ผิดปกติปลาโลมาหลงทะเล ธรรมชาติเริ่มสัญญาณ อันตราย

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน บ้านแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต ได้ส่งสัตวแพทย์ประจำทีมเข้าช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน

พบว่าโลมาทั้ง 3 ตัวมีอาการอ่อนเพลียอย่างหนัก และได้ตรวจตามร่างกายของมัน ก็ไม่ปรากฏหรือพบ ร่องรอยบาดแผลจากอวน หรือ เครื่องมือทำการประมง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพียง ฉีดยาคลายเครียด และขอความร่วมมือจากชาวชุมชน ในพื้นที่ทำการเคลื่อนย้ายไปดูแลต่อในน้ำลึกบริเวณใกล้เคียง เพื่อเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย.....จากนั้นจึง ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ


สัตวแพทย์ทีมช่วยชีวิต สันนิษฐานว่า สาเหตุการเกยตื้นครั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากโลมาจ่าฝูงมีการส่งสัญญาณผิด หรือ ป่วยทำให้เรดาร์นำทางภายในตัวของโลมาส่งสัญญาณคลาดเคลื่อนจึง เป็นเหตุให้ถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง


โลมา Dolphin
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีช่องอยู่บริเวณกลางกระหม่อมเพื่อไว้หายใจ เมื่อลอยตัว อยู่เหนือน้ำได้ ดวงตาลักษณะแจ่มใสและมีเปลือกตา เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ที่น่าอัศจรรย์มากกว่านั้น ในเวลากลางคืน ดวงตาจะมีแสงวาววับเหมือนตาของแมวหรือสุนัข
ในเมืองไทยเรามีโลมาอยู่ 22 ชนิด รวม 6 วงศ์ จาก 80 ชนิดที่พบทั่วโลก อาศัยอยู่ได้ ทั้งน้ำทะเล น้ำกร่อย และ น้ำจืด จาก ทะเล อ่าวไทย, อันดามัน ขึ้นไปถึง แม่น้ำโขง และ สาละวิน


นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า เหตุการณ์สัตว์ทะเลขนาดใหญ่เข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณทะเลอันดามันที่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

ได้สั่งการให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ทุกแห่งทั่วประเทศ เร่งศึกษาและเก็บข้อมูลทางสถิติเพื่อหาสาเหตุการเข้ามาเกยตื้นของสัตว์ทะเล ขนาดใหญ่เหล่านั้นอย่างละเอียด โดยเฉพาะประเด็นการ ส่งสัญญาณผิดปกติของผู้นำฝูงที่เกิดขึ้น มีปัจจัยใดมาเกี่ยวข้องบ้าง อาทิ อาการป่วย ความบกพร่องทางพันธุกรรม และ ความเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาต หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนเป็นผลจากการกระทำหรือกิจกรรมบริเวณชายฝั่งของมนุษย์หรือไม่ แล้วนำข้อมูลเปรียบเทียบกับสถิติและหลักฐานทางวิชาการระหว่างประเทศ เพื่อจัดทำมาตรการสร้างความเข้าใจ บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


“แผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ทีมช่วยชีวิตสัตว์ทะเล โดยการจัดอบรมความรู้เรื่องวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการเคลื่อนย้ายสัตว์ทะเล ขนาดใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งขึ้นมาเกยตื้นตามหลักวิชาการให้ กับชุมชนเครือข่ายที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทั่วประเทศ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณสำหรับซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นเพิ่มเติม” นางนิศากรกล่าวและบอกอีกว่าได้เตรียมเสนอข้อมูลให้กับ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาอนุมัติ ตำแหน่ง ข้าราชการสัตวแพทย์ วิศวกรชายฝั่งและผู้เชี่ยวชาญด้านสมุทรศาสตร์ เพื่อให้การทำงานด้านการช่วยเหลือสัตว์ทะเลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะทำให้ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์ทะเลให้ลดน้อยลง


การเกยตื้นของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีปัจจัย หลายด้านเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประกอบกับปัจจุบันความรู้และข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ของประเทศไทยมีอยู่น้อยมาก จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องเร่งดำเนินการศึกษาข้อมูลและหารือร่วมกับองค์กรด้านสมุทรศาสตร์ ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด
ตลอดจน เตรียมความพร้อมรับมือกับสัญญาณผิดปกติทางธรรมชาต ที่เกิดขึ้น แล้วนำมากำหนดแผนพัฒนาการบริหาร ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ยั่งยืน...!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์