ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


กลายเป็นคำตอบสั้นๆ จาก ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ชื่อ Tony Woodsame ร่วมสนทนาทางแอพพ์ Clubhouse ในห้อง ไทยรักไทย ใครเกิดทัน มากองกันตรงเน้ ทว่า กลับเสียดแทงใจใครหลายคน เนื่องจากประโยคดังกล่าวอยู่ในคำตอบของคำถามซึ่งเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่มัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี

"ทักษิณ" ตอบคำถามเต็มๆ เพียงว่า

"รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ตอนนั้นอยู่ในการควบคุมทหาร ผมก็ได้รับรายงาน ก็เสียใจ จำไม่ค่อยได้ เสียใจ"




โลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงในทันที พร้อมระบุว่า เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ-ตากใบ ได้เป็นประเด็น "อ่อนไหว" ที่อดีตนายกฯอึกอักที่จะตอบอย่างชัดเจน

เกิดอะไรขึ้นในตากใบ?
25 ตุลาคม 2547 เกิดเหตุการณ์ สลายการชุมนุมที่ สภ.อ.ตากใบ

การชุมนุมครั้งนั้นเกิดจากคนจำนวนนับพันเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน 6 คน ที่ถูกทางการตั้งข้อหา พร้อมคุมขังระหว่างการสวบสวนนานกว่าสัปดาห์ เนื่องจากสงสัยว่ามีการพัวพันกับอาวุธปืนที่หายไป แต่ชาวบ้านเชื่อว่าคนเหล่านั้นไม่ผิด

การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป กระทั่งการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับข้อสรุป เกิดการขว้างปาสิ่งของ และผู้ชุมนุมพยายามจะเข้าไปภายใน สภ.อ.ตากใบ เพื่อเจรจาอีกครั้ง ต่อมา แม่ทัพภาคที่ 4 ในขณะนั้นมีคำสั่งสลายการชุมนุม เริ่มจากการฉีดน้ำใส่ฝูงชน ใช้แก๊สน้ำตา และยิงตอบโต้นาน 30 นาที

การสลายชุมนุมครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 85 คน สูญหาย 7 คน และบาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของชาวปาตานี หรือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


ตั้งกรรมการสอบฯ กรณีผู้เสียชีวิตเหตุการณ์ตากใบ

2 พฤศจิกายน 2547 หลังเหตุการณ์ราว 1 สัปดาห์ มี คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 335/2547 แต่งตั้ง คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว

ปรากฏข้อมูลเผยแพร่ใน ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า ในตอนหนึ่งระบุว่า

"จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เริ่มก่อเหตุการณ์คือกลุ่มแกนนำบางคนที่ต้องการให้สถานการณ์ยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นฝ่ายเข้าไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ละคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อบกพร่องไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ

"อนึ่ง ในเหตุการณ์นี้มีข้อสังเกตว่าข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่หลายท่านได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเสียสละ กล้าหาญ จึงต้องนำเหตุการณ์นี้มาศึกษาเสนอแนะเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเช่นนี้ขึ้นอีก และการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจำนวนมากระหว่างการเคลื่อนย้ายจาก สภ.อ.ตากใบ มายังค่ายอิงคยุทธบริหารนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดถึงและไม่มีเจตนาที่จะให้เกิดเหตุการณ์ที่เศร้าสลดเช่นนี้"


ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


‘อังคณา' ขอทบทวนระบบยุติธรรม
หวังคืนความเป็นธรรมให้เหยื่อ-ครอบครัว

25 ตุลาคม 2563 อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรม 16 ปีตากใบ ทางเฟซบุ๊กส่วนตัวตอนหนึ่งว่า 16 ปีตากใบไร้ซึ่งความยุติธรรม : เมื่อเรื่องเล่าและความทรงจำคือการทวงถามถึงความยุติธรรม

"16 ปีผ่านไป แต่ภาพของการสลายการชุมนุมของประชาชนบริเวณหน้า สถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ยังคงติดตาของผู้คนจำนวนมาก ภาพของชายชาวมลายูมุสลิมที่ถูกมัดมือไพล่หลัง ถูกบังคับให้ต้องคลานไปกับพื้นดินที่ร้อนระอุ ขณะที่พวกเขากำลังอยู่ในช่วงถือศีลอด ภาพการขนย้ายประชาชนโดยให้นอนทับซ้อนกัน 4-5 ชั้น บนรถบรรทุกของทหารที่มีผ้าใบคลุมปิดทับ และมีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธควบคุมอยู่ท้ายรถโดยไม่ฟังเสียงร้องคร่ำครวญของคนที่ถูกกดทับที่อยู่ชั้นล่างของรถ จนหลายคนเสียชีวิตก่อนถึงจุดหมายปลายทาง

"ข้อมูลรายงานคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมตากใบ ระบุตัวเลขผู้ได้รับความเสียหาย โดยมีผู้เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนระหว่างการสลายการชุมนุม 7 ราย มีผู้ถูกควบคุมตัวไปสอบสวน 1,370 คน มีผู้เสียชีวิตบนรถระหว่างการเคลื่อนย้าย 78 คน มีผู้สูญหาย 7 คน นอกจากนั้นยังมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมากซึ่งหลายคนกลายเป็นผู้พิการในเวลาต่อมา


ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


"รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีตากใบ ยังได้ระบุสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนทั้ง 85 คน ความบางตอนว่า คณะกรรมการเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมตัวให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อยที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ และมุ่งเพียงปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปเท่านั้นโดยกไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดการตายเช่นนี้"

"เมื่อพิจารณาถึงวิธีการสลายการชุมนุมที่ใช้กำลังติดอาวุธ ใช้กระสุนจริง โดยเฉพาะใช้กำลังทหารเกณฑ์และทหารพรานซึ่งมีวุฒิภาวะไม่สูงพอเข้าร่วมในการสลายการชุมนุมนั้น คณะกรรมการอิสระเห็นว่าเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติที่ใช้กันตามหลักสากล"

".....ในโอกาสครบ 16 ปี เหตุการณ์ตากใบ ดิฉันเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทบทวนระบบยุติธรรมกรณีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง (atrocity crime) เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อีก และเพื่อคืนความเป็นธรรมให้เหยื่อและครอบครัว..."


ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


หนุนชำระประวัติศาตร์ ‘กรือเซะ-ตากใบ'
และในวันนี้ (23 กุมภาพันธ์) อังคณา นีละไพจิตร เคลื่อนไหวอีกครั้ง

"อังคณา" ในฐานะภรรยา สมชาย นีละไพจิตร นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมุสลิมชาวไทยที่ "หายตัวไป" ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2547 ช่วงการปกครองของทักษิณ ชินวัตร กล่าวบางช่วงบางตอนทางเฟซบุ๊กว่า

"ตามที่คุณหมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้กล่าวไว้เมื่อคืน และยังแนะนำให้บันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการเปิดเผยความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น และจะได้นำผู้กระทำผิดมาลงโทษ และคืนความเป็นธรรมให้เหยื่อ เสียดายที่คดีกรือเซะ ตากใบ อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากให้เหตุผลว่า ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าใครเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิต และญาติเองซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ก็คงไม่มีเรี่ยวแรงพอจะลุกขึ้นมาฟ้องหน่วยงานความมั่นคง


ย้อนโศกนาฏกรรม ‘กรือเซะ-ตากใบ’ กับท่าทีทักษิณ


"ปีนี้ กรณีกรือเซะตากใบครบ 17 ปี จึงมีอายุความเหลืออีกเพียง 3 ปีในการเข้าถึงสิทธิในความยุติธรรม ในขณะที่การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรมต่อเนื่องที่ไม่มีอายุความตามกฎหมายสากล แต่กรณีการบังคับสูญหายหลายคดี รวมถึงคดีสมชาย นีละไพจิตร ที่เป็นคดีพิเศษ ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็มีคำสั่งงดการสอบสวนด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ เนื่องจากไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าใครเป็นผู้กระทำผิด ขณะเดียวกัน รัฐบาลชุดนี้ก็มีความพยายามอย่างมากในการลบชื่อบุคคลสูญหายในประเทศไทยจากรายชื่อคนหายของสหประชาชาติ เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยไม่มีคนหาย

"17 ปีที่ผ่านมา จึงไร้ซึ่งความยุติธรรม และการเปิดเผยความจริง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณหมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ที่สังคมไทยควรชำระประวัติศาสตร์บาดแผลต่างๆ เสียที ทั้ง 6 ตุลา พฤษภา 35 กรือเซะ ตากใบ

"เพื่อไม่ต้องให้เด็กรุ่นใหม่ต้องย้อนกลับไปหาข้อมูลใน Google เพื่อศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้น เรื่องนี้คงต้องฝากคำถามถึงนายกฯประยุทธ์และรองฯประวิตรว่ากล้าไหม"

 




‘ประยุทธ์' ลั่น ไม่มีเวลาเล่นคลับเฮาส์

ตัดฉากกลับมาที่แอพพลิเคชั่น "คลับเฮาส์" เป็นแอพพ์ที่ใช้การสื่อสารด้วยเสียง สามารถเข้าไปฟังเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาตัวเอง หรือการสัมภาษณ์ในประเด็นต่างๆ

ต่อกรณีนี้ ช่วงเช้าที่ผ่านมา (23 กุมภาพันธ์) ผู้สื่อข่าวสอบถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก่อนการประชุม ครม. ว่าจะเล่นแอพพ์ดังกล่าวหรือไม่

นายกฯตอบว่า ไม่มีเวลาเล่น

เมื่อถามย้ำว่า จะโหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวหรือไม่ นายกฯยังกล่าวย้ำอีกว่า ไม่มีเวลา

อย่างไรก็ตาม แอพพลิเคชั่น "คลับเฮาส์" ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องสำหรับคนไทย เนื่องจากใช้บริการฟรี และยังไร้โฆษณาแทรก

 



เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : dfd
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 122.155.47.210

122.155.47.210,,122.155.47.210 ความคิดเห็นที่ 7 [อ้างอิง]
ก็แค่เค้าไม่อยากตอบ แค่นั้น คนอื่นก็ตอบแทนบ้าง ก็ไม่ฟังอยู่ดี ยังไงก็แม้วผิดคนเดียว


[ วันพุธ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19:17 น. ]
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 10 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:21 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์