WHO ไม่ตัดประเด็น “เชื้อรั่วไหล” จากแล็บอู่ฮั่น
โดยย้ำว่าทฤษฎีที่ว่าเชื้อโควิด-19 รั่วไหลจากห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยไวรัสวิทยาในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของประเทศจีน ยังไม่ถูกตัดออกจากการสันนิษฐานหาต้นตอการแพร่ระบาดของโรค
พร้อมระบุหวังว่า รัฐบาลจีนจะเห็นแก่ผู้เสียชีวิตทั่วโลกและให้ความร่วมมือในการหาที่มาของไวรัสมรณะ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอเมริกา มีคำสั่งเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ให้หน่วยข่าวกรองรายงานผลตรวจสอบหาแหล่งที่มาของโรคโควิด-19 ภายใน 3 เดือนข้างหน้า ว่ามาจากสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ หรือเป็นอุบัติเหตุที่เชื้อรั่วไหลออกจากห้องปฏิบัติการในเมืองอู่ฮั่น
เมื่อถูกถามถึงความเป็นไปได้ของทฤษฎีเชื้อโควิด-19 หลุดรอดมาจากห้องปฏิบัติการ นพ.กีบรีเยซุสกล่าวว่าตอนนี้ทุกสมมติฐานควรเปิดกว้างสำหรับการหาคำตอบ พร้อมระบุถึงสถานการณ์ในโลกว่ามีผู้ป่วยสะสมอย่างน้อย 174 ล้านคน และเสียชีวิตเกือบ 3.8 ล้านราย
"ผมคิดว่าผู้เสียชีวิตสมควรได้รับความเคารพด้วยการรับรู้ว่าต้นกำเนิดของไวรัสชนิดนี้คืออะไร เพื่อที่เราจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกครั้ง" รัฐบาลจีนยังไม่ได้ให้ความร่วมมือและแสดงความโปร่งใสที่มากพอในกระบวนการตรวจสอบระยะแรก
"เราต้องการความร่วมมือจากทางการจีน เราต้องการความโปร่งใสเพื่อทำความเข้าใจหรือสามารถค้นหาต้นกำเนิดของไวรัสนี้ได้ เรามีปัญหาในการแบ่งปันข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลดิบ เราหวังว่าขั้นตอนต่อไปในการตรวจสอบจะมีความร่วมมือและความโปร่งใสที่ดีขึ้น" ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าว
ครอบคลุมถึงการลดเวลาที่ใช้ในการพัฒนา การออกใบอนุญาตวัคซีน การรักษา และการวินิจฉัยโรคใดๆ ก็ตามในอนาคตให้น้อยกว่า 100 วัน มุ่งมั่นร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังทั่วโลกและเพิ่มความสามารถในการวิจัยข้อมูลทางพันธุกรรม รวมทั้งสนับสนุนการปฏิรูปและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การอนามัยโลก
ด้านนพ.กีบรีเยซุสกล่าวว่ายินดีกับปฏิญญาอ่าวคาร์บิสว่าด้วยเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่โลกเริ่มฟื้นตัวและฟื้นฟูหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ การตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และค้นหาแนวทางแก้ไขร่วมกันเพื่อปิดช่องโหว่จำนวนมากนี้
องค์การอนามัยโลกมีความยินดียิ่งและจะดำเนินการตามข้อเสนอโครงการโกลบอล แพนเดมิก เรดาร์ ของสหราชอาณาจักร เพื่อค้นหาเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่และติดตามการเกิดขึ้นของโรคใหม่ๆ โลกจำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวังที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อตรวจหาความเสี่ยงจากโรคระบาดและโรคระบาดใหม่