อ.น้ำปาด และ อ.ฟากท่า ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ที่จะเกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมฉับพลันเช่นกัน