การตรวจราชการแบบบูรณาการ กระทรวงสาธารณสุข เป็นการตรวจราชการ ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงอื่นๆ โดยเน้นการประสานงานระหว่างส่วนราชการ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ได้รับคัดเลือก ให้มีการตรวจราชการแบบบูรณาการ ซึ่งจะมีการออกตรวจระหว่างเดือน มกราคม สิงหาคม 2551 |
|
เรื่องที่สำคัญ |
1. การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มประชากรทั่วไป (15-49 ปี) |
ผลของการสอบถาม ประชาชนที่อายุระหว่าง 15-24 ปี ที่ตอบคำถามชุดคำถาม 5 ข้อ จำนวน .?. ราย ตอบถูกต้อง 5 ข้อ จำนวน .?. ราย คิดเป็นร้อยละ .?. คำถาม 5 ข้อได้แก่ |
|
การมีเพศสัมพันธ์กับคู่ที่ไม่ติดเชื้อเพียงคนเดียว และคนนั้นก็ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้หรือไม่ ? |
|
การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ สามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ ? |
|
คนที่ดูมีสุขภาพดีก็อาจติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ ? |
|
คนติดเชื้อเอชไอวี จากยุงกัดได้หรือไม่ ? |
|
คนติดเชื้อเอชไอวี จากการกินอาหารร่วมกันกับผู้ติดเชื้อฯ ได้หรือไม่ ? |
|
2. สถานประกอบการในจังหวัดผ่านมาตรฐานด้านเอดส์ (ASO Thailand) |
สถานประกอบกิจการในจังหวัด ได้จัดให้มีกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องเอดส์หรือไม่ ? ถ้ามี จำนวน .?. แห่งมาตรฐานการบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบการหรือที่เรียกว่ามาตรฐาน ASO นั้นย่อมาจาก AIDS-response Standard Organization ซึ่งประเมินมาตรฐานโดยสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ (TBCA) และลงนามรับรองมาตรฐานร่วมกันระหว่าง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมาตรฐาน ASO นี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สถานประกอบกิจการมีการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ของเอดส์ในสถานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานดังกล่าวส่งเสริมนโยบายด้านเอดส์ของสถานที่ทำงานต่าง ๆ ดังนี้ |
|
ส่งเสริมให้มีนโยบายไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี |
|
ส่งเสริมให้มีการประกาศนโยบายเรื่องเอดส์ในสถานประกอบกิจการ |
|
ส่งเสริมให้มีมาตรการรักษาความลับเรื่องเอดส์ของลูกจ้าง |
|
ส่งเสริมให้มีมาตรการช่วยเหลือลูกจางซึ่งติดเชื้อเอชไอวี |
|
ส่งเสริมให้มีการให้การศึกษาเรื่องเอดส์ในสถานประกอบการกิจการ |
|
ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมในการป้องกันและแก้ปัญหาเอดส์ | |
การประเมินเพื่อออกใบรับรองมาตรฐานให้สถานประกอบกิจการต่างๆ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ |
การประเมินขั้นที่ 1 เป็นการประเมินนโยบายหลักสถานประกอบกิจการ 4 ประการ โดยที่สถานประกอบกิจการจะต้องมีนโยบายครบทุกประการจึงจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นตอนของ ASO นโยบายดังกล่าวประกอบด้วย |
1.นโยบายไม่บังคับให้ผู้สมัครงานตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี 2.นโยบายไม่บังคับให้ลูกจ้างตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี 3.นโยบายไม่เลิกจ้างเพราะเหตุที่ติดเชื้อเอชไอวี 4.นโยบายให้การศึกษาเรื่องเอดส์แก่ลูกจ้าง |
|
การประเมินขั้นที่ 2 เป็นการประเมินการบริหารจัดการเรื่องเอดส์ของสถานประกอบกิจการ โดยมีการให้คะแนนในขั้นตอนนี้ จำนวน 100 คะแนน หากสถานประกอบกิจการแห่งใดที่มีนโยบายครบ 4 ประการ และได้คะแนนในการบริหารจัดการเรื่องเอดส์ตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป สถานประกอบกิจการนั้นจะได้ใบรับรองมาตรฐานระดับทอง (ASO Gold) หากสถานประกอบกิจการแห่งใดได้คะแนนน้อยกว่า 60 คะแนนสถานประกอบกิจการนั้นจะได้ใบรับรองมาตรฐานระดับเงิน (ASO Silver) ตังชี้วัดสำหรับการประเมินในขั้นที่ 2 นี้ ประกอบด้วย
1. มีการจัดการอบรมลูกจ้างและผู้บริหารในเรื่องเอดส์ (25 คะแนน) 2. มีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์ เช่น ส่งเสริมการใช้ถุงยาง ทำบอร์ดเอดส์สอดแทรกเอดส์ในที่ประชุม เผยแพร่เอกสารความรู้เรื่องเอดส์ เป็นต้น (20 คะแนน) 3. มีมาตราการในการเก็บรักษาความลับของลูกจ้างศึ่งติดเชื้อเอชไอวี (20 คะแนน) 4. มีการช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งติดเชื้อเอชไอวีอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ลดสวัสดิการ ไม่ลดสิทธิ ให้ทำงานร่วมกันไม่แบ่งแยก ให้พักรักษาตัวเมื่อป่วย เป็นต้น (20 คะแนน) 5. มีการประกาศนโยบายเรื่องเอดส์ให้ลูกจ้างทราบ (10 คะแนน) 6. มีการช่วยเหลือสังคมในเรื่องเอดส์ เช่น ทำโครงการเอดส์ทำกิจกรรมเอดส์ เผยแพร่ความรู้เรื่องเอดส์สู่ประชาชน บริจาคช่วยผู้ป่วย ช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วย เป็นต้น (5 คะแนน) | นโยบายด้านเอดส์ที่เหมาะสมของสถานประกอบกิจการร ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันกำหนดขึ้นตามหลักการแนวปฏิบัติเรื่องโรคเอดส์ในโลกแห่งการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) แลตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ASO จะช่วยทำให้ลูกจ้างซึ่งติดเชื้อเอชไอวีไม่รู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากพนักงานคนอื่นๆ และจะช่วยเป็นกำลังใจให้พนักงานที่ติดเชื้อทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงาน เพื่อตอบแทนองค์กรอย่างเต็มความสามารถ ขณะเดียวกันพนักงานอื่นๆ ก็จะหมดความกังวลที่จะต้องทำงานร่วมกับพนักงานที่ติดเชื้อเอชไอวี
******************
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม... คุณสุดธิดา วรโชตินัน scd_k@hotmail.com, คุณจิตรา อ่อนน้อม chitra@aidsthai.org สำนักตรวจและประเมินผล กระทรวงสาธารณสุข http://203.157.240.12/bie/index.php |