นพ.รุ่งเรือง เผยแนวทาง โควิด19จะเป็นโรคประจำถิ่นได้อย่างไร?
1) เชื้อลดความรุนแรง (ปัจจุบันความรุนแรง อัตราป่วยตายโรคโควิด 19 ลดลงเหลือ เสียชีวิต ~ 1 ราย จากผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย)
2) ประชาชนมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี เช่น การฉีดวัคซีน การติดเชื้อก่อนหน้า
3) ประเทศนั้นๆ มีระบบการบริหารจัดการ การดูแลรักษา และควบคุม/ชะลอการระบาดได้อย่างดี (ตัวอย่างที่ดีในประเทศไทย และอีกหลายๆประเทศ)
สรุปได้ว่า "โรคประจำถิ่น" เป็นโรคที่เกิดขึ้นประจำเฉพาะบริเวณพื้นที่นั้น ๆ มีการแพร่กระจายและสามารถคาดเดาอัตราการติดเชื้อได้ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ โรคเอดส์
1) Endemic (โรคประจำถิ่น) คือ โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น กล่าวคือมีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศ หรือทวีป เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา
2) Outbreak (การระบาด) คือ เหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทั้งในกรณีโรคประจำถิ่น แต่มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าที่คาดการณ์ หรือในกรณีโรคอุบัติใหม่ ถึงแม้จะมีผู้ป่วยเพียงรายเดียว
3) Epidemic (โรคระบาด) เป็นการระบาดของโรคที่แพร่กระจายกว้างขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งโรคระบาดที่แผ่ไปในพื้นที่ที่กว้างขึ้นนั้นเป็นการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเกินกว่าที่คาดการณ์ได้ เช่น โรคอีโบลาที่ระบาดในทวีปแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559
4 Pandemic (การระบาดใหญ่/ทั่วโลก) หรือ ระดับการระบาดสูงสุด เช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 (Spanish flu) หรือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และล่าสุดคือการระบาดของ COVID-19 ในอย่างน้อย 122 ประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม หลังจากการแพร่ระบาดถึงขั้นสูงสุดของการระบาดแล้ว โรคระบาดเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนกลายเป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคระบาดตามฤดูกาลของประเทศ ต่อไป ตามเงื่อนไขที่กำหนด