นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถา บันอาหาร เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกอย่างมากเนื่องจากผู้ค้าชะลอคำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์)
รวมถึงต่อรองราคาให้ต่ำลงเพื่อนำไปจำหน่ายสินค้าในราคาถูกส่งผลให้ในไตรมาส 4 ของปี 51 (ต.ค.-ธ.ค.) ภาคอุตสาหกรรมอาจขาดทุนสต๊อกสินค้า 5-10% หรือ 1-2 หมื่นล้าน เพราะในไตรมาสที่ 3 ผู้ประกอบการได้สั่งซื้อวัตถุดิบราคาแพงเก็บในสต๊อกเพื่อผลิตส่งออกอาหารในช่วงปลายปีจำนวนมาก โดยเฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้ามีมูลค่าถึง 1.95 แสนล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 60.3%
สำหรับวัตถุดิบนำเข้าในสต๊อกที่สำคัญในไตรมาส 3 เช่น ถั่วเหลือง 390,220 ตัน
เพิ่มขึ้น 448.4% มูลค่า 8,291 ล้านบาทเพิ่ม 824.3%, ข้าวสาลี 125,388 ตัน ลดลง 19.9% มูลค่า 1,888 ล้านบาท เพิ่ม 31.7%, ผลไม้สดและแห้ง 73,188 ตัน เพิ่ม 59.4% มูลค่า 2,326 ล้านบาท เพิ่ม 66.5%, ปลาแช่แข็ง 359,225 ตัน เพิ่ม 21.7% มูลค่า 20,381 ล้านบาท เพิ่ม 57.1%, ปลาทูน่า 244,127 ตัน เพิ่ม 38.7% มูลค่า 15,629 ล้านบาท เพิ่ม 79.5%, ปลาแมคเคอเรล 26,318 ตันเพิ่ม 223.3% มูลค่า 912 ล้านบาท เพิ่ม 272.4%
เนื้อปลาแบบฟิลเลแช่แข็ง 3,328 ตัน เพิ่ม 70.8% มูลค่า 428 ล้านบาท เพิ่ม 43.1%, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 23,353 ตันเพิ่ม 27% มูล ค่า 2,163 ล้านบาทเพิ่ม 45% และพบว่าปัญหา วัตถุดิบสำคัญที่ผลิตในไทย เช่น ข้าว และมันสำปะหลังในสต๊อกมีทุนสูงมาก ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลตั้งไว้ในราคาที่สูง
“ลูกค้าจำนวนหนึ่งชะลอการสั่งซื้อเพียงแต่รอสถานการณ์เศรษฐ กิจโลกอีกครั้ง แต่จำนวน มากยังจำเป็นต้องสั่งซื้อ จึงต่อรองราคาให้ต่ำลง เพราะอ้างว่าปัจจุบันต้นทุนการผลิตและราคาน้ำ มันต่ำ ที่สำคัญต้องขายให้ผู้บริโภคในราคาต่ำด้วยเนื่องจากมีการแข่งขันด้านราคาสูง ส่งผลให้ผู้ ส่งออกต้องยอมขายในราคาต่ำเพื่อนำเงินมาหมุนสภาพคล่อง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เก็บได้ไม่นาน เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น”
ทั้งนี้แม้จะมีปัญหาขาดทุนสต๊อกแต่ก็เป็นระยะสั้นและหากดูในภาพรวมของอุตสาห กรรมอาหารไทย 9 เดือนของปีนี้มีมูลค่าส่งออก 599,090 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.5% เพราะสินค้าอาหารยังมีราคาสูงอยู่
ในอนาคตผู้ส่งออกไทยต้องเน้นหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดรัสเซีย จีน บราซิลและอินเดีย ที่มีมูลค่าส่งออกอาหารไทยเพียง 6% ของมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ ในระดับดีอยู่ ส่วนตลาดหลักอย่าง สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนส่งออกอาหารไทยถึง 40% คงต้องลดปริมาณเนื่องจากในปี 52 อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจติดลบหมด
นายเดช พัฒนเศรษฐพงษ์ นายก สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ในปี 52 คาดว่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทยมีมูลค่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 24,000 ล้านบาทไม่ขยายตัวจากปี 51 เนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐ และยุโรปประสบปัญหาการบริโภคลดลง.