หมอเผย โควิดกลายพันธุ์ ทำประสิทธิภาพวัคซีนลด ชี้ผลข้างเคียง
วัคซีนที่ใช้มาถึงทุกวันนี้ เป้าหมายหลัก คือ การลดเจ็บป่วย ลดการเสียชีวิต และลดการแพร่เชื้อ เพราะเมื่อไม่ป่วยไม่ก็ไม่แพร่เชื้อหรือแพร่เชื้อน้อยลง หรือหากป่วยแต่ไม่มีอาการก็แพร่เชื้อลดลง ส่วนการเห็นผลของวัคซีน ล่าสุดมีข้อมูลจากอิสราเอลที่ฉีดในประชากร 55% พบว่า คนที่เจ็บป่วยลดลงมากกว่า 30% ส่วนประเทศไทยถ้ามีการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะเห็นผลเร็วหรือไม่ เนื่องจากเรามีประชากรมากกว่า 10 เท่า อัตราการติดเชื้อยังต่ำ มีคนไข้วันละต่ำกว่าพันราย คงเห็นผลได้ช้า และเรามีมาตรการอื่นในการป้องกันการติดเชื้อด้วย แต่เราต้องฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อเพิ่มในอนาคต
นพ.ทวี กล่าวต่อว่า สำหรับผลข้างเคียงของวัคซีน เนื่องจากวัคซีนเป็นชีววัตถุ ย่อมมีผลข้างเคียงเล็กน้อย คือ ปวด บวม แดง ร้อน อยู่แล้ว เช่น แอสตราเซนเนกาพบผลปวด บวม แดง ร้อน ประมาณ 70% แต่กลุ่มที่ฉีดน้ำเกลือก็พบ 50% โดยเข็มสองพบผลข้างเคียงน้อยกว่าเนื่องจากร่างกายเคยชิน ส่วนใหญ่กินยาแก้ปวดหรือนอนพักก็หาย ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงวัคซีนของแอสตราเซนเนกาเจอ 0.7% กลุ่มฉีดน้ำเกลือเจอ 0.8% ถือว่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้น หากมีความสูญเสียถ้าพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นจากวัคซีน รัฐต้องจ่าย แต่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ว่าเกิดจากวัคซีนจริง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทำให้เกิดผลข้างเคียง เป็นปัจจัยเฉพาะตัว ไม่ทราบว่าใครจะเกิดผลข้างเคียงมากกว่า
ผลข้างเคียงรุนแรงเท่าที่ทราบ คือ ของไฟเซอร์ที่เกิดผลข้างเคียงรุนแรงช็อกชนิดไม่รู้สึกตัว (Anaphylatic shock) เจอ 11 ใน 1 ล้านโดส โมเดอร์นาเจอ 3.7 ต่อล้านโดส ถ้าเทียบกับไข้หวัดใหญ่เราเจอ 1 ต่อล้านโดส ถือว่าสูงกว่าแน่นอน แต่ต้องเก็บข้อมูลต่อไป ทั้งนี้ อาการรุนแรงของวัคซีนทั้ง 2 ตัว พบว่า 95% เกิดขึ้นในผู้หญิง และ 95% เกิดขึ้นใน 15 นาทีหลังฉีด จึงเป็นที่มาว่าต้องให้อยู่ที่หน่วยบริการหลังฉีดครึ่งชั่วโมง
ส่วนของแอสตราเซนเนกายังไม่มีข้อมูล เนื่องจากอยู่ในระยะการเริ่มฉีด ขณะที่ซิโนแวคใช้รูปแบบเชื้อตาย ที่มีการใช้มานานในไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ โปลิโอชนิดฉีด พบผลข้างเคียงต่ำ จึงค่อนข้างมั่นใจว่าผลข้างเคียงน่าจะน้อยยังไม่เห็นรายงาน แต่จากการใช้ในอินโดนีเซีย จีน และเมียนมา ประมาณ 4-5 ล้านโดส ก็กำลังขอข้อมูลว่าผลเป็นอย่างไร เพื่อขึ้นทะเบียนการใช้ในภาวะฉุกเฉินต่อไป
นพ.ทวี กล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังเตรียมระบบบริการวัคซีน หากวัคซีนมาไม่เกิน 1 สัปดาห์สามารถเริ่มฉีดได้ ซึ่งตอนนี้ยังเป็นไปตามแผน ส่วนที่ขอวัคซีนจากแอนสตราเซนเนกา 5 หมื่นโดสมาใช้ก่อน จากโควตาที่ประเทศไทยผลิต 26 ล้านโดส ต้องจับตามองต่อว่าจะโดนหางเลขหรือไม่จากปัญหาระหว่างสหราชอาณาจักรและยุโรป ส่วนที่ว่าต้องฉีดวัคซีนใหม่ทุกปีหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอด
ขณะที่ปัญหาเชื้อกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหญ่ใน 3 ประเทศ คือ อังกฤษ บราซิล และแอฟริกาใต้ พบว่าทำให้การตอบสนองต่อวัคซีนลดลง เช่น วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ศึกษาในสหรัฐอเมริกาที่เชื้อกลายพันธุ์ยังน้อย พบว่าประสิทธิภาพ 72% แต่แอฟริกาใต้ได้ 57% ซึ่งพบว่าในช่วงศึกษาวิจัยในแอฟริกาใต้ 95% เชื้อกลายพันธุ์ไปแล้ว หรือนาโนแวค ที่อังกฤษ ผล 90% ศึกษาแอฟริกาใต้ได้ 60% มีความแตกต่างของเชื้อกลายพันธุ์ 30% อาจจะก่อปัญหาการตอบสนองต่อวัคซีน
ส่วนไทยจะเจอเชื้อกลายพันธุ์ไหม ตอนนี้เรายังไม่ได้เปิดประเทศและมีการกักกันทำให้ยังไม่เจอเชื้อกลายพันธุ์ เท่าที่ดูจากข้อมูลยังไม่ก่อปัญหา อาจก่อปัญหาประเทศระบาดหนักๆ ประเทศที่ปูพรมไปก่อน 1 โดส ถ้า 4-5 เดือนข้างหน้า เชื้อกลายพันธุ์เปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ก็อาจฉีดเข็มสองด้วยเชื้อใหม่ แต่ยังไม่เริ่มทำ เป็นการคิดล่วงหน้า ซึ่งตอนนี้สหรัฐฯ เอาเลือดคนที่มีภูมิคุ้มกันมาทดลองกับเชื้อในสหรัฐฯ พบว่ายังจัดการเชื้อได้
นพ.ทวี กล่าวต่อว่า สำหรับคุณสมบัติของคนฉีด คือ ต้องอยากฉีดก่อน เพราะเป็นความสมัครใจ โดยต้องรับรู้ข้อมูลว่าเหมาะสมสำหรับตัวเองไหม การเรียงลำดับของการฉีดตามสากล คือ บุคลากรด่านหน้าทั้งการแพทย์ ความมั่นคง การกักกัน ควรได้ก่อน บางประเทศโฟกัสหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมเยอะ ออกนอกบ้าน เลี้ยงฉลอง มีโอกาสติดเชื้อแต่ไม่รุนแรงมีโอกาสเอาเชื้อไปครอบครัว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกมีประโยชน์ บางประเทศใช้มาตรการนี้ เช่น อินโดนีเซีย แต่ประเทศไทยเรานอกจากด่านหน้า เราใช้ในผู้สุงอายุเกิน 60 ปีและโรคประจำตัว ยกเว้นเรามีวัควีนเพียงพอถึงจะเปลี่ยนแนวทาง
นพ.ทวี กล่าวอีกว่า ส่วนผู้รับวัคซีนแล้วยังให้นมบุตรได้ แต่หญิงตั้งครรภ์นั้น เนื่องจากของแอสตราเซนเนกาเป็นเชื้อเป็นเราไม่ฉีดให้ ถ้าเป็นของซิโนแวคที่เป็นเชื้อตาย ตามหลักการสามารถฉีดในหญิงตั้งครรภ์ได้ แต่ยังไม่มีการทดลองในหญิงตั้งครรภ์ แต่หลายประเทศที่ศึกษาวิจัยฉีดวัคซีนไปแล้วบังเอิญตั้งครรภ์ เท่าที่ติดตามดูยังไม่พบผลข้างเคียงมาก แต่แนะนำว่ายังไม่ควรฉีด ควรรอให้ข้อมูลชัดเจนก่อน ส่วนโรคภูมิแพ้จะฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ถ้าเป็นไฟเซอร์และโมเดอร์นา ใครที่มีภูมิแพ้ สหรัฐฯ บอกว่าให้พิจารณาผลดีผลเสีย ชั่งน้ำหนักว่าจะฉีดได้ไหม เนื่องจากมีข้อมูลว่าเกิดผลข้างเคียงขึ้น
ส่วนแอสตราเซนเนกายังไม่มีข้อมูลต้องจับตาเก็บข้อมูลต่อไป สำหรับผู้ที่เคยติดโควิดแล้วต้องรับวัคซีนไหม ประเทศจีนได้นำคนติดโควิด 200 กว่าคน มาตรวจภูมิคุ้มกันหลังผ่านไปประมาณ 2 เดือนพบว่า 5% ภูมิคุ้มกันหายไปครึ่งหนึ่ง ทั่วโลกยังไม่มีใครบอกว่าคนติดแล้วยังไม่ควรฉีด เพราะการติดโควิดเชื้ออาจจะน้อย กระตุ้นให้มีภูมิไม่มาก แต่วัคซีนทำให้มีโอกาสสร้างภูมิมากขึ้น จึงไม่เป็นข้อห้าม ทุกประเทศฉีดหมด แต่ถ้าติดโควิดมาใหม่ๆ หลัง 3 เดือนถึงฉีดได้และควรฉีดซ้ำ.. นพ.ทวี กล่า