พนักงาน “ธ.กรุงไทย” พ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามแบงก์


พนักงาน “ธ.กรุงไทย” พ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามแบงก์

ภายหลังจากธนาคารกรุงไทย ได้รับหนังสือจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งแจ้งให้ธนาคารทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบข้อหารือของกองทุนฯ ที่ขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานภาพของกองทุนฯ และธนาคารกรุงไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ธนาคารกรุงไทย ไม่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (2) และ (3) ของบทนิยามคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ทำหนังสือรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ โดยระบุว่า การเปลี่ยนสถานภาพของธนาคารตามความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารและต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจหลายฉบับ ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ หากได้ความชัดเจนแล้วธนาคารจะได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบในโอกาสต่อไป

โดยธนาคารได้ศึกษาผลความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นด้านคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของธนาคารจนได้ข้อยุติว่า โดยผลของความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบกับการมีผลบังคับใช้ของพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและการบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562



ทั้งนี้ ส่งผลทำให้กรรมการ ผู้บริหารสูงสุด ตลอดจนพนักงานของธนาคาร ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 สำหรับผลกระทบด้านกฎหมายฉบับอื่น ๆ ธนาคารจะเรียนแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปเช่นกัน

นายประภาส คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.ในฐานะที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ซึ่งธนาคารกรุงไทย ก็เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ สคร.ดูแล แต่ในขณะนี้เมื่อทางกฎหมาย กรุงไทยได้พ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ทราบว่าทางกรมบัญชีกลางจะออกระเบียบใหม่ เพื่อให้หน่วยงานราชการยังสามารถทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารกรุงไทยได้ต่อไป โดยไม่ผิดระเบียบแต่อย่างใด

พนักงาน “ธ.กรุงไทย” พ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามแบงก์


สำหรับผลกระทบด้านกฎหมายฉบับอื่นๆ ธนาคารจะเรียนแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปเช่นกัน

โดยสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 คือ คำนิยามของคำว่ารัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมายความว่า

1.องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ

2.บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมีทุนรวมทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

3.บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตาม (1) หรือ (2) หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) และ (2) รัฐวิสาหกิจตาม มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

พนักงาน “ธ.กรุงไทย” พ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามแบงก์


ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ในกรุงไทย ?
  
ราคาในตลาดหุ้นของธนาคารกรุงไทย (KTB) ณ วันที่ 7 พ.ย. 2563 อยู่ที่ 9.15 บาท มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 11 อันดับเเรก ดังนี้

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของธนาคารกรุงไทย คือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งถือหุ้นอยู่จำนวน 55.07% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกิน 50% ของกรุงไทยนั้น มีสถานะ ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยวินิจฉัยแล้วในปี 2543 ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และธนาคารกรุงไทย มีสถานะเป็น "รัฐวิสาหกิจ" แต่ต่อมามีการปรับปรุง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2561 และมีการใช้พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ 2561 และมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในบทนิยม "รัฐวิสาหกิจ" ใหม่

ล่าสุดในเดือนต.ค. 2563 หลังจากกองทุนฟื้นฟูฯ ขอให้วินิฉัยว่ามีฐานเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ รวมทั้งสถานภาพของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" มีการนิยามในกฎหมายหลายฉบับและมีความแตกต่างกัน

พนักงาน “ธ.กรุงไทย” พ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามแบงก์


คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาแล้ว มีความเห็นโดยสรุปดังนี้

1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามคำนิยาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2561 กำหนดให้ ธปท.เป็นหน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหน่วยงานในธปท.

2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่ได้เป็น "หน่วยงานรัฐ" ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ เนื่องจากไม่ได้รับเงินงบประมาณ หรือ รายจ่ายอุดหนุนจากงบประมาณ เนื่องจากได้รับเงินจากอำนาจหน้าที่ของกองทุนฯ เองและได้รับการจัดสรรจากธปท.

3) ธนาคารกรุงไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกองทุนถือหุ้น 55.07%

4) ประเด็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น กฤษฎีกาไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่าต้องปฏิบัติตามประกาศของป.ป.ช.อยู่แล้ว

5) ประเด็นเรื่องการมองฉันทะ หรือ มอบอำนาจให้กระทรวงการคลังได้หรือไม่นั้น สามารถดำเนินการได้ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.มหาชนจำกัด 2535 และการกำกับดูแลนั้นต้องทำผ่านกลไกคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย


พนักงาน “ธ.กรุงไทย” พ้นสภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามแบงก์

เครดิตแหล่งข้อมูล : positioningmag.com  /: www.pptvhd36.com




เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:20 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์