1. วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีราชดำริ สถานีชิดลม สถานีสยาม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีราชเทวี และสั่งปิดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสถานีสามย่าน ทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.1 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 50,000 คน
1.2 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีเพิ่มขึ้นประมาณ 8,000 คน เหตุที่เพิ่มขึ้นก็เพราะว่าผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้เอ็มอาร์ทีแทนบีทีเอสที่ถูกปิดหลายสถานี ในขณะที่เอ็มอาร์ทีถูกปิดเพียงสถานีเดียวเท่านั้น
2. วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีทุกสถานี ทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
2.1 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 250,000 คน
2.2 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีลดลงประมาณ 150,000 คน
3. วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพหลโยธิน 24 สถานีห้าแยกลาดพร้าว สถานีหมอชิต สถานีอารีย์ สถานีสนามเป้า สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีพญาไท สถานีราชเทวี สถานีอโศก สถานีอุดมสุข สถานีบางนา สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่ และสั่งปิดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสถานีหัวลำโพง สถานีลุมพินี สถานีสุขุมวิท สถานีพหลโยธิน และสถานีจตุจักร ทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
3.1 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 150,000 คน
3.2 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีลดลง 80,000 คน
4. วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรมป่าไม้ สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถานีเสนานิคม ทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 85,000 คน ไม่มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที
รวมจำนวนผู้โดยสารลดลงในช่วงที่สั่งปิดรถไฟฟ้าบางสถานีและบางช่วงเวลาระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2563 ประมาณ 757,000 คน ผมประเมินพบว่าค่าโดยสารเฉลี่ยเท่ากับ 30 บาท/คน ดังนั้น รายได้จากค่าโดยสารลดลงประมาณ 22.71 ล้านบาท
จำนวนเงิน 22.71 ล้านบาท ไม่เป็นภาระหนักของรัฐที่จะต้องชดเชยให้เอกชนที่รับสัมปทาน แต่เป็นภาระหนักของรัฐที่จะต้องชี้แจงให้พี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเข้าใจว่าเหตุใดรัฐจึงสั่งให้ปิดรถไฟฟ้าจนทำให้เขาเดือดร้อน ต้องเสียทั้งเงินและเวลาเพิ่มขึ้น เนื่องจากแม้ว่ารัฐได้สั่งให้ปิดรถไฟฟ้าแล้วก็ตาม แต่ผู้เข้าร่วมชุมนุมก็ยังคงมีมากอยู่ดี
ดังนั้น รัฐควรทบทวนว่าการสั่งปิดรถไฟฟ้าเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือไม่? #ปิดรถไฟฟ้า