งานอีเวนต์...ลามก คำถามคาใจสังคม ขอบเขตอยู่ตรงไหน

นับวันงานอีเวนต์ที่เอา 'เรื่องเพศ' มาเป็น 'จุดขาย' ยิ่งมีมากขึ้น เพราะหากยังจำกันได้ เมื่อไม่นานมานี้ งาน 'แฟชั่นวีค' ก็เกิดเหตุการณ์ 'อู้หู' เมื่อนางแบบสาวคนหนึ่งเดินแฟชั่นอยู่ดีๆ ก็เอามือ 'ควักนม' ต่อหน้าช่างภาพเป็นร้อยอย่างหน้าชื่นตาบาน



กลายเป็นประเด็น "ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์" ที่ร้อนแรงและรุนแรง เมื่อนิตยสาร "แม็กซิม" จัดการประกวด "มิสแม็กซิม ไทยแลนด์ 2008" เพื่อค้นหาสาวสุดเซ็กซี่ประจำปี

งานครั้งนี้คงจะไม่เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบ หากลักษณะกิจกรรมช่วงการให้ผู้เข้าประกวดแสดงความสามารถตามแต่ที่คณะกรรมการให้ "โจทย์" ไว้ เป็นการแสดงที่ "สื่อให้เห็นถึงความสามารถ" จริงๆ แต่ภาพที่ปรากฏออกสู่สายตากองทัพนักข่าวและคนที่ร่วมงานกลับเป็นการแสดงความสามารถที่ส่อ "ไปในเรื่องเพศ เรื่องเซ็กซ์" อย่างโจ๋งครึ่ม

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนเวทีล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดข้อกังกลว่า
 
จุดประสงค์ของผู้จัดงานคืออะไร และนับวันงานอีเวนต์ที่เอา "เรื่องเพศ" มาเป็น "จุดขาย" ยิ่งมีมากขึ้น เพราะหากยังจำกันได้ เมื่อไม่นานมานี้ งาน "แฟชั่นวีค" ก็เกิดเหตุการณ์ "อู้หู" เมื่อนางแบบสาวคนหนึ่งเดินแฟชั่นอยู่ดีๆ ก็เอามือ "ควักนม" ต่อหน้าช่างภาพเป็นร้อยอย่างหน้าชื่นตาบาน

นอกจากอาการ "ช็อค" แล้ว สิ่งที่ตามมาคือ คำถามที่ว่า
เจ้าของงาน ผู้รับงาน หรือออร์แกไนซ์ "เอ็ม.ซี." หรือพิธีกรของงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่มี "จรรยาบรรณ" กันแล้วหรือเช่นไร

แม้หลักเกณฑ์การพิจารณาสื่อลามกอนาจาร ที่ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรี หรือ ปดส. อธิบายว่า
 
ชาย-หญิงต้อง "เปลือย ไร้อาภรณ์" ปกปิดอวัยวะสงวน แต่หากกรณีที่มีเสื้อผ้า ก็สามารถพิจารณาจากท่าทางลักษณะได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากทาง ปดส.เห็นว่า งานอีเวนต์ใดที่แม้จะไม่ถึงขั้น "ลามกอนาจาร" แต่หากเป็นภาพไม่เหมาะสม ขัดต่อจารีตศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อสังคม โดยเฉพาะเยาวชน หรือกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ เป็นผลร้ายต่อสังคม ก็จำเป็นต้องประสานงานไปทางผู้จัดงานหรือเจ้าของหนังสือเพื่อว่ากล่าวตักเตือน รวมถึงการแบน ห้ามเผยแพร่ในระยะเวลาหนึ่ง



ด้าน สมบัษร ถิระสาโรช เจ้าของตือออร์แกไนซ์ บอกว่า

การจัดงานสิ่งที่ต้องรับผิดชอบจะมีสองส่วนคือ งานที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าและงานที่ออกสู่สายตาประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมากที่จะต้องไม่ทำงานที่ล่อแหลม หรือผิดระเบียบของบ้านเมืองและวัฒนธรรมของประเทศ ทุกอาชีพย่อมมีจรรยาบรรณ ยิ่งอาชีพออร์แกไนซ์ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับสาธารณชน ยิ่งต้องระมัดระวัง อะไรที่เกินขอบเขต สนุกมากเกินไปก็ดูไม่งาม

"เรามีนโยบายของบริษัทว่า จะไม่รับจัดงานที่ไม่ให้เกียรติผู้หญิง หรืองานที่ฉวยโอกาสในการทำลายชื่อเสียงของบุคคลอื่น ซึ่งก่อนรับงานจะบอกชัดเจน เพราะคนร่วมงานกับเราก็เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน เราต้องไม่ทำให้เขาเดือดร้อน"

ส่วน นางสาวบุรณี รัชไชยบุญ กรรมการบริษัท โอเวชั่น สตูดิโอ จำกัด ให้ทรรศนะว่า

จริงๆ แล้วงานอีเวนต์เป็นงานเฉพาะกลุ่มบุคคล แต่ปัจจุบันเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการให้ภาพงานออกสู่สายตาประชาชนมากขึ้น ทำให้เกิดกระบวนการพีอาร์เข้ามามากขึ้น งานอีเวนต์จึงกลายเป็นเรื่องของมวลชนมากขึ้น ดังนั้น ผู้จัดและเจ้าของงานจึงต้องมีการพูดคุยกันถึงทิศทางการจัดงาน ซึ่งหากเจตนาของผู้จัดคือต้องการให้เป็นประเด็นฮือฮา ต้องพิจารณาด้วยว่า มันคุ้มหรือเปล่า เพราะเมื่องานออกสู่สาธารณชน ในสังคมที่มีหลายหน่วยงานในการดูแลสังคม ย่อมต้องมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างแน่นอน

"สังคมทุกวันนี้ บอบบางมากพออยู่แล้ว งานอีเวนต์ไม่เหมือนงานโฆษณาที่มี กบว.กลั่นกรองเนื้อหาที่เกินขอบเขต ซึ่งถ้าเราทำงานแบบไม่วิเคราะห์ส่วนสังคม สร้างสรรค์งานจนเกินขอบเขตของจริยธรรม สังคมคงแย่"

แค่นี้ก็ "แย่" พออยู่แล้ว

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์