สธ. เปิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ยาต้านบางคน!


สธ. เปิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ยาต้านบางคน!


นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ที่พึ่งเกิดขึ้น 3 เดือน ยังไม่มีการรักษาที่เป็นมาตรฐานทุกสูตรยาที่คิดค้นขึ้นมา คือมาจากข้อมูลผลการรักษาในหมู่คนมาก และมาจาการศึกษาในกลุ่มคนเล็กๆ แล้วมีแชร์ข้อมูลผลการศึกษาระหว่างแพทย์



สธ. เปิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ยาต้านบางคน!


สำหรับแนวทางการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มี 3 กรณี แบ่งเป็น อาการน้อย อาการปานกลาง และ อาการรุนแรง โดย "อาการน้อย" มีไข้อยู่ 2-3 วัน แพทย์เอ็กซเรย์ปอดแล้วปกติ จะทำการรักษาตามอาการเป็นหลัก ทุกรายที่ป่วยติดเชื้อ จะแอดมิทที่โรงพยาบาลก่อน แพทย์ดูอาการอย่างน้อย 5-7 วัน

หากอาการดีขึ้น จะมีการพิจารณาย้ายผู้ป่วยที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานที่พักที่รัฐจัดเตรียมไว้ให้ โดยมีบุคลกรทางการแพทย์คอยดูแล จนกระทั่งคนไข้อยู่ครบ 14 วัน จะอนุญาตให้กลับบ้าน




สธ. เปิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ยาต้านบางคน!


ส่วนกรณีที่มี "อาการปานกลาง" เช่น มีอาการค่อนข้างหนัก หรือ มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น มีเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคปอด กลุ่มนี้จะถูกรักษาโดยการให้ยา แบ่งเป็น สูตรยาต้านไวรัสเอดส์ 2 ชนิด ร่วม และยาควอโรคริน เป็นหลัก โดยจะให้นอนโรงพยาบาลจนครบ 14 วัน คนไข้ดีขึ้นจนปอดปกติ ผลแล็บเป็นลบก็จะให้กลับบ้าน

ส่วน กรณีที่มี "อาการรุนแรง" แพทย์ยังคงให้ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาฟาวิลิราเวียร์ ร่วมกับ ยาชนิดอื่น พร้อมใช้เครื่องช่วยหายใจ ร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการพยุงอาการ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปที่อื่น




สธ. เปิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ยาต้านบางคน!


สำหรับสูตรยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยขณะนี้ มี 4 สูตร คือ

สูตร 1 ยาต้านไวรัส HIV (ชนิดที่ 1) ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

สูตรที่ 2 ยาต้านไวรัส HIV (ชนิดที่ 1) ร่วมกับยาต้านไวรัสจากประเทศจีน

สูตรที่ 3 สูตรยาต้นไวรัส HIV (ชนิดที่ 2) ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ และยาควอโรควิน

สูตรที่ 4 สูตรยาต้านไวรัส HIV (ชนิดที่ 2) ร่วมกับยาต้านไวรัสจากประเทศจีน และยาควอโรคริน




สธ. เปิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ให้ยาต้านบางคน!


อธิบดีกรมการแพทย์ ย้ำไม่ใช้ผู้ป่วยติดเชื้อทุกราย จะได้รับยาต้านไวรัส แต่แพทย์จะพิจารณาตามอาการของแต่ละบุคคล

ส่วน กรณีผู้ป่วยอาการน้อย แพทย์จะไม่ค่อยเข้าห้องผู้ป่วย เพื่อลดการสัมผัสผู้ป่วย และลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยแพทย์จะถูกจัดสรรไปดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักกว่า แต่ย้ำว่า ถ้าระหว่างการรักษา พักฟื้น ผู้ป่วยมีปัญหา สามารถติดต่อกับแพทย์ พยาบาลได้ตลอดเวลา

ขณะที่ ยาในการรักษา ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้สำรองยา รวมถึงสำรอง ยาฟาวิพิลาเวียร์ 40,000เม็ด ในการดูแลผู้ป่วยได้ โดยจะกระจายไปยัง โรงพยาบาลราชวิถี 10,000 เม็ด ซึ่งเป็นศูนย์รวมการกระจายผู้ป่วยและกระจายยา กรมการแพทย์ 10,000 เม็ด รวมถึงกระจายไปยังโรงพยาบาลศูนย์ ในการสำรองดูแลผู้ป่วย ซึ่งองค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้กระจาย

 

 

 




เครดิตแหล่งข้อมูล : TNN16


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:16 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์