อดีตพนักงานJSL ขอคำปรึกษาทนายเดชา ยื่นร้องขอค่าเสียหายถูกเลิกจ้าง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ อดีตพนักงานJSL ขอคำปรึกษาทนายเดชา ยื่นร้องขอค่าเสียหายถูกเลิกจ้าง
หลังจากที่ บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ออกประกาศเรื่อง ‘ยุติการทำงานบางส่วน' ล่าสุดตัวแทนพนักงานบริษัทเจเอสแอล ที่ถูกเลิกจ้างและได้รับผลกระทบจากการที่ไม่ได้รับเงินชดเชยเต็มจำนวน จำนวน 37 คน จากทั้งหมดคน 89 คน ได้เดินทางพบ ทนายเดชา ที่สำนักงานทนายความ
โดย ตัวแทนพนักงาน ได้กล่าวว่า วันนี้พวกเราอดีตพนักงาน บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด มาทั้งหมด 37 มาขอความช่วยเหลือจากทางทนายเดชา เพื่อที่จะขอให้เรียกร้องสิทธิเงินชดเชยที่เราควรได้ตามกฎหมาย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และ เงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากตามข่าวที่บริษัทได้ปิดตัวไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา แล้วก็แจ้งให้พนักงานทราบว่ามีเงินชดเชยให้ 16% ซึ่งตอนที่ได้รับการแจ้งเรื่องนี้รู้สึกช็อก เราเสียใจกับการที่บริษัทต้องปิดตัว รู้สึกว่ามันเกิดอะไรขึ้นทำไมเงินชดเชยที่พวกเราทั้งหมดทำงานมา ทั้งหมด 89 คน พวกเราก็ไปต่อไม่ถูก ได้แต่ปลอบและปรึกษากันว่าจะไปต่อยังไงดี แต่ละคนทำงานกันมาเป็นเวลานาน
เนื่องจากบริษัทมีชื่อเสียงและเป็นสื่อใหญ่อยู่กันมานาน บางคนอยู่มา 35 ปี บางคนอีก 2 ปีเกษียณ อยู่กันมานานเพราะทำงานด้วยความเชื่อมั่น ความรัก ความอบอุ่นที่เราได้รับการปลูกฝังมาจากผู้บริหารตลอดเวลาว่าเราจะทำงานไปด้วยกัน สู้ไปด้วยกัน เหนื่อยไปด้วยกัน เราผ่านวิกฤติต่างๆ ด้วยกันมามากมาย ตั้งแต่ ต้มยำกุ้ง ฟองสบู่แตก บริษัทประกาศลดเงินเดือน ทุกคนยอมลดช่วยกันเพื่อประคองบริษัทไปให้รอดเพราะเราคิดว่ามันคือบ้าน เราไม่เคยคิดอยากให้บ้านของเราต้องพังไปในน้ำมือของเรา ทุกคนเลยตั้งใจทุ่มเทลงไป และมีแม่ 2 ท่านที่นำเราไปได้ ในวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ทุกคนก็ช่วยกันเต็มที่ ลดเงินเดือน ไม่มีโอทีมานานมาก แบ่งจ่ายเงินเดือน ทุกคนก็ต้องไปขอประนอมหนี้ โบนัสไม่มี เรารู้ว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจ แต่วันนี้เราเหมือนถูกเท เป็นมนุษย์ชุดสุดท้ายที่อยู่ แล้วเทเราที่ 16% เราไม่เชื่อจนมาเปิดเอกสารว่าได้เท่านี้จริงๆ เราทำอะไรไม่ถูก (เปิดเอกสาร) คือในนี้เขาจะไม่ได้เขียนว่า 16% แต่ตัวเลขที่เฉลี่ยออกมาคือเท่านี้
ด้าน พนักงานฝ่ายบุคคลของ เจเอสแอล ก็ได้เผยต่อว่า ตอนแรกทางฝ่ายบุคคลได้ร่างเอกสารออกมาแล้ว 1 ฉบับ แล้วส่งไปให้ทีมผู้บริหารดูว่าเรียบร้อยไหม ซึ่งก็มีการแก้ไขกลับมาโดยในเอกสารฉบับนี้นอกเหนือจากเรื่องเงินเดือนของพนักงานแต่ละบุคคล รวมถึงขำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับ โดยจะระบุชัดเจนว่า ที่ต้องได้ 100 บาท แต่จ่าย 16 บาท และทางทนายได้เพิ่มข้อความมาว่า ‘ข้าพเจ้า รับทราบและตกลงยอมรับการเลิกจ้างและข้าพเจ้าพอใจในเงินจำนวนดังกล่าวข้างต้นนี้ ไม่ติดใจเรียกร้องเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด จึงลงรายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน' เป็นข้อความนี้เพื่อให้พนักงานยอมรับ ซึ่งก็มีคนเซ็นรับเงินไป 10 คน
ทนายเดชา กล่าวว่า "รู้ไหมว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงาน คุณจะให้ลูกจ้างสละสิทธิ์รับเงินชดเชยทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย"
อีกหนึ่ง อดีตพนักงาน ที่ได้โพสต์เรื่องราวการปิดบริษัทผ่านแอพพลิเคชั่น Tiktok จนกลายเป็นข่าวดังก็เผยว่า รู้สึกช็อก จนเกือบคิดสั้น แต่โชคดีที่ได้กำลังใจจากแม่ พื่น้องในบริษัท รวมถึงชาว Tiktok ที่แม้ว่าจะไม่รู้จักกัน แต่ก็เข้ามาให้กำลังใจ ขอบคุณทุกกำลังใจที่ดีมาก ที่โพสต์ไปไม่คิดว่าจะถึงสื่อด้วยซ้ำ ขอบคุณทุกคนที่ช่วยดันให้เรามาถึงจุดนี้ได้
อีกหนึ่งพนักงานที่ได้รับผลกระทบหนัก เพราะเธอและสามีนั้นทำงานที่เดียวกัน ได้เล่าทั้งน้ำตาถึงวันที่ประกาศแจ้งว่า วันที่ประกาศลูกสาวของเจ้าของมาอ่านคำแถลงว่าบริษัทเราขาดทุนไปต่อไม่ได้ ให้พนักงานเก็บข้าวของ ขอบคุณทุกคนที่อยู่สู้ เขารวบรวมเงินผู้บริหารได้หนึ่งก้อนเพื่อให้พนักงานทุกคนได้มีเงิน
"เราก็เข้าใจได้ เพราะขนาด 2 ปีโดนลดเงินเดือนเรายังอดทนได้เลย จ่ายแบ่งครึ่งเราก็อดทน ชีวิตทำงานเบื้องหลังกันมาตลอด มันจุกมาก หนูตกงานคู่ค่ะ ลูกหนูยังไม่ถึงขวบ เราก็คิดว่าคงมีเงินชดเชยตามกฎหมาย เราไม่คิดว่าสิ่งที่เขารวบนวมาให้เรา 16% มากกว่าเงินเดือนหนู 2,000 มันโอเคหรอ อายุงานหนู 8 ปี แฟนหนู 21 ปี ตกงานเงินยังไม่มีสร้างตัวเลย"
ในส่วนด้านกฎหมาย ทนายเดชา เผยว่าการเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด โดยทั่วไปคือ 1 เดือน ถ้าไม่มีการบอกกล่าวก็ต้องมีการจ่ายเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่ต้องจ่ายในวันที่ประกาศเลิกจ้าง ผ่านมา 3 วันแล้วเขาก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี แล้วต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วัน แล้วถ้าเขายังไม่จ่ายก็ต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
"ถ้าให้แนะนำคือไปยื่นพนักงานตรวจแรงงานก่อนเลย เพราะกฎหมายบังคับเขาต้องสอบสวนสั่งภายใน 60 วันจบเลย ที่รับผิดชอบเฉพาะค่าชดเชยและเงินตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ส่วนเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต้องไปใช้สิทธิทางศาลเอง ซึ่งเดี๋ยวผมก็ไปช่วยดำเนินการให้ ถ้าครบกำหนดแล้วไม่จ่ายก็ไปแจ้งความมีความผิดทางอาญา ถ้าบริษัทไม่มีเงิน กรรมการ คนดูแลกิจการก็ต้องรับผิดชอบ"
พนักงานหญิงอีกราย ได้ยกมือไหว้พร้อมร้องไห้ ฝากถึงผู้บริหารว่า "ถึงหนูจะอายุงานน้อยกว่าพี่ๆ หลายๆ คน แต่หนูก็ขอฝากถึงนายอันเป็นที่รักของพวกหนู พวกหนูไม่ได้โกรธนายเลย ยังคงรักและเคารพ หนูขอแค่นายหันหลังกลับมามองพวกหนู อยากให้นายนึกถึงวันที่เรียกพวกหนูไป แล้วบอกว่าพี่จะดูแลคนทำงานชุดสุดท้ายของพี่ให้ดีที่สุด หนูขอแค่ให้พี่ กลับมาคุยกับพวกหนู (สะอื้น) หลายคนอาจจะถามว่าทำไมถึงยังอยู่อีก ในสถานการณ์ที่บริษัทเป็นแบบนี้ แต่เรารักมากๆ ทุกคนรักและเต็มที่กับงานมาก วันสุดท้ายยังนั่งทำงานกันถึง 5 ทุ่ม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน ว่าลูกค้าจะมาว่าบริษัทไม่รับผิดชอบ พยายามเคลียร์งานให้ได้มากที่สุด ไม่อยากให้บริษัทเสียชื่อเสีย (ร้องไห้หนัก) หนูขอให้พี่เห็นใจพวกหนูด้วยนะคะ"
อีกหนึ่งพนักงานที่ได้รับผลกระทบหนัก เพราะเธอและสามีนั้นทำงานที่เดียวกัน ได้เล่าทั้งน้ำตาถึงวันที่ประกาศแจ้งว่า วันที่ประกาศลูกสาวของเจ้าของมาอ่านคำแถลงว่าบริษัทเราขาดทุนไปต่อไม่ได้ ให้พนักงานเก็บข้าวของ ขอบคุณทุกคนที่อยู่สู้ เขารวบรวมเงินผู้บริหารได้หนึ่งก้อนเพื่อให้พนักงานทุกคนได้มีเงิน
"เราก็เข้าใจได้ เพราะขนาด 2 ปีโดนลดเงินเดือนเรายังอดทนได้เลย จ่ายแบ่งครึ่งเราก็อดทน ชีวิตทำงานเบื้องหลังกันมาตลอด มันจุกมาก หนูตกงานคู่ค่ะ ลูกหนูยังไม่ถึงขวบ เราก็คิดว่าคงมีเงินชดเชยตามกฎหมาย เราไม่คิดว่าสิ่งที่เขารวบนวมาให้เรา 16% มากกว่าเงินเดือนหนู 2,000 มันโอเคหรอ อายุงานหนู 8 ปี แฟนหนู 21 ปี ตกงานเงินยังไม่มีสร้างตัวเลย"
ในส่วนด้านกฎหมาย ทนายเดชา เผยว่าการเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด โดยทั่วไปคือ 1 เดือน ถ้าไม่มีการบอกกล่าวก็ต้องมีการจ่ายเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่ต้องจ่ายในวันที่ประกาศเลิกจ้าง ผ่านมา 3 วันแล้วเขาก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี แล้วต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุก 7 วัน แล้วถ้าเขายังไม่จ่ายก็ต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
"ส่วนบันทึกที่บังคับให้สละสิทธิ์ในการเรียกเงินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ถ้าเป็นทนายความถือว่าผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ"
ส่วนกระบวนการจากนี้ไปก็พรุ่งนี้ (4 ก.ค.) เวลา 09.00 น. ทุกคนไปร้องที่พนักงานตรวจแรงงานพื้นที่ โดยจะมีการสอบสวนวินิจฉัยภายใน 60 วัน แล้วก็จะสั่งให้นายจ้างจ่ายภายใน 30 วัน ถ้าไม่จ่ายก็ดำเนินคดีอาญา คนที่ต้องรับผิดก็ประกอบไปด้วยบริษัท กรรมการ และผู้รับมอบแทนนายจ้าง ตอนนี้ก็ยื่นไปตามขั้นตอน การใช้สิทธิทำได้สองอย่าง หนึ่งคือไปใช้บริการพนักงานตรวจแรงงาน หรือไปฟ้องศาลแรงงานโดยตรง ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เสร็จสิ้นกระบวนการก่อน"ถ้าให้แนะนำคือไปยื่นพนักงานตรวจแรงงานก่อนเลย เพราะกฎหมายบังคับเขาต้องสอบสวนสั่งภายใน 60 วันจบเลย ที่รับผิดชอบเฉพาะค่าชดเชยและเงินตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ส่วนเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต้องไปใช้สิทธิทางศาลเอง ซึ่งเดี๋ยวผมก็ไปช่วยดำเนินการให้ ถ้าครบกำหนดแล้วไม่จ่ายก็ไปแจ้งความมีความผิดทางอาญา ถ้าบริษัทไม่มีเงิน กรรมการ คนดูแลกิจการก็ต้องรับผิดชอบ"
พนักงานหญิงอีกราย ได้ยกมือไหว้พร้อมร้องไห้ ฝากถึงผู้บริหารว่า "ถึงหนูจะอายุงานน้อยกว่าพี่ๆ หลายๆ คน แต่หนูก็ขอฝากถึงนายอันเป็นที่รักของพวกหนู พวกหนูไม่ได้โกรธนายเลย ยังคงรักและเคารพ หนูขอแค่นายหันหลังกลับมามองพวกหนู อยากให้นายนึกถึงวันที่เรียกพวกหนูไป แล้วบอกว่าพี่จะดูแลคนทำงานชุดสุดท้ายของพี่ให้ดีที่สุด หนูขอแค่ให้พี่ กลับมาคุยกับพวกหนู (สะอื้น) หลายคนอาจจะถามว่าทำไมถึงยังอยู่อีก ในสถานการณ์ที่บริษัทเป็นแบบนี้ แต่เรารักมากๆ ทุกคนรักและเต็มที่กับงานมาก วันสุดท้ายยังนั่งทำงานกันถึง 5 ทุ่ม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน ว่าลูกค้าจะมาว่าบริษัทไม่รับผิดชอบ พยายามเคลียร์งานให้ได้มากที่สุด ไม่อยากให้บริษัทเสียชื่อเสีย (ร้องไห้หนัก) หนูขอให้พี่เห็นใจพวกหนูด้วยนะคะ"
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น