ไขข้อสังสัย บัตรทอง30บาท ที่หลายคนยังไม่รู้! อ่านให้เข้าใจได้ที่นี่
1. นโยบายทื่ว่านี้ เริ่มใช้ใน กทม และปริมณฑล ยังไม่รวมถึง ตจว อื่นๆ
2. นโยบายนี้ ไอ้ที่บอกว่า รักษาที่ไหนก็ได้ เขาหมายถึง สถานบริการระดับปฐมภูมิ เบื้องต้นมี หน่วยบริการชุมชนอบอุ่น คลินิคชุมชนอบอุ่น (ก็ประมาณ รพ สต นั่นล่ะ) ไม่ได้รวมถึง รพ ใหญ่ๆ เช่น รพ จังหวัด รพ ศูนย์ อย่าง รามา ศิริราช ราชวิถี แบบนั้นไม่เกี่ยว ดังนั้นจะเดินหิ้วยาไปหาหมอที่ศิริราช รามา แล้วบอกว่าขอย้ายมารักษาที่นี่ ตามนโยบายรักษาทุกที่ ไม่ได้นะเธอว์ เพราะที่นั่นไม่ใช่ระดับปฐมภูมิ
3. ฝากถึงพ่อแม่พี่น้องที่จะย้ายสถานที่รับบริการตามนโยบายนี้ว่า อย่าย้ายบ่อย โดยเฉพาะคนเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด มันต้องใช้เวลาในการปรับยา ปรับไลฟ์สไตล์ ปรับการคุมอาหารออกกำลังกาย บางคนหมอไม่เน้นจ่ายยาเยอะ แต่จะพยายามให้คนไข้ปรับแบบนี้ ซึ่งใช้เวลาเยอะกว่า แต่ยั่งยืนกว่า แต่ถ้าคนไข้ไม่เข้าใจแล้วพอเห็นว่า อ้าว น้ำตาลไม่ลง ความดันไม่ลง กูย้ายดีกว่า พอไปเจอสถานบริการที่ใหม่ก็ต้องเริ่มกันใหม่ เสียเวลาโดยใช่เหตุ แล้วถ้าไปเจอแบบจ่ายยาเยอะๆ ไม่ค่อยแนะนำเรื่องออกกำลังกายคุมอาหาร คนไข้อาจจะถูกใจ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องดีในระยะยาวซักเท่าไหร่ ควรปรึกษา จนท ก่อนย้ายสถานบริการดีกว่า ถ้าไม่สะดวกไม่ถูกใจจริงๆก็ย้ายได้เลย แต่ถ้าตรงนั้นไปมาไม่ลำบาก แต่อยากย้ายเพราะไม่ถูกใจที่หมอไม่จ่ายยาตามที่ต้องการ อันนี้อย่าเลย (เคสแบบนี้มีเยอะมากด้วยนะจะบอกให้)
4. ส่วนประเด็นเรื่องไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เขาหมายถึง กรณีเคสแอดมิท ซึ่งอันนี้ดี ต้องชม เพราะระบบที่ผ่านมาจะเป็นแบบ สมมุติ ลุงA ไม่สบายแล้วอยู่ในเมืองพอดี ก็เลยแอดมิทในรพ จังหวัด แล้วจะใช้สิทธิสามสิบบาท ก็ต้องให้ญาตินั่งรถกลับไปที่อำเภอที่ตัวเองอยู่ แล้วไป รพ ชุมชนให้หมอออกใบส่งตัวให้ แล้วเอากลับมาที่ รพ จังหวัดอีกที ยุ่งยากตายห่า อันนี้ควรแก้ไขนานละ ซึ่งการแก้ไขในนโยบายใหม่ที่ยกเลิกอันนี้ไปเลยแล้วใช้ออนไลน์แทนถือว่าดีมาก คนไข้จะสะดวกขึ้นเยอะ
5. แต่ไม่เกี่ยวกับ กรณี เคสไม่สบาย ไป รพ แล้วหมอคิดว่าต้องส่งตัวไปเจอหมอเฉพาะทาง หรือส่งไป รพ ที่มีความพร้อมมากกว่า แบบนั้นยังต้องใช้ใบส่งตัวอยู่ดี (แต่ในอนาคตถ้าเปลี่ยนอันนี้เป็นออนไลน์หมดจะดีมาก)
6. แต่จากข้อ 5 มีข้อยกเว้น คือกรณีเป็นโรคมะเร็ง เขาปรับระบบใบส่งตัวเป็นออนไลน์แล้ว จะได้สะดวกขึ้น
ดังนั้นคนที่อ่านข่าวเมื่อเช้า ขอให้เข้าใจตามนี้ จะได้ใช้นโยบายใหม่ที่ว่าอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดความสับสน "
ทางด้าน นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ยังได้โพสต์เฟซบุ๊กให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "คลายล็อคบัตรทอง รักษาได้ทุกที่ "ไม่จริง" ความเข้าใจผิดที่ต้องรีบบอก
"คุณหมอครับ ครั้งหน้าลุงจะไปรับยาปวดเข่าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้เลยนะครับ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัวด้วย สุดยอดเลยนายกเรา" ผมละเงิบไปเลย ??????
มีผู้ป่วยหลายคน ถามหมอที่โรงพยาบาลว่า " ต่อไปป้าจะไปรับยาเบาหวานที่จุฬารามาได้แล้วใช่ไหม" "ต่อไปป้าเป็นหวัดหรือปวดหลัง เดินตรงไปเข้าราชวิถีเลยได้ไหม" "แบบนี้คนไข้ตามโรงพยาบาลอำเภอก็สามารถเดินไปพบแพทย์เฉพาะที่โรงพยาบาลจังหวัดเลยได้ละสิ"
หมอบ้านนอกอย่างพวกเราก็มึนงงกับการประชาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
ความจริงคือ ผู้ป่วยสามารถไปรับบริการการแพทย์ปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ คือจะไปโรงพยาบาลอำเภอไหนก็ได้ ไป รพ.สต.ไหนก็ได้ หรือจะไปคลินิกอบอุ่นไหนใน กทม.ก็ได้ (เดิมไม่ได้) แต่จะเดินข้ามห้วยตรงไปโรงพยาบาลการแพทย์เฉพาะทางไม่ได้นะครับ คือจะเดินไปศิริราช ราชวิถี รพ.อุดร รพ.หาดใหญ่ รพ.ลำปาง โดยตรงไม่ได้ ต้องผ่านหน่วยบริการปฐมภูมิดูแลรักษาก่อน หากเกินขีดความสามารถก็ค่อยส่งต่อด้วยใบส่งตัวอยู่ดี
ยกเว้นหากเป็นผู้ป่วยใน หรือได้รับการรับตัวเข้าเป็นผู้ป่วยใน หรือเป็นมะเร็ง อันนี้ไม่ต้องมาเอาใบส่งตัวย้อนหลัง ซึ่งอันหลังนี้ถูกต้องใช่เลย
ขอให้ทาง สธ.และ สปสช. ในฐานะที่มีผู้บริหารสูงสุดคนเดียวกันคือ รมต.อนุทิน ชาญวีรกูล ร่วมกันทำความเข้าใจให้ชัดเจนและถูกต้อง อย่าให้คนไทยเข้าใจผิด จนต้องมาตามแก้แถมถูกด่าอีกครับ
คนที่จะถูกด่าและต้องเหนื่อยตอบคำถามว่า "ทำไมไม่ได้ ก็นายกบอกว่าได้" ก็คือแพทย์พยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ นั่นแหละครับ
ปล. ผมเป็นคนมีหมวกหลายใบ วันนี้ผมใส่หมวกโพสต์ในนาม "ประธานชมรมแพทย์ชนบท" ครับ
"