ชาวกรุงอ่วม! จ่อปรับขึ้นค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว 158 บาท


ชาวกรุงอ่วม! จ่อปรับขึ้นค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว 158 บาท

การเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะเปิดให้บริการฟรีถึงวันนี้ (15 ม.ค.) ในขณะที่การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยังไม่ได้ข้อสรุป

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกรุงเทพธุรกิจว่า การเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่กรุงเทพมหานครเปิดให้บริการฟรีมาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 ได้มีการพิจารณาแนวทางดำเนินการหลังจากนี้ โดยในวันที่ 16 ม.ค.นี้ กรุงเทพมหานครจะมีการประกาศอัตราค่าโดยสารของส่วนต่อขยาย รวมค่าโดยสารสายหลักทั้งสายสุขุมวิทและสีลม

โดยขณะนี้ กรุงเทพมหานครยังอยู่ระหว่างศึกษาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม โดยเบื้องต้นประเมินว่าจะมีเพดานราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณมาจากอัตราค่าโดยสารสายสีเขียวหลักที่เก็บสูงสุด 44 บาท และมีการจัดเก็บเพิ่มเติมในเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยอัตราค่าโดยสารที่กรุงเทพมหานครจะประกาศครั้งนี้ ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราราคาเพิ่มเติมในช่วงส่วนต่อขยายสายใหม่ ทั้งสายเหนือหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และสายใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

"เนื่องจากว่ากำหนดฟรีค่าโดยสารจะสิ้นสุดวันที่ 15 ม.ค.นี้ แต่เนื่องด้วยกฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการเดินรถจะต้องประกาศค่าโดยสารให้ผู้โดยสารทราบและเตรียมตัวก่อน 30 วัน ดังนั้นการที่ กทม.จะประกาศราคาในวันที่ 16 ม.ค.นี้ ก็จะเริ่มมีผลต่อผู้โดยสาร เริ่มจ่ายค่าโดยสารในวันที่ 16 ก.พ.2564" พล.ต.อ.อัศวิน กล่าว

อย่างไรก็ดี กรุงเทพมหานครยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราที่สูง เพดานราคา 158 บาท เนื่องจากปัจจุบันการเจรจาจัดทำราคา 65 บาทตลอดสาย ยังไม่ได้ข้อสรุป อีกทั้งกรุงเทพมหานครก็มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับเอกชนผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายดังกล่าว ซึ่งเป็นภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันว่าเพดานราคา 158 บาท แม้จะเป็นราคาที่สูง แต่เมื่อคำนวณต้นทุนทั้งหมดแล้วแล้วพบว่ากรุงเทพมหานครยังขาดทุน

ทั้งนี้ จากสถิติการให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต จากการเปิดให้บริการตั้งแต่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 125,444 เที่ยวคนต่อวัน ซึ่งในช่วงแรกที่ให้บริการมีผู้โดยสารมากกว่า 150,000 เที่ยวคนต่อวัน แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารลดลง ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80,000 เที่ยวคนต่อวัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เผยว่า ขณะนี้บีทีเอสยังไม่ได้รับแจ้งจากทางกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการถึงรายละเอียดการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสาย แต่ตามกฎหมายกำหนดว่าเมื่อมีการประกาศค่าโดยสารแล้ว ซึ่งจะต้องใช้เวลา 30 วันจึงจะมีการจัดเก็บค่าโดยสารได้ ก็คาดว่าจะได้รับแจ้งข้อมูลจากทางกรุงเทพมหานครและประกาศให้ประชาชนรับทราบภายใน 16 ม.ค.นี้

"เมื่อมีการประกาศก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะจัดเก็บค่าโดยสารได้ ดังนั้นต้นทุนการเดินทางก็จะยังเพิ่มขึ้นอยู่ ซึ่งปัจจุบันคค่าจ้างเดินรถที่บีทีเอสต้องจัดเก็บจากทางกรุงเทพมหานครมีอยู่กว่า 9 พันล้านบาทแล้ว โดยบีทีเอสต้องแจ้งอัพเดตตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นต้นทุนที่เราก็ต้องแบกรับ" นายสุรพงษ์ กล่าว

ส่วนการปรับเปลี่ยนค่าโดยสารจะต้องใช้เวลาในการปรับระบบตั๋ว 3-4 วัน รวมทั้งที่ผ่านมาเมื่อเปลี่ยนค่าโดยสารบีทีเอสจะใช้เวลาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า 30 วัน ตามข้อกำหนดของสัมปทาน



เครดิตแหล่งข้อมูล : www.bangkokbiznews.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:20 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์