กทม.เผยไทม์ไลน์ 5 บุคลากรการแพทย์ ติดโควิดใน ASQ
ซึ่งสำหรับ Timeline ผู้ป่วยทั้ง 5 รายมีรายละเอียดดังนี้
รายแรก เป็นผู้ป่วยหญิง อายุ 26 ปี
- วันที่ 1 ธ.ค. ทำงานที่ ASQ กทม.โดยรับเวรต่อกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 3 ก่อนหน้านี้
- วันที่ 2 ธ.ค. ไปสัมภาษณ์ที่รพ.ฝั่งธนบุรี โดย MRT เดินทางกลับด้วย BTS
- วันที่ 3 ธ.ค. ทำงานที่รพ.เอกชนแหล่งหนึ่งเวลา 12.00 น. เริ่มมีอาการตัวร้อน, เวลา 19.00 น. มารพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เพื่อเก็บตัวอย่างทางห้องปฎิบัติการ
- วันที่ 4 ธ.ค. เข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง, เวลา 19.00 น.ผลการตรวจพบเชื้อโควิด-19
- วันที่ 2 ธ.ค. ทำการเก็บตัวอย่างแขก และสอนงานผู้ป่วยยืนยันรายที่ 4 โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยที่ ASQ กทม. และไปบ้านญาติที่จ.ฉะเชิงเทรา โดยรถยนต์ส่วนตัว
- วันที่ 3 ธ.ค. ทำงานที่ ASQ กทม. ส่งผู้ป่วยยืนยันเข้า รพ.ที่รถพยาบาล
- วันที่ 4 ธ.ค. เริ่มมีอาการ มีน้ำมูก ตัวร้อน, เวลา 17.00 น. ไปเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ ASQ กทม. หลังจากนั้นเข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ผลการตรวจพบเชื้อโควิด-19
- วันที่ 2 ธ.ค. มารับคนจีน 16 เพื่อเข้า ASQ กทม. โดยพบผู้ป่วยยืนยันรายที่ 1 ร่วมปฎิบัติหน้าที่
- วันที่ 3 ธ.ค. ปฎิบัติงาน ASQ กทม.
- วันที่ 4 ธ.ค. ปฎิบัติงาน ASQ กทม. เวลา 19.00 น. เริ่มมีอาการคันคอและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ ASQ กทม.
- วันที่ 6 ธ.ค. เข้ารับการรักษา ณ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ผลการตรวจพบเชื้อ
รายที่ 4 เป็นผู้ป่วยหญิง อายุ 25 ปี
-วันที่ 27 พ.ย. กินข้าวและนอนพักด้วยกันกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 2 เข้าไปวัดไข้แม่กับลูกสาวชาวรัสเซีย (+) ที่นอนหลับอยู่บนเตียง
- วันที่ 28 พ.ย. ปฎิบัติงานที่ ASQ กทม. และรับประทานอาการกลางวันกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 1 และ 2 (ซื้ออาหารกลางวันที่ตลาดวัดแขก โดยสวมหน้ากากอนามัย)
- วันที่ 29 พ.ย.เช้าเริ่มมีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว
- วันที่ 30 พ.ย. เริ่มมีน้ำมูก คัดจมูก
- วันที่ 1 ธ.ค. เริ่มไอ มีเสมหะ อาการมากสุด
- วันที่ 2 ธ.ค. ปฎิบัติงานที่ ASQ กทม.กับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 2 พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน(ส้มตำ)
- วันที่ 5 ธ.ค. ไปเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการท้องเสีย
- วันที่ 6 ธ.ค. ผลการตรวจพบเชื้อโควิด-19
- วันที่ 3 ธ.ค. ทำงานที่ ASQ กทม.กับเจ้าหน้าที่ 1 คน รับประทานอาหารร่วมกัน
- วันที่ 4 ธ.ค. ไป SWAB ที่ ASQ กทม.พร้อมผู้ป่วยยืนยันรายที่ 2 และเวลา 15.00-23.00 น.ขึ้นเวรที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งในแผนก ER
- วันที่ 5 ธ.ค. ไปเก็บตัวอย่างที่ห้องปฎิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 เนื่องจากพบว่าผู้ร่วมงานเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
- วันที่ 6 ธ.ค. ผลการตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง
1. ติดเชื้อจากผู้ที่ถูกกักกัน หรือ
2. ติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมของสถานที่กักกัน หรือ
3. ติดเชื้อระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกันเอง
โดย กทม. ร่วมกับกรมควบคุมโรค ทำความสะอาดสถานที่พักอาศัยของผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ผู้ติดเชื้อก็ทราบถึงความเสี่ยงของตนเองที่มีโอกาสติดเชื้อสูงจากการดูแลคนที่เข้ามากักกันตัวจึงระวังตัวเองไม่พบผู้คนมากนักอยู่แล้ว
การติดตามผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 1 + 4 ราย แล้ว จึงขอให้ทุกคนทำกิจกรรมที่มีโอกาสแพร่เชื้อด้วยความระมัดระวัง และที่สำคัญเมื่อมีอาการเพียงเล็กน้อยก็รีบไปตรวจ covid-19 ทันที
หากมีรายละเอียดเพิ่มเติม กทม. จะชี้แจงให้ทราบต่อไป ในช่วงเวลานี้การแพร่ระบาดของ กทม. หากมีการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน หรือไม่กี่ราย คาดว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์นี้เพื่อรอวัคซีนได้
"แต่เหตุการณ์เดียวที่จะทำให้เกิดการระบาดระลอกสอง super spreader ก็คือการแพร่ระบาดในสถานที่ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมาก ดังนั้น ต้องขอให้สถานที่เสี่ยงที่มีการรวมตัวของคนเยอะๆ ให้ความร่วมมือทำตามมาตรการและคำแนะนำของ กทม. อย่างเคร่งครัด หากพวกเราทุกคนสามารถควบคุมไม่ให้เกิดเหตุการณ์ super spreader ได้ คาดว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดละลอกสองหรือหากระบาดก็จะไม่รุนแรง และอย่าลืมป้องกันตัวเอง สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง" โฆษกกทม.กล่าว