เทียบประสิทธิภาพวัคซีนโควิด เชื้อเป็น-เชื้อตาย กลายพันธุ์ทำป่วน
ส่วนผลการศึกษาจากเมืองหนึ่งของประเทศบราซิลที่มีสายพันธุ์ P1 ประชากร 7-8 หมื่นคน ฉีดครอบคลุม 80-90% อัตราตายลดลง 95% ส่วนซิโนแวคต่อสายพันธุ์เดลตามีรายงานเมื่อ 4-5 วันที่แล้ว ในสื่อจีนที่รายงานข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา ว่า กวางโจวมีผู้ติดเชื้อ 166 คนเป็นเดลตาทั้งหมด เมื่อไปดูคนสัมผัสผู้ติดเชื้อ พบว่า ช่วยลดการติดเชื้อในผู้สัมผัสลง 69% ลดปอดอักเสบ 73% ลดเป็นโรครุนแรงหรือเสียชีวิตถึง 95% ส่วนซิโนแวคต่อสายพันธุ์เบตายังไม่มีข้อมูล
สำหรับชนิด mRNA ที่หลายคนบอกว่าทำไมไม่สั่งเข้ามา ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีมาก อย่างโมเดอร์นาสูง 94% และไฟเซอร์สูง 95% แต่ปัญหาใหญ่คือกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ โดยสัปดาห์ที่แล้ววัคซีน mRNA ของเยอรมัน ชื่อ "เคียวร์แวค" ศึกษาในอาสาสมัครที่ยุโรปและลาตินอเมริกา 4 หมื่นคน ประสิทธิผลการป้องกันลดลงเหลือ 48% แต่ลดป่วยหนักและตายยัง 100% สาเหตุน่าจะเป็นเพราะเชื้อกลายพันธุ์
"สำหรับวัคซีนในเด็กนั้น เด็กมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าผู้ใหญ่ และไม่ค่อยมีอาการ การเสียชีวิตต่ำ ระลอกนี้ติดเชื้อเป็นหมื่น เสียชีวิต 4-5 คน แต่ผู้สูงอายุเสียชีวิต 10% แตกต่างอย่างมหาศาล เวลาเอาวัคซีนมาพิจารณาในเด็ก ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เรากังวลความปลอดภัย เพราะเป็นวัคซีนใหม่ ที่มีการใช้ในเด็กคือจีนใช้ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ในอายุ 3-17 ปี และอินโดนีเซียกำลังเอาอย่าง ประเทศไทยจึงต้องขอดูข้อมูล ส่วนไฟเซอร์มีข้อบ่งในเอกสารกำกับยาว่า กลุ่มวัยรุ่นอาจก่อผลข้างเคียงของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และมักเกิดในเข็มสอง ในเด็กผู้ชาย อัตราเกิด 2 ต่อแสนโดส ถ้าเรามีวัคซีนหรือใกล้มีวัคซีน กลุ่มกุมารแพทย์คงต้องพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ" รศ.นพ.ทวีกล่าว