หลังเสียชีวิตสัตว์แพทย์ที่ประจำอยู่โรงพยาบาลช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยจังหวัดลำปาง จึงได้รุดเข้าตรวจสอบทันที
เบื้องต้นคาดว่าสาเหตุการเสียชีวิตของพลายสามพราน น่าจะมาจากร่างกายของช้างที่ซูบผอมอ่อนเพลีย บวกกับภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ทำให้ส่งผลต่อร่างกายอย่างเฉียบพลันและทำให้เสียชีวิตในที่สุด มีรายงานล่าสุดว่า เวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 21 มี.ค. 2551 ทางโรงพยาบาลช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยออป.ลำปาง จะได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ เดินทางมา ประกอบพิธีสงฆ์ เพื่อุทิศส่วนกุศล สวดอภิธรรม เทศนา แก่พลายสามพรานที่ล่วงลับ จากนั้นจะนำพลายสามพรานไปฝัง ณ คชาณุสรร์สถาน แต่ก่อนนำพลายสามพรานฝัง นายแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล หัวหน้าฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จะได้ผ่าชิ้นเนื้อของพลายสามพรานไปตรวจดูอีกว่าสาเหตุการตายมาจากสาเหตุใดกันแน่
สำหรับพลายสามพราน ทางคณะสัตว์แพทย์สัตว์จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมแพทย์โรงพยาบาลศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยและ ควาญช้าง
ได้นำช้างพลายสามพราน ซึ่งเป็นช้างป่าอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาใน จังหวัดฉะชิงเทรา หลังมีประวัติมีบาดแผลอักเสบที่เท้าข้างขวาเรื้อรัง ผิดรูปและมีเนื้องอกขนาดใหญ่ ร่างกายซูบผอม เนื่องจากถูกบ่วงแร้ว ดักสัตว์ของชาวบ้าน ได้เดินทางออกจากจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อช่วงเย็นวันที่ 5 มี.ค.255 โดยรถบรรทุกสิบล้อและถึงบริเวณโรงพยาบาลศูนย์อนุรักษ์ช้าง อ.อ.ป. ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เมื่อเช้าวันที่ 6 มี.ค.2551 ที่ผ่านมา เพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์อนุรักษ์ช้าง อ.อ.ป. ลำปาง
หลังเดินทางมาถึง ทางสัตว์แพทย์ได้นำช้างพลายสามพราน ลงจากรถ และนำเข้าไปภายในโรงเรือน
และทำการล้างบาดแผลที่เท้าข้างขวา ซึ่งมีเนื้องอกขนาดใหญ่และมีบาดแผลอักเสบ ของช้างพลายสามพราน และทำการเอกซเรยส่งชิ้นเนื้อไปตรวจสอบ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทันที ตลอด 15 วันที่รักษา ทางสัตว์แพทย์โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้าง อ.อ.ป. ได้พยายามฟักฟื้นให้ช้างพลายสามพรานแข็งแรงให้ใหร็วที่สุด เนื่องจากช้างร่างกายซูบผอม อย่างมากและที่สำคัญกินอาหารน้อย โดยทางสัตว์ให้อาหารเสริม ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อควบคุมการติดเชื้อที่เท้า และทำการล้างแผลทุกวัน เนื่องจากช้างเชือกนี้อยู่ในป่าอยู่กับดินตลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อ ตลอดเวลา ทำให้เท้าอักเสบและบวมขึ้นเรื่อยๆ และขณะนั้นสัตว์แทพย์ได้ระบุว่าสุดท้ายช้างตัวนี้จะไม่หายเหมือนช้างปกติ กระดูกเท้าของช้างคงจะผิดรูปและเป็นช้างพิการ ในที่สุด
ขณะเดียวกันผลการตรวจพบว่า เนื้องอกขนาดใหญ่ที่เท้าของพลายสามพรานนั้น เป็นเซลล์ของกระดูกผสมกับชิ้นเนื้อ
โดยเนื้องอกดังกล่าวจะไม่มีขนาดใหญ่ไปมากกว่านี้ สำหรับการตรสวจพบภาวะโลหิตจางของช้างพรายสามพราน ทางโรงพยาบาลช้าง ได้ให้ยาวิตามิน และอาหาร เช่น กล้วย หญ้า และต้นข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งการตรวจพบว่าเลือดมีความเข้มข้นดี และพลายสามพรานกินอาหารมากขึ้นเล็กน้อย ถือว่าอาการดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสังเกตจากน้ำหนักของช้างเพิ่มขึ้นประมาณ 10 กิโลกรัม แต่สุดท้ายพลายสามพรานก็ได้สิ้นใจอย่างกระทันดังกล่าว .