อัพเดตมาตรการโควิด-19 เริ่ม1ต.ค.นี้ มีอาการแบบไหน ไม่ต้องกักตัว!?
ทั้งนี้ นายอนุทินให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลก และประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยกำลังรักษา ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต มีจำนวนลดลงต่อเนื่อง ประชาชนมีภูมิต้านทานจากการฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครอบคลุมกว่าร้อยละ 82 และบางส่วนมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ยังเน้นย้ำการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์ โดส) ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค เพื่อพร้อมเข้าสู่การดำเนินชีวิตที่เป็นปกติมากที่สุด โดยจะปรับเปลี่ยนมาตรการต่างๆ ให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย ภายใต้มุมมองด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงอย่างสมดุล
รัฐมนตรีว่าการ สธ.กล่าวว่า 2.เห็นชอบมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยก่อนเข้าประเทศ ยกเลิกแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเอกสารวัคซีน หรือผลการตรวจ ATK ทั้งนี้ ยังคงการเฝ้าระวังผู้เดินทางที่มีอาการป่วยของโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.แนวทางการใช้ Long Acting Antibody (LAAB) ที่ปรับปรุงเพิ่มเติม ในกลุ่มประชาชนกว่า 3.5 พันคน ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับวัคซีนแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น 3.แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคโควิด-19 หลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) ซึ่ง สธ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรองรับ เพื่อให้ประชาชนยังสามารถใช้สิทธิการรักษาเช่นเดียวกับโรคทั่วไป ทั้งการเข้าถึงการรักษาและได้รับยาต้านไวรัสตามแนวทางการรักษาล่าสุด รวมถึงการแยกกักผู้ป่วยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ระยะต่อไป และ 4.โครงการการใช้ยาคลอโรควิน เพื่อป้องกันและลดการแพร่เชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ในพื้นที่ที่มีการระบาดบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
เมื่อถามว่า การรักษาพยาบาลของผู้ติดเชื้อนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 นายอนุทินกล่าวว่า สามารถใช้วิธีการรักษาตามสิทธิสุขภาพของแต่ละคน ส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการรุนแรง สามารถใช้การรักษาตามสิทธิยูเซ็ป พลัส (UCEP Plus) ได้
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีแดง เช่น หายใจล้มเหลว หรือความดันตก ยังคงมีสิทธิของยูเซ็ป พลัส คือ เข้ารักษาได้ทุกสถานพยาบาล และให้รับรักษาจนหาย ซึ่งจะต่างจากยูเซ็ปทั่วไป ที่จะรักษาจนพ้นภาวะวิกฤตและส่งกลับสถานพยาบาลตามสิทธิภายใน 72 ชั่วโมง