จับตาโอมิครอนBA.2หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนตัวปัจจุบันพบแล้ว9ราย


จับตาโอมิครอนBA.2หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนตัวปัจจุบันพบแล้ว9ราย

เมื่อวันที่ 25 มกราคม นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ทั่วประเทศ สามารถถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว (Whole Genome Sequencing) และได้พบสายพันธุ์ย่อยของเชื้อโอมิครอน คือ BA.1 และ BA.2 แต่ยังไม่พบ BA.3

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า โดยพบสายพันธุ์ BA.2 รายแรกตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2565 และได้เสนอข้อมูลพร้อมทั้งส่งข้อมูลในระบบฐานข้อมูลจีเสด (GSAID) ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ขณะนี้สุ่มตรวจสอบสายพันธุ์ย่อย BA.2 พบสะสมรวมทั้งหมด 9 ราย โดยมีทั้งที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และติดเชื้อภายในประเทศ

"ลักษณะสำคัญทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ย่อย BA.2 คือไม่พบ Deletion ของตำแหน่ง 69-70 ซึ่งแตกต่างจาก BA.1 และ BA.3 ทั้งนี้ ยังไม่พบความแตกต่างจากสายพันธุ์ BA.1 ในประเด็นความสามารถในการแพร่เชื้อ อาการรุนแรง หรือสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้จากการติดเชื้อหรือการได้รับวัคซีนโควิด-19 มาก่อน" นพ.ศุภกิจกล่าว

จับตาโอมิครอนBA.2หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนตัวปัจจุบันพบแล้ว9ราย

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยว่า

ธรรมชาติของไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อเกิดมีสายพันธุ์หลักก็จะติดตามมาด้วยการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย ในกรณีของโอมิครอนจะมีสายพันธุ์หลักเป็น"B.1.1.529" หรือ "BA.1" แล้วเริ่มมีการกลายพันธุ์ไปอีก 2 สายพันธุ์ย่อยคือ"BA.2" และ "BA.3"

โอมิครอนสายพันธุ์หลัก "BA.1" ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลกทั้งสิ้น 514,417 ราย(8%) พบในประเทศไทย 561 ราย(23%) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม "อู่ฮั่น" ประมาณ 60-70 ตำแหน่ง (จากจีโนมทั้งสาย 3 หมื่นตำแหน่ง)

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 10,811 ราย (<0.5%) พบในประเทศไทย 2 ราย(1%) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม "อู่ฮั่น" ประมาณ 70-80 ตำแหน่ง

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีตรวจพบ BA.2 จำนวน 1 ตัวอย่าง ด้วยเทคโนโลยี "Mass array genotyping" ซึ่งกำลังยืนยันผลด้วยเทคนิค "Long read, whole genome sequencing" คาดว่าจะแล้วเสร็จในอาทิตย์นี้ ส่วนผู้ติดเชื้อไม่มีอาการรุนแรง ผล X-ray มีอาการปอดบวมเล็กน้อย แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ไปตอนนี้หายดีแล้ว ตรวจไม่พบไวรัสจากตัวอย่างสวอป

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.3 ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างทั่วโลกประมาณ 86 ราย(<0.5%) ยังไม่พบในประเทศไทย (not detected) กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม "อู่ฮั่น" ประมาณ 55-65 ตำแหน่ง


จับตาโอมิครอนBA.2หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนตัวปัจจุบันพบแล้ว9ราย

การคัดกรองทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นเพื่อแยกสายพันธุ์ "เดลตา" และ "โอมิครอน ออกจากกันมักจะตรวจโดยวิธี RT-PCR 3 ตำแหน่งบน 3 ยีน

โดยเดลตา จะถูกตรวจพบด้วย RT-PCR ครบทั้ง 3 ยีน ส่วนโอมิครอนสายพันธุ์หลัก "BA.1" ตรวจด้วย RT-PCR เพียง 2 ใน 3 ยีน เนื่องจากตรวจไม่พบ S ยีน หรือมี "S target failure (SGTF)" เนื่องจากมีการกลายพันธุเกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 (del 69-70) บนโปรตีนหนามจนตัวตรวจจับ (PCR primers) จับยีน S ไม่ได้

BA.2 บางครั้งถูกเรียกว่าสายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant)" เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีน ทำให้แยกไม่ออกระหว่าง "เดลตา" กับ "BA.2" เพราะเดลตาก็ตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีนเช่นกัน

สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) ประกาศให้ BA.2 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องสอบสวน (Variant Under Investigation: VUI) เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เนื่องจากใช้เทคโนโลยี "จีโนไทป์" จึงไม่ประสบปัญหา "S target failure (SGTF)" สามารถพัฒนาให้ชุดตรวจตรวจจับทั้ง BA.1, BA.2, และ BA.3 และ เดลตา อัลฟา เบตา แกมมา ไปพร้อมกันได้ในหลอดเดียว (single tube reaction) ภายใน 24-48 ชั่วโมง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม


จับตาโอมิครอนBA.2หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนตัวปัจจุบันพบแล้ว9ราย

BA.2 กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม "อู่ฮั่น" มากที่สุดประมาณ 70-80 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนทางคลินิกว่ามีอาการรุนแรงกว่าโอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 หรือไม่ แต่คาดคะเนจากข้อมูลทางระบาดวิทยาว่าอาจแพร่ติดต่อได้เร็วกว่าโอมิครอน BA.1 อยู่บ้าง

BA.2 เคยได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะหมดความสนใจไป เพราะมีการระบาดอยู่ในวงจำกัด 

https://www.facebook.com/CMGrama/posts/4586461878128223
แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีการระบาดแพร่กระจายมากขึ้น โดยนักวิจัยสามารถถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกได้แล้วทั้งสิ้นถึง 10,811 ราย

ส่วน BA.3 ทั่วโลกสามารถถอดรหัสทั้งจีโนมมาได้เพียง 86 ตัวอย่าง กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม "อู๋ฮั่น" น้อยที่สุดประมาณ 55-65 ตำแหน่ง ไม่มีข้อมูลทางคลินิกมากนัก



เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : ปรีชา สว่างสุวรรณ
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 49.230.12.17

49.230.12.17,,49.230.12.17 ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ทางการแพทย์กรุณาแนะนำให้ประชาชนทั่ว ๆ ไปปฏิบัติยังไง? กรุณาบอกรายละเอียดด้วย ขอขอบคุณ


[ วันพุธ ที่ 26 มกราคม 2565 เวลา 09:35 น. ]
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 4 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:23 น. ]
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์