สพฐ. ชี้เงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขช่วยลดความเสี่ยงนักเรียนหลุดออกนอกระบบ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ สพฐ. ชี้เงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขช่วยลดความเสี่ยงนักเรียนหลุดออกนอกระบบ
วันที่ 19 พ.ย. 62 ที่ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ.5 กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดทำข้อมูลระบบการคัดกรองนักเรียนยากจนและนักเรียนยากจนพิเศษ (นักเรียนทุนเสมอภาค) ประจำภาคเรียนที่ 2/2562 ให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 255 เขต ทั่วประเทศ ผ่านระบบ Tele Conferenc
"สิ่งที่เราให้ความสำคัญอีกเรื่องคือ นักเรียนที่มีความด้อยโอกาสหลายประเภท ล่าสุดได้ให้ทาง กสศ. ปรับระบบการคัดกรองความยากจน CCT ในภาคเรียนที่ 2/2562 ให้ครูสามารถเลือกความด้อยโอกาสได้หลายประเภท เพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาความเดือดร้อนซ้ำซ้อนได้ นอกจากนี้จากรายงานผลลัพธ์โดยระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่า 98% ของนักเรียนทุนเสมอภาคมาเข้าเรียนสม่ำเสมอตามเกณฑ์มาตรฐาน คือไม่น้อยกว่า80% ข้อมูลนี้ช่วยยืนยันว่า เงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขแม้เป็นจำนวนไม่มาก แต่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียนและครอบครัวได้จริง เพราะการขาดเรียนบ่อยเป็นสัญญาณเตือนของการหลุดออกจากระบบการศึกษา อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเรียนอีก 2% ที่ตัวเลขการมาเรียนไม่ถึง 80 % ตามเงื่อนไขของเงินอุดหนุน ทาง สพฐ.และกสศ.ไม่นิ่งเฉยต่อปัญหานี้ โดยร่วมกันวางระบบส่งต่อข้อมูล เร่งติดตาม เพื่อนำเด็กกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สพฐ. รวมถึงบูรณาการความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาเป็นรายคน ป้องกันไม่ให้มีนักเรียนคนใดหลุดออกจากระบบการศึกษา โดย สพฐ.ได้ขอความร่วมมือจาก กสศ.ในการวิจัยพัฒนาหาแนวทางการส่งต่อและดูแลช่วยเหลือ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยเหลือนักเรียนยากจนได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ" ว่าที่ รต.ธนุ กล่าว
"คุณครูสามารถคัดกรองและบันทึกข้อมูลนักเรียนกลุ่มเข้าใหม่และนักเรียนที่ประสงค์ขอรับทุนเสมอภาคเพิ่มเติมได้ระหว่างวันที่ 1-20 ธันวาคม 2562 นี้นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2563 กสศ.ยังได้เตรียมขยายฐานการช่วยเหลือไปถึงเด็กอนุบาลยากจนพิเศษราวประมาณ 1.5 แสนคน เพื่อตอบโจทย์เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 54 ที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และให้จัดตั้ง กสศ. ขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสที่เสมอภาคทางการศึกษา คณะกรรมการบริหาร กสศ. จึงได้มีมติขยายผลการดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษสู่ระดับอนุบาลในปีงบประมาณ 2563 นี้ อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่แน่นอนจะต้องรอร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา คาดว่าจะทราบผลในเดือน ธ.ค. 62-ม.ค. 63 นี้" รอง ผจก.กสศ. กล่าว
นอกจากนี้ยังร่วมกับซุปเปอร์โพลล์สำรวจความคิดเห็นของคุณครู กลุ่มตัวอย่าง 500 คน ทั่วประเทศครอบคลุมทุกภูมิภาคที่มีต่อโครงการเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไข กสศ.พบว่า ร้อยละ 96 เห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์แก่นักเรียนมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 96.71 พร้อมสนับสนุนโครงการระดับมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 89.8 เห็นว่า การที่ครูได้ลงเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อทำการคัดกรองตลอดจนกระบวนการทั้งหมด เช่น การกรอกข้อมูลขาดลามาสาย, น้ำหนัก, ส่วนสูง มีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ในระดับมากถึงมากที่สุด ทั้งนี้ ภายหลังการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากช่องทางต่างๆ ทั่วประเทศ สพฐ.ร่วมกับ กสศ. ได้พัฒนาระบบการคัดกรองให้ดีขึ้นเพื่อลดขั้นตอนเวลาและภาระการบันทึกข้อมูลของครูและสถานศึกษา รวมถึงการปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานให้กับครูและสถานศึกษา เพราะถือเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มที่ยากจนที่สุด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น