เตือนชาว จ.พิษณุโลก คาดน้ำจะไหลผ่านสูง ในวันที่ 27 ส.ค.
ทั้งนี้ นายนราพัฒน์ ได้มาตรวจดูการระบายน้ำของประตูระบายน้ำคลองบางแก้วที่ระบายน้ำจากแม่น้ำยมสายเก่าหรือคลองเมม ลงสู่แม่น้ำยมสายหลักที่อำเภอบางระกำ ขณะนี้เครื่องจักรกำลังดำเนินการกำจัดผักตบชวาและกิ่งไม้ที่ขวางทางเดินน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกเดินเร็ว
นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานที่ 3 พิษณุโลก เปิดเผยว่า น้ำจากแพร่ได้ผ่านจุดสูงสุดที่จังหวัดสุโขทัยมาแล้วเมื่อวานนี้ ปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,499 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะนี้กำลังไหลเข้าสู่แม่น้ำยมสายเก่าและแม่น้ำยมสายหลัก จากการประเมินสถานการณ์ ณ เวลานี้ไม่น่าเป็นห่วงมากนักเนื่องจากทางตอนบนสภาพน้ำฝนเริ่มลดลงแล้วและยังไม่มียอดน้ำมาเติมเพิ่มเติมขณะนี้กำลังประชุมร่วมกับเกษตรกรเพื่อจะนำมวลน้ำก้อนนี้ที่มีอยู่ประมาณ 100 กว่าล้านลบ.ม. เข้าไปเก็บไว้ในทุ่งบางระกำโมเดลส่วนสถานการณ์แม่น้ำน่านของ จ.พิษณุโลกก็ขึ้นสูงสุดมาแล้วอยู่ที่ประมาณ 6.5 เมตรสถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วง
กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำ ดังนี้ 1.ใช้ ปตร.หาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย บริหารจัดการและหน่วงน้ำไว้
2.ควบคุม ปริมาณน้ำไหล ผ่าน ปตร.หาดสะพานจันทร์ ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก ไม่เกิน 800 cms. โดยให้ผ่าน Y.4 อ.เมือง สุโขทัย ไม่เกิน 550 cms
3.ผันน้ำผ่าน ปตร.คลองหกบาท 350 cms โดยผันผ่านแม่น้ำยมสายเก่า ผ่านคลองเมม-คลองบางแก้ว ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก 240 cms และผันไปคลองยม-น่าน ลงสู่แม่น้ำน่าน 110 cms.
4.ผันน้ำผ่าน ปตร.น้ำโจน (ฝั่งขวาแม่น้ำยม) อัตรา 30 cms. ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ได้แก่
2.พื้นที่ติดกับแม่น้ำยมสายเก่า-คลองเมม-คลองบางแก้ว ในเขต อ.พรหมพิราม อ.เมือง อ.บางระกำ ได้มีการเร่งการระบายน้ำผ่าน ปตร.บ้านใหม่โพธิ์ทอง, ปตร.วังขี้เหล็ก และ ปตร.บางแก้ว ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก พร้อมทั้ง รับน้ำเข้าคลองสาขาแก้มลิงต่างๆ เพื่อเก็บกักน้ำ และเตรียมความพร้อมพื้นที่ทุ่งลุ่มต่ำเพื่อรับน้ำเข้าทุ่ง ตามโครงการบางระกำโมเดล หากเกิดภาวะวิกฤต โดยระดับน้ำ ที่ ปตร.บางแก้ว อ.บางระกำ ปัจจุบัน มีระดับ 38.78 ม.รทก ต่ำกว่าระดับวิกฤต 2.22 เมตร (ระดับวิกฤต 41.00 ม.รทก.)