อย.เก็บตัวอย่าง‘ซูชิเรืองแสง’ส่งตรวจ ชี้จุลินทรีย์ปนเปื้อน ย้ำไม่กินอาหารดิบ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ อย.เก็บตัวอย่าง‘ซูชิเรืองแสง’ส่งตรวจ ชี้จุลินทรีย์ปนเปื้อน ย้ำไม่กินอาหารดิบ
นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีซูชิที่มีแสงสีฟ้าสะท้อนออกมาจากตัวกุ้งว่า
การเรืองแสงของกุ้งและอาหารทะเลเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหารทะเลและสามารถผลิตสารเรืองแสงได้
โดยเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ถ้าอาหารทะเลถูกทำให้สุก แต่ถ้ายังดิบหรือไม่ได้ฆ่าเชื้อให้หมด และเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้แบคทีเรียเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วจนเรืองแสงได้
นพ.พูลลาภกล่าวว่า อย.กำหนดให้สถานประกอบการผลิตต้องผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ GMP ซึ่งขณะนี้ อย.ได้ตรวจสอบสถานที่จำหน่าย และเก็บตัวอย่างวัตถุดิบรวมถึงผลิตภัณฑ์ซูชิดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการแล้ว หากพบการกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
"ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากสถานที่จำหน่ายที่เตรียมอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ ควบคุมอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษาไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส และควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารดิบ เพราะเสี่ยงต่อการได้รับจุลินทรีย์ก่อโรค อาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง ลำไส้อักเสบ ขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารในภาชนะบรรจุต้องแสดงฉลาก เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน ข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร และข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์บนฉลาก" รองเลขาธิการ อย.กล่าว
การเรืองแสงของกุ้งและอาหารทะเลเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหารทะเลและสามารถผลิตสารเรืองแสงได้
โดยเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ถ้าอาหารทะเลถูกทำให้สุก แต่ถ้ายังดิบหรือไม่ได้ฆ่าเชื้อให้หมด และเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้แบคทีเรียเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วจนเรืองแสงได้
นพ.พูลลาภกล่าวว่า อย.กำหนดให้สถานประกอบการผลิตต้องผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ GMP ซึ่งขณะนี้ อย.ได้ตรวจสอบสถานที่จำหน่าย และเก็บตัวอย่างวัตถุดิบรวมถึงผลิตภัณฑ์ซูชิดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการแล้ว หากพบการกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
"ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากสถานที่จำหน่ายที่เตรียมอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ ควบคุมอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษาไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส และควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารดิบ เพราะเสี่ยงต่อการได้รับจุลินทรีย์ก่อโรค อาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง ลำไส้อักเสบ ขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารในภาชนะบรรจุต้องแสดงฉลาก เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน ข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร และข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์บนฉลาก" รองเลขาธิการ อย.กล่าว
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น