ปรเมศวร์ยันแม้คืนที่ แต่ไม่ดำเนินคดีก็มีความผิด!
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ปรเมศวร์ยันแม้คืนที่ แต่ไม่ดำเนินคดีก็มีความผิด!
"ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม" เผย การถือครองที่ดินคนอื่นโดยที่ "ไม่มีสิทธิ" แม้คืนที่ดินแล้วก็ยังมีความผิด ยืนยันผิดต้องว่าไปตามผิด! แถม "เจ้าหน้าที่" ที่ให้ความช่วยเหลือไม่เอาเรื่อง มีความผิดเหมือนกัน!
โลกออนไลน์เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนัก ภายหลังจากที่ "ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม" อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาธนบุรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
ความรู้คู่คุณธรรม ตอน 2 เมื่อพิจารณาตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15189-2558 ที่ได้นำเสนอไปเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562 ซึ่งวางบรรทัดฐานไว้ว่า "ในขณะที่ผู้ร้องกระทำความผิดคดี ผู้ร้องจึงยังไม่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเกิดเหตุ การจัดสรรที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ที่ดินเกิดเหตุจึงยังมีสภาพเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14,31 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ ก็เป็นเพียงทำให้การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ร้องนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดก่อนหน้าที่ผู้ร้องจะได้รับอนุญาต"
ความรู้คู่คุณธรรม ตอน 2 เมื่อพิจารณาตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15189-2558 ที่ได้นำเสนอไปเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562 ซึ่งวางบรรทัดฐานไว้ว่า "ในขณะที่ผู้ร้องกระทำความผิดคดี ผู้ร้องจึงยังไม่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเกิดเหตุ การจัดสรรที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ที่ดินเกิดเหตุจึงยังมีสภาพเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14,31 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ ก็เป็นเพียงทำให้การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ร้องนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดก่อนหน้าที่ผู้ร้องจะได้รับอนุญาต"
"จึงสรุปเป็นข้อกฎหมายได้ว่า ถ้าเราเข้าไปครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยที่เรา "ไม่มีสิทธิ" ในที่ดินของผู้อื่น ยังไงเสียก็เป็นความผิดฐานบุกรุก" ถ้าที่ดินนั้นเป็นของเอกชนก็เป็นความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365 (ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539
แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นที่ดินของรัฐในเขตป่าไม้ก็เป็นความผิดฐานแผ้วถ่าง ก่อสร้าง ตาม พรบ ป่าไม้ มาตรา 54 มาตรา 72 ตรี (ในกรณีความผิดได้กระทำ เป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ ผู้กู้ระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท)
แต่ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติก็เป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรือ อยู่อาศัยในที่ดินก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 (ถ้าได้กระทำเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 1.5 แสนบาท)
"เมื่อคุณ "ไม่มีสิทธิที่จะครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย" ยังไงก็เป็นความผิด แม้จะคืนที่ดินให้แก่รัฐแล้วก็ตาม ผิดต้องเป็นผิด เอาที่ไหนมาพูดว่าไม่ต้องดำเนินคดีอาญา ถ้าผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินของรัฐ ไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ก็จะมีความผิดฐานละเว้นตามประมวกฎหมายอาญา มาตรา 157" ส่วน "ผู้ใหญ่" ที่พูดอาจโดยข้อหาสนับสนุน ร่วมด้วยซวยด้วยกัน อย่าช่วยกันจนออกนอกหน้าเลยครับ เพราะไม่ใช่ที่ดินของเอกชนที่จะดำเนินคดีก็ได้ไม่ดำเนินคดีก็ได้
"ขอร้องเถอะครับ แล้วอย่าลืมเรียกค่าเสียหายตามมูลละเมิดด้วยนะขอรับ"
"ขอร้องเถอะครับ แล้วอย่าลืมเรียกค่าเสียหายตามมูลละเมิดด้วยนะขอรับ"
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น