‘กรมศิลป์’ ขอแจง ถอดภาพเขียนสี เป็นเหมืองหิน!
1.ประกาศดังกล่าว ไม่ใช่การประกาศเพิกถอนภาพเขียนสีเขายะลาออกจากการเป็นแหล่งโบราณคดี แต่เป็นการประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานโดยรอบภาพเขียนสีเขายะลา โดยภาพเขียนสีเขายะลายังคงสภาพเป็นโบราณสถานเหมือนเดิม และได้รับการปกป้องตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504
2.ไม่ใช่การเปลี่ยนพื้นที่โบราณสถานให้เป็นแหล่งสัมปทานเหมืองหิน เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นแหล่งสัมปทานเดิมอยู่ก่อนแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี ก่อนที่จะประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และบริเวณดังกล่าวไม่ใช่ตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งภาพเขียนสี ทั้ง 2 แห่ง
3.กรณีที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า การสัมปทานแร่หินในบริเวณใกล้เคียง มีผลทำให้ภาพเขียนสี เขายะลา เสียหายไปแล้วหนึ่งจุดนั้น ผลจากการตรวจสอบ โดยสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 1 สงขลา พบว่าการพังทลายดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ.2551 จากรอยเลื่อน และการกัดเซาะของน้ำใต้ดิน ทำให้รอยแตกขยายกว้างขึ้น
นายประทีป กล่าวต่อว่า 4.เหตุผลการประกาศแก้ไขเขตที่ดินฯ ในครั้งนี้ มีที่มาจากการขอความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม จังหวัดยะลา