“พลาสติกย่อยสลายได้” ไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ “พลาสติกย่อยสลายได้” ไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติ
อย่างที่หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า ถุงพลาสติกหูหิ้วทั่วๆ ไปต้องใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า 450 ปี เมื่อบวกกับคุณสมบัติที่บาง น้ำหนักเบา และพฤติกรรมการใช้งานของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะใช้แค่ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทำให้ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกหลุดรอดลงสู่มหาสมุทรมากถึง 8 ล้านตัน
เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงเกิดการคิดค้น "ถุงพลาสติกย่อยสลายได้" ขึ้นมา โดยใช้วิธีการเติมสารบางชนิดลงไป เพื่อทำให้ถุงพลาสติกสลายตัวเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อโดนความชื้น แสงแดด หรือความร้อน เรียกว่า Biodegradable Plastic
แต่การแตกตัว ไม่เท่ากับการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์
เพราะในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ การแตกตัวของ Biodegradable Plastic เกิดจากจุลินทรีย์ไปย่อยสลาย "แป้ง" ซึ่งเป็นส่วนประกอบประมาณ 6-15% ของพลาสติกชนิดนี้ แต่ส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหลือ เช่น โพลิเอทิลีน (PE) หรือโพลิโพรพิลีน (PP) กลับไม่ถูกย่อยสลายไปด้วย ดังนั้น เมื่อถุงพลาสติกส่วนที่เป็นแป้งถูกจุลินทรีย์ย่อยเรียบร้อยแล้ว ถุงเต็มๆ ใบก็แตกตัวออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนกระทั่งกลายเป็น "ไมโครพลาสติก" หรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร
เช่นเดียวกับ Oxo-biodegradable plastic (ไทยสั่งแบนแล้ว) หรือ ถุงพลาสติกที่ถูกเติมสารเคมีเข้าไปเพื่อเร่งการแตกตัว แม้ถุงพลาสติกเหล่านี้จะแตกสลายจนมองไม่เห็น แต่เศษพลาสติกจิ๋วยังคงอยู่ และปนเปื้อนในระบบนิเวศ แหล่งน้ำ รวมถึงอาหารที่เรากิน เมื่อปี 2562 ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง พบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทูทั้งหมดกว่า 60 ตัว ที่นำมาศึกษา เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว
ส่วน Compostable Plastic หรือ พลาสติกประเภทที่สากลยอมรับว่า สามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ ก็ต้องถูกจัดการในสภาวะควบคุมที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะเกิดการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น