สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอ 5 แนวทางลดผลกระทบหมูแพง
รวมทั้งยังมีราคาแพงจนไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค แต่การนำเข้าเนื้อหมูแช่แข็งจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนและสนับสนุนให้เกิดทางเลือกในการบริโภคของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยจำกัดเฉพาะเนื้อหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ปลอดจากการใช้สารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น
ขณะที่ผู้บริโภคอาจต้องมีส่วนรับผิดชอบที่จะทำให้เกิดกระบวนการเลี้ยงหมูที่ปลอดภัย ลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นต้นตอของโรคระบาดในหมู หรือต้นตอของความไม่ปลอดภัย จนเป็นสาเหตุสำคัญของเชื้อดื้อยาในมนุษย์ในท้ายที่สุด
นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีบทบาทในการทำให้เกิดการสนับสนุนการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ ที่รู้จักกันในนาม ‘หมูหลุม'
สอบ. ได้มีข้อเสนอ ‘แนวทางลดผลกระทบจากเนื้อหมูราคาแพงต่อผู้บริโภค' ดังต่อไปนี้
3. ผลักดันท้องถิ่นให้สนับสนุนเกษตรรายย่อยเลี้ยงหมูเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ
4. ผู้บริโภคร่วมมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ หรือ หมูหลุม เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
5. สนับสนุนการวิจัยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และเพิ่มการผลิตโปรตีนจากพืชที่มีราคาถูกกว่า และมีส่วนในการลดโลกร้อน
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาโครงสร้างราคาที่ยังไม่มีความชัดเจน ระหว่างราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มเป็นอีกราคาหนึ่ง แต่เมื่อซื้อมาประกอบอาหารทำไมจึงต้องมีการกำหนดราคาเป็นสองเท่าของหมูมีชีวิต
ขณะที่อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การกำหนดให้มีแนวทางลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ประการหนึ่งที่เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น จึงมองว่าควรมีการสนับสนุนการศึกษาวิจัยในสถาบันการศึกษาเรื่องผลกระทบของปศุสัตว์ขนาดใหญ่ต่อภาวะโลกร้อน และมีทางเลือกใหม่ในการผลิตอาหารโปรตีนจากพืชที่นำมาทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง