เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเวลา 01.00 น. ที่ผ่านมา
เกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจคือมีโอกาสเห็นดาวหางลู่หลิน (Lulin) ที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยลักษณะทั่วไปของดาวหางดวงนี้จะมีแสงสีเขียว ซึ่งเกิดจากก๊าซไซยาโนเจน ที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสกระทบกับแสงจากดวงอาทิตย์
ทั้งนี้ดาวหางลู่หลินเป็นดาวหางที่มีแสงสว่างน้อยดูได้ เฉพาะในช่วงเดือน ก.พ.เท่านั้น
จากนั้นก็ไกลโลกออกไปเรื่อย ๆ ความสว่างจะหรี่ลงเรื่อย ๆ เพราะอยู่ไกล นักดาราศาสตร์จะใช้ประโยชน์จากการสังเกตดาวหางเพื่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบสุริยะและการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก สำหรับดาวหางลู่หลิน ถูกค้นพบเมื่อ วันที่ 11 ก.ค. 2550 โดยนายฉวนจื้อเย่ วัย 19 ปี นักศึกษาจากประเทศจีน ร่วมกับนายชี่ซึนหลิน จากไต้หวัน
สำหรับภาพถ่ายดาวหางลู่หลิน นี้เป็นภาพถ่าย ฝีมือ นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ชาวไทยบันทึกไว้ได้พร้อมดาวเทียมที่กำลังโคจรเห็นเป็นเส้นสีเขียว
เมื่อ เวลา 1นาฬิกา 33 นาทีวันที่ 23 ก.พ.2552 ที่หอดูดาวบัณฑิต ตลาดบางบ่อ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ใช้กล้อง CANNON 400D ผ่านกล้องโทรทัศน์ขนาดหน้ากล้อง 11 นิ้ว เปิดหน้ากล้อง 60 วินาที ค่า ISO 1600 ค่าความสว่าง 6.0 ซึ่งดาวหางหางลู่หลิน C/2007N3