ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


‘กรมทรัพยากรธรณี'เผย‘เมล็ดข้าว'ประหลาดใน‘หินพระร่วง' คือ ฟอสซิล‘ฟิวซูลินิด' หรือ‘คตข้าวสาร' สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่กว่าไดโนเสาร์ อายุ 359-252 ล้านปี

กรณีโลกโซเชียลมีการเผยแพร่ภาพก้อนหินประหลาด ลักษณะคล้ายมีฟอสซิลเมล็ดข้าวสารจำนวนมากฝังตัวอยู่ในหิน แต่เมื่อนำมาผ่าเจียระไนจะดูคล้ายเมล็ดข้าวสุกที่ฝังตัวอยู่ในหินสีดำ และสีน้ำตาล ผิวมันวาว ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์หายาก เกิดจากอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

ล่าสุดเฟซบุ๊ก "กรมทรัพยากรธรณี" โดยกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ให้ข้อมูลว่า ก้อนหินที่ปรากฏในข่าวนั้น แท้จริงแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง "ฟอแรมมินิเฟอรา" ที่สามารถมองเห็นโครงร่างขนาดเล็กภายในหินได้ด้วยตาเปล่า เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 252 ล้านปีก่อน) จัดอยู่ในอันดับฟิวซูลินิดา มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า "ฟิวซูลินิด" ส่วนใหญ่มีขนาดมากกว่า 2 มิลลิเมตร บางชนิดมีความยาวมากถึง 5 เซนติเมตร

ลักษณะรูปร่างเป็นทรงรี คล้ายเม็ดข้าวสาร ทำให้ถูกเรียกว่า "ข้าวสารหิน" หรือ "คตข้าวสาร" มักพบตามภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 299-252 ล้านปี) ซึ่งกระจายตัวอยู่หลายแห่งทั่วประเทศไทย โดยฟิวซูลินิดมีช่วงเวลาการกระจายตัว และอาศัยในมหาสมุทรโบราณทั่วโลก ตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลาง-ยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 359-252 ล้านปี) หากจะระบุชนิดจำเป็นต้องทำแผ่นหินบาง แล้วนำมาศึกษาโครงสร้างภายในอย่างละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์



ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี


ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง อายุ 359-252 ล้านปี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์