ฉีดดี-ไม่ฉีดดี?ประชาชน มีทั้งมั่นใจ-ไม่เชื่อใจความปลอดภัยวัคซีน


ฉีดดี-ไม่ฉีดดี?ประชาชน มีทั้งมั่นใจ-ไม่เชื่อใจความปลอดภัยวัคซีน

วันที่ 5 ก.พ.2564 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า

 สบส.ได้สำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ทั้งเรื่องของการป้องกันตนเอง ความเชื่อต่อวัคซีนโควิด 19 และการใช้แอปพลิเคชันไทยชนะและหมอชนะ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของวัคซีนโควิด 19 การอนุมัติวัคซีนเข้ามาใช้ในประเทศไทย จะดูเรื่องของความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอให้ความมั่นใจโดยตนเป็นคนหนึ่งที่พร้อมจะฉีดวัคซีน รวมถึงในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ผู้บริหาร สธ.ก็ยกมือพร้อมที่จะฉีดเช่นกัน แม้เรามีการผ่อนปรนผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆ สิ่งสำคัญที่ต้องทำคู่กัน คือ การเข้มงวดการป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ สวมหน้ากาก 100% เมื่อออกนอกบ้านและใส่ให้ถูกต้อง ซึ่งช่วงนี้มีการใช้หน้ากากลดลง เว้นระยะห่าง ล้างมือ และใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยแจ้งเตือนได้ในเรื่องความปลอดภัย

ด้านนพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายสำรวจประชาชนเมื่อวันที่ 25-31 ม.ค. 2564 ผ่านทาง อสม.ไปสอบถาม จำนวน 56,201 คน และผ่านทางออนไลน์ 7,243 คน พบว่า ตั้งแต่ พ.ค. 2563 การ์ดเริ่มตกลงไป พอ ธ.ค.ระบาดระลอกใหม่ พฤติกรรมต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้น แต่การสำรวจครั้งล่าสุด การ์ดเริ่มตกลงไปหลังมีการคลายล็อก พฤติกรรมที่ทำได้ดีมากๆ คือการสวมหน้ากาก ล้างมือ กินร้อนใช้ช้อนกลางตัวเอง ส่วนการรวมกลุ่มทางสังคมและเดินทางออกนอกจังหวัด เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบแนวโน้มมากขึ้นเมื่อสถานกาณณ์ดีขึ้นและมีการคลายล็อก

สำหรับการสอบถามเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด 19 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการฉีดวัคซีน เหตุผลที่จะฉีดคือ ช่วยป้องกันแพร่เชื้อไปยังบุคคลรอบข้าง มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ และช่วยป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน ส่วนน้อยที่ไม่ต้องการฉีด เหตุผลของการฉีดมี 5 ประการ คือ

 1.ไม่มั่นใจความปลอดภัยของวัคซีน

2.ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนมีมากกว่าประโยชน์

3.ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตหรือป่วยอย่างรุนแรง

4.มั่นใจว่าป้องกันตัวเองเพียงพอแล้ว

และ 5.ไม่เชื่อว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิดได้ ต้องสื่อสารทำความเขาใจประชาชนมากขึ้นเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิผลต่อ

 ส่วนกลุ่มใดควรรับวัคซีนก่อน เห็นตรงกัน คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธาณณสุข โรคประจำตัวเรื้อรัง และผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี

ส่วนการใช้แอปพลิเคชันป้องกันโรคโควิด คนรู้จักมาก คือ แอปพลิเคชัน หมอชนะ และ ไทยชนะ ที่เคยใช้จะเป็น ไทยชนะ และ หมอชนะ 50% ปัจจัยที่ใช้แอปพลิเคชันเพราะมีการแจ้งเตือนระดับความเสี่ยงการติดโรคโควิด มีความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้งานสะดวก



ฉีดดี-ไม่ฉีดดี?ประชาชน มีทั้งมั่นใจ-ไม่เชื่อใจความปลอดภัยวัคซีน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:20 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์