ตะลึง! อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ

จากกรณีที่สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า

จากการศึกษาของสหประชาชาติ (UN) และอีกหลายสถาบัน พบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยพบว่า เมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม…ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ กรุงเทพมหานคร 
 
สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า

มีความเป็นไปได้ แต่สิ่งที่องค์การสหประชาชาติ  ออกมาระบุเร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันบรรยากาศที่ห่อหุ้มผิวโลกของ เรานั้น เพิ่มความร้อนให้โลกอยู่ทุกขณะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในบรรยากาศโดยฝีมือของมนุษย์ ทำให้องค์ประกอบในบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป มีการปล่อยเผาผลาญเชื้อเพลิงต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเป็นสองเท่า มีผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซล เซียส ส่งผลกระทบต่อชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เกิดพายุ ลมฟ้าคะนองมากขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นด้วย รวมทั้งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายซึ่งเป็นผลทำให้เกิดน้ำทะเลสูงขึ้นตามด้วย
    
สำหรับการเกิดน้ำท่วม ในกรุงเทพฯนั้น มีสาเหตุหลัก ๆ 2 สาเหตุด้วยกัน

ประการแรก เกิดจากกรุงเทพฯมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะกรุงเทพฯตั้งอยู่บนดินเลน อีกประการหนึ่งคือ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี  
 

องค์การสหประชาชาติ วิเคราะห์ไว้ว่า ภายใน 10-15 ปี น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 1-1.5 เมตร จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวลง

รวมทั้งจากกรมแผนที่ทหารได้แสดงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่กำลังทรุดตัวลง โดยพื้นที่ที่มีการทรุดตัวลงมากที่สุดอยู่บริเวณ เขตบางกะปิ ซึ่งมีการทรุดตัวไปแล้วประมาณ 100 เซนติเมตร เมื่อเป็นเช่นนี้ การรับมือกับสภาวการณ์น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ป้องกันระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นเนื่องจากสภาวะโลก ร้อนในอนาคต
 
การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้ จะมีที่เก็บน้ำในลักษณะของแก้มลิงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ซึ่งจะเป็นที่เก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในงานเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอยู่ระหว่างชายฝั่งกับแนวเขื่อน หากทำเป็นเขื่อนคอนกรีต รถจะสามารถวิ่งบนเขื่อนได้ รวมทั้งตรงปากแม่น้ำทำทางให้เรือสามารถลอดผ่านได้ มีช่องทางระบายน้ำ ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 แสนล้าน-2 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเขื่อนรูปแบบใด โดยระยะทางในการสร้างเขื่อนปิดอ่าวประมาณ 100-200 กิโลเมตร การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ
 

ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์สัตว์น้ำเขตร้อนชื้นของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์  จะใช้เวลาในช่วง 2 ปีข้างหน้าศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก พร้อมตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2503 เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้  มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการแล้ว
 
หากสร้างเขื่อนที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความคดเคี้ยว จะทำให้ระยะทางของเขื่อนมีความยาวมากและมีการก่อสร้างที่ลำบาก

เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเลน แต่การก่อสร้างเขื่อนบริเวณปากอ่าวไทยจะทำได้ง่าย กว่า เนื่องจากลักษณะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นดินทราย สามารถตอกเสาเข็มลงไปได้ ทำให้เขื่อนมีความแข็งแรงทนทาน เขื่อนนี้นอกจากจะเป็นการกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย โดยรถที่วิ่งมาจากด้านตะวันออกต้องการลง ภาคใต้จะไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ สามารถวิ่งข้ามเขื่อนเพื่อเดินทางลงใต้ได้เลย เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100 กิโลเมตร
 
“เป็นการช่วยระบายน้ำไม่ให้ทะลักเข้ากรุงเทพฯ  เพราะพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เนื่องจากสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม มีโรงงานตั้งอยู่จำนวนมากเป็นหมื่นโรง หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นคนงานจะตกงานกันเป็นแสนคน พื้นที่ในกรุงเทพฯถ้ามีการกั้นน้ำที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างถาวร เพราะน้ำจะไปท่วมฝั่งธนบุรี พระประแดงแทน แล้วไหลย้อนกลับมา รวมทั้งการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะบดบังทัศนียภาพของโรงแรมและ บ้านเรือนของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้ และต้องเวนคืนที่ดินอีกด้วย”
 

อีกทั้งเรือที่ต้องการจอดจะไม่สามารถกระทำได้  การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวจึงเป็นวิธีที่     ดีที่สุดในการตั้งรับ

สามารถจะป้องกันน้ำท่วมในหลาย ๆ จังหวัดได้ ตั้งแต่จังหวัดสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม ไปจนถึงบางปะกง ถ้ามีการสร้างกั้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็จะไปท่วม จ.สมุทรปราการไปจนถึงบางปะกง จากนั้นน้ำก็จะไหลย้อนกลับมาเกิดเป็นปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นอีก
 
“ถ้าไม่ทำตอนนี้ ปล่อยรอให้ใกล้ ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน เข้ามาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะสร้างไม่ทันและความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ระบบ เศรษฐกิจจะหยุดชะงักหมด กรุงเทพฯจะค่อย ๆ จมน้ำไปเรื่อย ๆ อีกทั้งน้ำจืดก็จะไม่มีกิน เพราะน้ำทะเลจะหนุนเข้าไปในคลองประปา ทำให้น้ำประปามีรสเค็มกลายเป็นน้ำกร่อย ผู้คนเป็นล้านจะไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ เวลาน้ำเหนือลงมาปะทะกับน้ำทะเลที่ท่วมอยู่แล้วก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งอาจจะท่วมมากกว่า 2-3 เมตร ก็เป็นได้”
 
หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง การย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และเวลานานมาก

เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยา ลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรง แรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม
 
อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนหลายสิบล้านคน

อย่าวางใจ ชะล่าใจ ต้องรอให้เกิดวิกฤติ  ก่อนแล้วจึงคิดแก้ไข คิดทำ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วอาจสายเกินแก้ การสร้างเขื่อนนี้เป็นเพียงแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากนักวิชาการเท่านั้น ทุกคน ทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือกัน เพราะนี่เป็นโครงการระดับชาติ รัฐจะต้องมีนโยบายเป็นโครง การระดับชาติ มีการดำเนินการ  ต่อเนื่องกันในหลาย ๆ รัฐบาล เพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ    5-8 ปี ไม่ใช่รัฐบาลนี้เห็นชอบก็มีการดำเนินการ แต่พอมีรัฐบาลใหม่ก็หยุดชะงักลง อาจทำให้เกิดความเสียหายและไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ขึ้นมา
    
การที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยการปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นับเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง
   
 “ส่วนในเรื่องของการ  เกิดภาวะน้ำท่วมนั้น ไม่ใช่ให้ประชาชนตระหนกแต่ต้องการให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน เมื่อรับทราบข้อมูลต้องมีการตั้งข้อ สังเกตด้วยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะการป้องกันย่อมดีกว่า การแก้ไขอย่างแน่นอน”
    

หากเป็นเรื่องจริง ยังจะรอให้ฟ้า ฝน ช่วยอยู่อีกไหม ??.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์