กทม.ออกประกาศ! สั่งปิด ผับ-บาร์-อาบอบนวด ไปจนถึง 30 มิ.ย.


กทม.ออกประกาศ! สั่งปิด ผับ-บาร์-อาบอบนวด ไปจนถึง 30 มิ.ย.

วันนี้ (1มิ.ย.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก โดยข้อความระบุว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง กรุงเทพมหานครจึงได้มีมาตรการผ่อนปรนระยะ 3 โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป ตามรายละเอียดดังนี้

ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 และผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรม บางอย่างได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้ว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ข้อกำหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25พฤษภาคม2563 และข้อกำหนด (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 29 พฤษภคม 2563 ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ นั้น

เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ข้อกำหนด (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ พฤษภาคม 2563 ข้อกำหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 และข้อกำหนด (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 13/2563 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 จึงให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรม บางอย่างได้ ดังต่อไปนี้

1. ปิดสถานที่
-สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ
-สวนน้ำ สวนสนุก
-สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
-โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด
-สถานที่เล่นเกม
-ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
-สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
-สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (ยกเว้นที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)
-สนามมวย
-โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิ้ม)
-สนามม้า
-สถานประกอบกิจการอาบน้ำ
-สถานประกอบกิจการอาบอบนวด
-สนามแข่งขันทุกประเภท
-สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะ ทำนองเดียวกัน
-สนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน

2. สถานที่ที่ได้รับการผ่อนคลายแต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของทางราชการ
-ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ แต่ยังคงห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในสถานที่ดังกล่าว
-ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้จนถึง ๒๑.00 นาฬิกา
-ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ
-ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม
-ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด ๒.๖ ร้านค้าปลีก ค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่
-ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดดำเนินการโดยจำกัด เวลาการให้บริการในร้านไม่เกินรายละสองชั่วโมงและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
-สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง
-สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
-คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร้านทำเล็บ
-สนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
-สนามกีฬา
-สวนสาธารณะ ลาน
-พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา
-สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
-สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส
-สถานที่หรือสนามออกกำลังกายในร่ม
-สระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม
-สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์
-สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
-สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย
-สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ๒.๒๓ สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ
-สระน้ำ
-สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง
-โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ
-สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์
-อาคารสถานที่ของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา

3. สถานที่ได้รับผ่อนคลายตามข้อ 2 สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้

ตามมาตรการผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม2563 ข้อ 1 ข้อกำหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ข้อ 3 และข้อกำหนด (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ข้อ 2 และข้อ 3

4. มาตรการป้องกันโรค

4.1 สถานที่ได้รับการผ่อนคลาย ตามข้อ 2 ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค
- คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 4/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16พฤษภาคม 2563 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19) ที่ 4/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563

- มาตรการป้องกันโรคตามที่กรุงเทพมหานครกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 (ยกเว้น ข้อ 1 ก. ในส่วนการจัดระบบการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บคคล) ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร หรือ กรณีมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) น้อยกว่า 1.5 เมตร ต้องจัดให้มีฉากกั้นระหว่างที่นั่ง (บุคคล) แต่ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) ต้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร) มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการ กำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่ เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้

4.2 สถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ตามที่ทางราชการกำหนด และข้อ 11 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 15 มีนาคม 2563

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2545 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 4 จะถูกสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
พลตำรวจเอก (อัศวิน ขวัญเมือง) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร



กทม.ออกประกาศ! สั่งปิด ผับ-บาร์-อาบอบนวด ไปจนถึง 30 มิ.ย.


กทม.ออกประกาศ! สั่งปิด ผับ-บาร์-อาบอบนวด ไปจนถึง 30 มิ.ย.


กทม.ออกประกาศ! สั่งปิด ผับ-บาร์-อาบอบนวด ไปจนถึง 30 มิ.ย.

เครดิตแหล่งข้อมูล : tnnthailand


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:18 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์