แก้หมูราคาพุ่ง สั่งห้ามส่งออก 3 เดือน-ไล่เช็กสต๊อกตั้งแต่ต้นทาง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ แก้หมูราคาพุ่ง สั่งห้ามส่งออก 3 เดือน-ไล่เช็กสต๊อกตั้งแต่ต้นทาง
ด่วนแก้หมูแพง "จุรินทร์" เคาะห้ามส่งออกหมูเป็นชั่วคราว 3 เดือน เริ่มเลย 6 ม.ค. สั่งเช็กสต๊อก-แจ้งราคา ตั้งแต่ต้นทางถึงผู้บริโภค
ที่กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1/2565 ว่า
ได้พิจารณาประเด็นเรื่องสุกร ร่วมกันกับกรมปศุสัตว์ที่เป็นหน่วยงานดูแล การผลิตสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ตัวเลขปี 2564 มีการเลี้ยงสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว แยกเป็นการบริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว คาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีสุกรหายไปจากระบบและเหลือประมาณ 13 ล้านตัว จาก 19 ล้านตัว แต่การบริโภคในประเทศประมาณ 18 ล้านตัว ทำให้ขาดสุกรเพื่อบริโภคในประเทศ 5 ล้านตัว ดังนั้น ที่ประชุมพิจารณาห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม-5 เมษายน 2565 เป็นการชั่วคราว และจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ โดยติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด คาดช่วยให้มีหมูเป็นกลับเข้าสู่ระบบเพิ่มเติมประมาณ 1 ล้านตัว
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ที่ประชุมสั่งการให้ผู้เลี้ยงที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีปริมาณเกิน 500 ตัว ห้องเย็นที่มีการเก็บสต๊อกเกิน 5,000 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องแจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบ รวมทั้งแจ้งราคา ในทุก 7 วัน เริ่มวันที่ 10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบปริมาณหมูเป็นทั้งหมดที่อยู่ในระบบ รวมทั้งหมูแช่แข็ง แช่เย็น รวมกันทั้งประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยกรมการค้าภายในจะทำงานร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ให้ได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด นอกจากนี้ การจำหน่ายเนื้อหมู กำหนดให้มีการติดป้ายราคาจำหน่ายห้ามขายเกินราคาป้ายที่กำหนดไว้ รวมทั้งดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พาณิชย์จังหวัดและกรมการค้าภายในรวมทั้งปศุสัตว์ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งการขายเกินราคา การเข้าข่ายค้ากำไรเกินควรก็ตาม และที่ประชุมยังมีมติเพิ่มเติมให้กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง ผลิตสุกร เข้าสู่ระบบเร่งดำเนินการ ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพิ่มเติมเพื่อให้สุกรมีเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศโดยเร็วที่สุด
"เรื่องราคา ต้องดูหลังจากที่ปศุสัตว์ส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงสุกรอีกครั้งว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณสุกรได้แค่ไหน คาดว่าเบื้องต้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ถึงจะได้เห็นความชัดเจนเรื่องราคาหมูที่ชัดเจนอีกครั้งต่อไป ว่าราคาจะลงกว่านี้แค่ไหน"
นายจุรินทร์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ มีมาตรการเร่งรัดการส่งเสริมการเลี้ยง กระทรวงพาณิชย์เห็นด้วยในการช่วยสนับสนุนมาตรการทั้งหมด และถ้ามีความจำเป็นในเรื่องใดที่จะต้องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์พร้อมที่จะให้การสนับสนุน โดยเฉพาะมาตรการเร่งรัดส่งเสริมการเลี้ยงการช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยราคาถูกหรือเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ และขอให้กระทรวงการคลังเข้ามามีบทบาทช่วยดูแลเรื่องนี้ต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเข้ามาเลี้ยงในระบบ GFM (Good Farming Management) ที่มีมาตรฐานและต้นทุนไม่สูงเกินไป เป็นระบบที่ป้องกันโรคได้และมีความปลอดภัยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
"มาตรการต่อจากนี้ มาตรการที่ 1 เมื่อทราบสต๊อกจะเร่งนำหมูจากสต๊อกมาป้อนเข้าสู่ระบบโดยเร็ว มาตรการที่ 2 กำกับราคาไม่ให้เกิดการค้ากำไรเกินควร ถ้าต้นทุนหมูสูงขึ้นจริงจำเป็นต้องขายราคาหน้าฟาร์มสูงขึ้น ก็ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย แต่ถ้าขายเกินราคาสมควรจนเข้าข่ายผิดกฎหมาย กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดำเนินคดีโดยเด็ดขาด ไม่มียกเว้น ขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชนผู้บริโภคทั้งประเทศแจ้งเบาะแสมาที่สายด่วน 1569 ซึ่งนอกจากเข้าไปทำหน้าที่เชิงรุกของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จะขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะที่เป็นกลไกของกระทรวงพาณิชย์ในระดับจังหวัดช่วยดำเนินการเรื่องนี้ " นายจุรินทร์กล่าว
ที่กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1/2565 ว่า
ได้พิจารณาประเด็นเรื่องสุกร ร่วมกันกับกรมปศุสัตว์ที่เป็นหน่วยงานดูแล การผลิตสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ตัวเลขปี 2564 มีการเลี้ยงสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว แยกเป็นการบริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว คาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีสุกรหายไปจากระบบและเหลือประมาณ 13 ล้านตัว จาก 19 ล้านตัว แต่การบริโภคในประเทศประมาณ 18 ล้านตัว ทำให้ขาดสุกรเพื่อบริโภคในประเทศ 5 ล้านตัว ดังนั้น ที่ประชุมพิจารณาห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม-5 เมษายน 2565 เป็นการชั่วคราว และจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ โดยติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด คาดช่วยให้มีหมูเป็นกลับเข้าสู่ระบบเพิ่มเติมประมาณ 1 ล้านตัว
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ที่ประชุมสั่งการให้ผู้เลี้ยงที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีปริมาณเกิน 500 ตัว ห้องเย็นที่มีการเก็บสต๊อกเกิน 5,000 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องแจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบ รวมทั้งแจ้งราคา ในทุก 7 วัน เริ่มวันที่ 10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบปริมาณหมูเป็นทั้งหมดที่อยู่ในระบบ รวมทั้งหมูแช่แข็ง แช่เย็น รวมกันทั้งประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยกรมการค้าภายในจะทำงานร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ให้ได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด นอกจากนี้ การจำหน่ายเนื้อหมู กำหนดให้มีการติดป้ายราคาจำหน่ายห้ามขายเกินราคาป้ายที่กำหนดไว้ รวมทั้งดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พาณิชย์จังหวัดและกรมการค้าภายในรวมทั้งปศุสัตว์ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งการขายเกินราคา การเข้าข่ายค้ากำไรเกินควรก็ตาม และที่ประชุมยังมีมติเพิ่มเติมให้กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง ผลิตสุกร เข้าสู่ระบบเร่งดำเนินการ ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพิ่มเติมเพื่อให้สุกรมีเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศโดยเร็วที่สุด
"เรื่องราคา ต้องดูหลังจากที่ปศุสัตว์ส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงสุกรอีกครั้งว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณสุกรได้แค่ไหน คาดว่าเบื้องต้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ถึงจะได้เห็นความชัดเจนเรื่องราคาหมูที่ชัดเจนอีกครั้งต่อไป ว่าราคาจะลงกว่านี้แค่ไหน"
นายจุรินทร์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ มีมาตรการเร่งรัดการส่งเสริมการเลี้ยง กระทรวงพาณิชย์เห็นด้วยในการช่วยสนับสนุนมาตรการทั้งหมด และถ้ามีความจำเป็นในเรื่องใดที่จะต้องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์พร้อมที่จะให้การสนับสนุน โดยเฉพาะมาตรการเร่งรัดส่งเสริมการเลี้ยงการช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยราคาถูกหรือเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ และขอให้กระทรวงการคลังเข้ามามีบทบาทช่วยดูแลเรื่องนี้ต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเข้ามาเลี้ยงในระบบ GFM (Good Farming Management) ที่มีมาตรฐานและต้นทุนไม่สูงเกินไป เป็นระบบที่ป้องกันโรคได้และมีความปลอดภัยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
"มาตรการต่อจากนี้ มาตรการที่ 1 เมื่อทราบสต๊อกจะเร่งนำหมูจากสต๊อกมาป้อนเข้าสู่ระบบโดยเร็ว มาตรการที่ 2 กำกับราคาไม่ให้เกิดการค้ากำไรเกินควร ถ้าต้นทุนหมูสูงขึ้นจริงจำเป็นต้องขายราคาหน้าฟาร์มสูงขึ้น ก็ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย แต่ถ้าขายเกินราคาสมควรจนเข้าข่ายผิดกฎหมาย กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดำเนินคดีโดยเด็ดขาด ไม่มียกเว้น ขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชนผู้บริโภคทั้งประเทศแจ้งเบาะแสมาที่สายด่วน 1569 ซึ่งนอกจากเข้าไปทำหน้าที่เชิงรุกของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จะขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะที่เป็นกลไกของกระทรวงพาณิชย์ในระดับจังหวัดช่วยดำเนินการเรื่องนี้ " นายจุรินทร์กล่าว
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น