ช็อก! หญิงป่วยHIVติดโควิด พบไวรัสกลายพันธุ์ในร่างกายกว่า30ครั้ง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ช็อก! หญิงป่วยHIVติดโควิด พบไวรัสกลายพันธุ์ในร่างกายกว่า30ครั้ง
ช็อก! หญิงป่วย HIV ติดโควิด 7 เดือน พบไวรัสกลายพันธุ์ในร่างกายกว่า 30 ครั้ง
เว็บไซต์บิสซิเนส อินไซเดอร์รายงานผลการศึกษาที่เผยแพร่บนคลังเอกสารวิชาการแพทย์ออนไลน์ medRxiv เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ระบุว่า หญิงวัย 36 ปีในแอฟริกาใต้ที่มีเชื้อเอชไอวี ได้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 7 เดือน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวไวรัสโควิด-19ในร่างกายได้เกิดการกลายพันธุ์ถึง 32 ครั้ง
โดยเกิดการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีน 13 ครั้งซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าช่วยให้ไวรัสหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และการกลายพันธุ์อีก 19 ครั้งที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของไวรัสได้ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่อยู่ในร่างกายของหญิงคนดังกล่าวได้แพร่ไปสู่ผู้อื่นหรือไม่
นอกจากนี้การกลายพันธุ์บางส่วนที่พบในร่างกายของหญิงคนดังกล่าว เคยถูกพบแล้วในสายพันธุ์ที่น่ากังวลอย่างเช่น การกลายพันธุ์ที่ E484K ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายพันธุ์อัลฟาหรือ B.1.1.7 ที่พบครั้งแรกในอังกฤษ และการกลายพันธุ์ที่ N510Y ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายพันธุ์เบต้าหรือ B.1.351 ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
ด้านนายทูลิโอ เดอ โอลิเวรา (Tulio de Oliveira) ผู้จัดทำการศึกษาและนักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควาซูลูนาทาล เมืองเดอร์บันระบุว่า หากพบกรณีเช่นนี้เพิ่มมากขึ้น ก็เป็นไปได้ว่า ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจเป็นแหล่งเพาะของเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้ง่ายเพราะเชื้อโควิด-19 อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยได้นานขึ้น
เว็บไซต์บิสซิเนส อินไซเดอร์รายงานผลการศึกษาที่เผยแพร่บนคลังเอกสารวิชาการแพทย์ออนไลน์ medRxiv เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ระบุว่า หญิงวัย 36 ปีในแอฟริกาใต้ที่มีเชื้อเอชไอวี ได้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 7 เดือน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวไวรัสโควิด-19ในร่างกายได้เกิดการกลายพันธุ์ถึง 32 ครั้ง
โดยเกิดการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีน 13 ครั้งซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าช่วยให้ไวรัสหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และการกลายพันธุ์อีก 19 ครั้งที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของไวรัสได้ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่อยู่ในร่างกายของหญิงคนดังกล่าวได้แพร่ไปสู่ผู้อื่นหรือไม่
นอกจากนี้การกลายพันธุ์บางส่วนที่พบในร่างกายของหญิงคนดังกล่าว เคยถูกพบแล้วในสายพันธุ์ที่น่ากังวลอย่างเช่น การกลายพันธุ์ที่ E484K ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายพันธุ์อัลฟาหรือ B.1.1.7 ที่พบครั้งแรกในอังกฤษ และการกลายพันธุ์ที่ N510Y ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายพันธุ์เบต้าหรือ B.1.351 ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
ด้านนายทูลิโอ เดอ โอลิเวรา (Tulio de Oliveira) ผู้จัดทำการศึกษาและนักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควาซูลูนาทาล เมืองเดอร์บันระบุว่า หากพบกรณีเช่นนี้เพิ่มมากขึ้น ก็เป็นไปได้ว่า ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจเป็นแหล่งเพาะของเชื้อสายพันธุ์ใหม่ได้ง่ายเพราะเชื้อโควิด-19 อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยได้นานขึ้น
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น