เปิด 6 มาตรการ ศบค.สั่งเคอร์ฟิว 10 จังหวัด เริ่ม 12 ก.ค. นี้
1.จำกัดการเคลื่อนย้ายและการรวมกลุ่มบุคคลให้มากที่สุด โดยกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ใช้การปฎิบัติงานในลักษณะเวิร์คฟรอมโฮมให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน
ระบบขนส่งสาธารณะ เปิดให้บริการได้ในห้วงเวลา 21.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
ส่วนร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิดเวลา 20.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ขณะที่ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
สวนสาธารณะ สามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น. ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพหรือกิจกรรมตามประเพณีรวมกันเกิน 5 คน
โดยในข้อ 1 นี้ เฉพาะใน (กทม.และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร)
ขณะที่สถานศึกษาใน 10 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ให้เรียนออนไลน์เท่านั้น
2.ให้บุคคลงดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี (ในส่วนนี้คือห้ามใน 10 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)
3.การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างยังคงเป็นไปตามข้อกาหนดของ ศบค.ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้
5.ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนให้มีบทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558
6.ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ 1-4 ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป
1.กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กระทรวงกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล เร่งรัดให้มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบ การตรวจหาเชื้อ อย่างเพียงพอ
2.สธ.ร่วมกับกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดนาระบบการแยกกักแบบการแยกกัก ที่บ้าน (HI : Home Isolation) และการแยกกักในชุมชน (CI : Community Isolation) รวมทั้งการใช้ ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักมาเสริมเพิ่มมาตรการรักษาพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนการขาดแคลนเตียงพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ
3.สธ.ร่วมกับกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการจัดตั้ง ICU สนาม และ รพ.สนาม รวมถึง รพ.สนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาล ให้แล้วเสร็จ โดยเร็ว และมีจำนวนมากพอ
4.สธ.ปรับแผนการกระจายวัคซีน และเร่งการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจาตัวและโรคเรื้อรังในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทั้งเร่งรัดการฉีดวัคซีนในพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
5.ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ในการป้องกันส่วนบุคคล การตรวจหาเชื้อ และการรักษาพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพ
6.ให้ศบศ.เร่งรัดกาหนดมาตรการเยียวยาสถานประกอบการหรือพนักงานท่ีได้รับผลกระทบจากการกาหนด มาตรการในครั้งนี้ ตามความจาเป็นของแต่ละพื้นที่
1.กระทรวงมหาดไทย( มท. )ร่วมกับ สธ. เน้นย้ำให้ ผวจ. และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกันรับผิดชอบในการกาหนดมาตรการ คัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (10 จังหวัด : กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ทั้งนี้ "ให้พร้อมดำเนินการต้ังแต่วันที่ 10 ก.ค.64 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป" โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนด ฉบับที่ 25
2.การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เป็นไปตามพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดตามคำสั่ง ศบค.