เจ้าของโรงงานเปิดใจร่ำไห้ หลังมีประเด็นร้อนปมน้ำปลาร้า กับพิมรี่พาย
โดย "ต่าย" เจ้าของโรงงานหนึ่งในผู้เสียหาย เผยว่า "พิมรี่พาย" ติดต่อมาให้ผลิตน้ำปลาร้าส่งขาย 1 แสนขวดต่อวัน แต่ทำได้มากสุด 6 หมื่นขวดต่อวัน ต้องกู้หนี้มาสร้างโรงงาน 20 กว่าล้าน ลงทุนใหม่ เพราะถือว่าเป็นบิ๊กดีล ได้ทำงานร่วมกับแม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง งวดแรกก่อนบรรจุลงขวดได้มีการส่งให้ผู้ว่าจ้างชิมก่อนตามมาตรฐาน ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
พองวดสองตนได้ส่งน้ำปลาร้าจำนวน 6 หมื่นขวด ให้ผู้ว่าจ้างชิมตามปกติ แต่กลับถูกระงับสินค้า เนื่องจากพิมรี่พายไลฟ์สดแล้วบอกว่าสินค้าของตนไม่ได้มาตรฐาน ตนจึงได้ติดต่อไปสอบถาม
ขณะที่ "กบ" เจ้าของโรงงานผู้เสียหายอีกราย เผย ตนลงทุนสร้างโรงงานใหม่เป็นสิบล้าน เพื่อหวังว่าจะผลิตสินค้าน้ำปลาร้าตามที่ "พิมรี่พาย" เสนอมา แต่กลับถูกระงับสินค้า โดยให้เหตุผลว่าไม่ได้มาตรฐานตามที่เขากำหนด ทั้งที่เราทำตามมาตรฐานทุกอย่าง ทำให้เสียหายและขาดทุนอย่างหนัก รวมกว่า 13 ล้าน
"ระหว่างที่พวกหนูไม่ได้ส่งของ ฉลากที่ทำออกมาคนละ 2 ล้านชิ้น พวกหนูไม่ได้ใช้ ฉลากอยู่กับบริษัทเขา เพื่อที่จะมาสวม ทุกโรงงานที่เป็นผู้ผลิต โพสต์เองเลยว่าวันนี้ 2-3 ล้านขวด ผลิตไม่ทันเลย เราได้แต่นั่งดูว่าเขาเอาฉลากเราไปสวม ทั้งที่เราไม่ได้ทำให้ ถ้าเผื่อวันหนึ่งผู้บริโภคกินไปแล้วเกิดความเสียหายใครจะรับผิดชอบ" กบ เจ้าของโรงงาน กล่าว...
ขณะที่ ทนายแก้ว ให้ความเห็นในมุมกฎหมายว่าเรื่องนี้ต้องแยกกัน เรื่องของการที่พิมรี่พายจ้างผลิต เขามีสิทธิ์จะบอกเลิก บอกไม่รับ โดยอ้างว่า สินค้าไม่ผ่าน QC ของเขา พิมรี่พายย่อมทำได้ตามกฎหมาย แต่ถ้าทางคุณต่าย คุณกบ จะแย้งว่าเขาให้ผ่านแล้ว ชิมแล้ว รสชาติตรงตามต้องการแล้ว แล้วก็ต้องมาดูว่า สินค้าที่ผลิตมาลอตใหญ่นั้น มันตรงตามที่ผ่าน QC จริงหรือไม่
ส่วนเรื่องการไปลงทุนสร้างโรงงาน ตรงนี้ต้องแยก ว่าเป็นการก่อสร้างเองเกินจากสัญญาที่เขาว่าจ้างหรือไม่ การที่ไปก่อสร้างเพื่อรองรับออเดอร์ 10 ล้านขวด แต่สัญญาจริงมันมีแค่ 1 ล้านขวด ตรงนี้พิมรี่พายก็อาจไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ เพราะทางเราเป็นคนไปลงทุนสร้างเอง แต่ถ้าจะต่อสู้ ก็ลองไปดูว่าในสัญญาต่างๆ มันมีส่วนใดที่ทำให้เราหลงเชื่อหรือไม่ ว่าจะต้องสร้างโรงงานที่ใหญ่ขึ้น
กรณีการสวมสลาก เอาสลากโรงงานของคุณกบ ไปสวมในสินค้าของโรงงานอื่น ตรงนี้ถ้ามีหลักฐาน มีข้อมูลต่างๆ สามารถไปยื่นแจ้งความได้