เบื้องลึกเขาพระวิหาร ระวัง เสียดินแดนซ้ำซาก

"...เหตุการณ์ลักษณะนี้กำลังย้อนกลับมาอีกครั้งใน "รัฐบาลสมัคร"เมื่อรบ.กัมพูชาเสนอให้ "เขาพระวิหาร" เป็นมรดกโลก ปัญหา คือ "แผนที่เขาพระวิหาร" ฉ.ใหม่ของกัมพูชาที่ร่างมาแล้วเสนอให้รบ.ไทยเห็นด้วยนั้น "ล่วงล้ำ"เข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนของฝ่ายไทยหรือไม่?


กลายเป็นประเด็นที่ "ต้องเกาะติด" ใกล้ชิด
 
เมื่อรัฐบาลกัมพูชาเดินหน้าเสนอ
"ปราสาทเขาพระวิหาร" ขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ที่จะประชุมในเดือนกรกฎาคมนี้ที่ประเทศแคนาดา เพื่อ "เคาะโต๊ะ" ว่าจะ "รับรอง" หรือ "ไม่รับรอง" ให้ "ปราสาทเขาพระวิหาร" เป็นมรดกโลกหรือไม่

"ข้อพิพาท" เขาพระวิหารกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง เมื่อ พล.ท.พิชษณุ ปุจจาการ อดีตโฆษกกระทรวงกลาโหม ออกมาเปิดประเด็นว่า "สภากลาโหม" มีความห่วงใยว่ากัมพูชา "ชุบมือเปิบ" ได้สิทธิครอบครองพื้นที่ "เขาพระวิหาร" ไปโดยปริยาย

ถือเป็นข้อห่วงใยที่บรรดา "ผบ.เหล่าทัพ" เห็นพ้องกันทิ้งบอมบ์ไว้ให้ "สมัคร สุนทรเวช" นายกรัฐมนตรี แก้ปัญหาทันที เมื่อเข้าร่วมประชุมสภากลาโหมนัดแรก ในฐานะ "เจ้ากระทรวงกลาโหม" เพราะพื้นที่ "เขาพระวิหาร" ยังมีประเด็นเรื่อง "พื้นที่ทับซ้อน" ระหว่างไทยและกัมพูชาอยู่

เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ "เขาพระวิหาร" เป็นการเสียดินแดนสุดท้ายที่ไทยสูญเสียให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหารอยู่ระหว่างชายแดนไทยและกัมพูชา ทำให้เกิดกรณีพิพาทโต้แย้งขึ้นว่า "ใครเป็นผู้ครอบครอง" และ "ดูแลปราสาทหิน" แห่งนี้

ย้อนไปปี 2447 ถึง 2451 ฝรั่งเศสเป็น "รัฐผู้อารักขากัมพูชา" ทำสัญญากับไทยหลายฉบับ แต่สัญญาที่เป็นปัญหา คือ สัญญาลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2447 ตกลงว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์การแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดน เพื่อสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น


ปี 2450 ไทยขอให้ฝรั่งเศสทำ "แผนที่พรมแดน"

ฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ยื่นส่งแก่ฝ่ายไทย โดยฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหารซึ่งอยู่ในความครอบครองของไทยไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชา ดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศสด้วย และแผนที่ฉบับนี้เองที่กัมพูชาอ้างเป็นหลักฐานมีอำนาจเหนือเขาพระวิหาร!!

แม้ไทยทำการโต้แย้งว่า
 
แผนที่ฉบับดังกล่าวไม่ใช่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดน จึงไม่มีผลผูกพันกับไทย และเส้นเขตแดนที่เขียนมิได้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์

ซึ่งคณะกรรมการฝ่ายไทยไม่แสดงออกถึง "การคัดค้าน" ว่าไม่ถูกต้อง
 
แต่ไทยก็ไม่เคยรับรองแผนที่ฉบับนั้น และไม่คัดค้านแผนที่นั้นในเวลาอันสมควร ไม่ว่าจะเป็นปี 2452 มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ก็ไม่มีผู้คัดค้าน และกรมแผนที่เองทำแผนที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เขาพระวิหารตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ในการเจรจา ณ วอชิงตัน ปี 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว

ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ถือว่า

"เห็นชอบกับแผนที่" ฉบับนั้น ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505

...เหตุการณ์ลักษณะนี้กำลังย้อนกลับมาอีกครั้งใน "รัฐบาลสมัคร" เมื่อรัฐบาลกัมพูชาเสนอให้ "เขาพระวิหาร" เป็นมรดกโลก ประเด็นปัญหา คือ "แผนที่เขาพระวิหาร" ฉบับใหม่ของกัมพูชาที่ร่างมาแล้วเสนอให้รัฐบาลไทยเห็นด้วยนั้น "ล่วงล้ำ" เข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนของฝ่ายไทยหรือไม่?

ทั้งนี้ หลังศาลโลกยกปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และให้มีสิทธิเหนือปราสาท ซึ่งอาจมีปัญหาใน "พื้นที่ทับซ้อน" ที่มีอยู่ราว 4.6 ตารางกิโลเมตร

รัฐบาลไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงตัดปัญหาทำข้อตกลงไว้กับกัมพูชา เมื่อปี 2505 เป็นมติ ครม. ที่ไทยยินยอมให้พื้นที่รอบตัวปราสาท 20 เมตร เป็นสิทธิของกัมพูชา ตามแผ่นที่ 1:50,000 ยึดตามสันปันน้ำ ถือเป็นสิทธิที่ไทยยอมให้แต่เดิมเพื่อตัดปัญหา

แต่จากการเสนอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก กัมพูชาต้องการให้ใช้แผ่นที่ 1:200,000 ที่ทำโดยฝรั่งเศส ซึ่งจะมีพื้นที่ลุกล้ำเข้ามาในฝั่งไทย ทำให้ฝ่ายไทยไม่ยินยอม และให้กัมพูชาทำแผนที่ฉบับใหม่ขึ้นมา โดยยึดตามแผ่นที่ 1:50,000 ที่มติ ครม.ปี 2505 ให้กัมพูชามีสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหารบริเวณรอบข้างจำนวน 20 เมตร

และเมื่อแผ่นที่ฉบับใหม่ของกัมพูชาเสนอมา โดยยินยอมตามที่ไทยร้องขอ คือ ตั

วปราสาทเขาพระวิหารและพื้นที่ด้านข้างอีก 20 เมตร เป็นสิทธิของกัมพูชา ทำให้ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มีมติยอมรับ และเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เป็นมติ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 เห็นพ้องมติ สมช.

ด้วยเหตุผลที่ว่า "เขาพระวิหาร" เป็นของกัมพูชาตามศาลโลกตัดสิน เมื่อกัมพูชาทำแผ่นที่ฉบับใหม่ "ไม่ล่วงล้ำ" เข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน จึงมอบหมายให้ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามตามข้อเสนอกัมพูชา

เมื่อเป็นเช่นนี้ คงต้องจับตาดู "ผลประโยชน์" ที่เกิดขึ้นจากตัวปราสาท เพราะเป็นจุด "เปราะบาง" ของปัญหาระหว่างไทยและกัมพูชามาโดยตลอด เพราะทางขึ้นอยู่ที่ฝั่งไทย โดยเฉพาะทางขึ้นบริเวณผามออีแดง จ.ศรีสะเกษ เป็นทางขึ้นที่สะดวกที่สุด

เรื่องนี้ไม่ต้องย้ำเตือน "รัฐบาลสมัคร" คงตระหนักดีอยู่แล้วว่า

การทำข้อตกลงร่วมกันจะต้องระมัดระวังเพียงใด และไม่ปล่อยให้ "ผลประโยชน์แอบแฝง" สอดแทรกเข้ามาอยู่ระหว่างบรรทัดของสัญญา ส่งผลให้ "ผลประโยชน์ของคนในชาติ" ต้องตกเป็นของกัมพูชา ด้วยข้ออ้าง "เจ้าของมรดกโลก" โดยเด็ดขาด!

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์