กางฎีกายืนยันโดเรมอน ไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองแล้ว!
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ กางฎีกายืนยันโดเรมอน ไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองแล้ว!
กรณีแฟนเพจเฟซบุ๊ก @nipatlawyer บริษัทให้คำปรึกษาด้านกฎหมายธุรกิจ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ออกมาเผยแพร่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2551 วินิจฉัยเรื่องลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนญี่ปุ่นที่เรารู้จักกันดี "โดราเอมอน" หรือ "โดเรมอน" ซึ่งระบุว่า ไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองในประเทศไทยแล้ว ดังนั้นหากใครที่ถูกจับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอน แสดงว่าคุณถูกหลอกจับ และสามารถแจ้งความกลับได้อีกด้วย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 29 ส.ค. "เดลินิวส์ออนไลน์" สอบถามไปยัง ทนายนิพัธ ปิ่นแสง เจ้าของแฟนเพจดังกล่าว และบริษัท สำนักกฎหมาย นิพัธ ปิ่นแสง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด ผู้นำคำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 มาเผยแพร่ในสังคมได้ทราบ ให้ข้อมูลว่า คำพิพากษาศาลฎีกาชิ้นนี้ หมายถึงรูปภาพนิ่งของตัวการ์ตูนโดเรมอน ที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานศิลปะประยุกต์ อาทิ สิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า นอกเหนือจากการชื่นชมในตัวการ์ตูน แต่หากเราจะผลิตเป็นตุ๊กตาอันนี้ผิดเต็ม ๆ มันคือการก๊อปปี้ ไม่ใช่การประยุกต์ ตามนิยามคำว่างานศิลปประยุกต์ ในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นอกจากนี้คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ไม่ได้หมายรวมถึง "เครื่องหมายการค้า" ที่ยังคงได้รับความคุ้มครองอยู่ แต่ปัจจุบันมักมีกลุ่มคนที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ ใช้ภาพการ์ตูนโดเรมอนหน้าตรง ใต้ภาพมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ จดเครื่องหมายการค้า ใช้ในการลักไก่จับกุมแม่ค้า ซึ่งตามแนวทางการวินิจฉัยต่างกัน ไม่เข้าข่ายตามนิยามคำว่างานศิลปประยุกต์
ทนายนิพัธ กล่าวอีกว่า ส่วนใหญ่แล้วแก๊งพวกนี้มักจะอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2553 แย้งว่า พ่อค้าแม่ค้าละเมิดลิขสิทธิ์งานอันเป็นศิลปะลักษณะจิตกรรม อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปีถึงวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ซึ่งมันคนละคำวินิยฉัย อย่างกรณีล่าสุดมีพ่อค้าโทรศัพท์มาปรึกษาว่าถูกจับเพราะใช้รูปโดเรมอนในบ๊อกเซอร์ แต่กลุ่มคนที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ ใช้รูปภาพโดเรมอนจดเครื่องหมายการค้า และยกเว้นกางเกงใน ก็สามารถใช้คำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไปใช้ในการต่อสู้คดีได้เลยชนะแน่นอน 1 ล้าน% หรือเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา ตนก็เคยว่าความคดีลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโคนัน ชนะห้างชื่อดัง
ทั้งนี้คำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 โดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ว่า ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ได้มีการโฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของประเทศไทยได้บัญญัติไว้ว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปะประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปี นับแต่ที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่อมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 งานตามฟ้องซึ่งมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก จึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธ.ค. 2537 เท่านั้น ขณะเกิดเหตุตามฟ้องในคดีนี้คือวันที่ 3 ส.ค. 2549 งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอน มาตัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของเครื่องใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้อง จึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตามฟ้อง ยกฟ้อง
อย่างไรก็ตาม จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาถือว่าตัวการ์ตูนโดราเอมอนหมดความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยไปตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2537 แล้ว ดังนั้นใครที่ถูกลักไก่จับว่าผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ก็ขอให้รู้ว่าโดนต้ม โดนหลอกจับกุมแล้ว ฉะนั้นใครที่โดนจับดังกล่าว ก็ขอให้นำคำพิพากษาศาลฎีกานี้ขึ้นต่อสู้โดยให้ตำรวจดูคำพิพากษาศาลฎีกา จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจมาลักไก่จับกุม พ่อค้าแม่ค้าและประชาชนที่ไม่รู้กฎหมายอีกต่อไป
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 29 ส.ค. "เดลินิวส์ออนไลน์" สอบถามไปยัง ทนายนิพัธ ปิ่นแสง เจ้าของแฟนเพจดังกล่าว และบริษัท สำนักกฎหมาย นิพัธ ปิ่นแสง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด ผู้นำคำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 มาเผยแพร่ในสังคมได้ทราบ ให้ข้อมูลว่า คำพิพากษาศาลฎีกาชิ้นนี้ หมายถึงรูปภาพนิ่งของตัวการ์ตูนโดเรมอน ที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานศิลปะประยุกต์ อาทิ สิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า นอกเหนือจากการชื่นชมในตัวการ์ตูน แต่หากเราจะผลิตเป็นตุ๊กตาอันนี้ผิดเต็ม ๆ มันคือการก๊อปปี้ ไม่ใช่การประยุกต์ ตามนิยามคำว่างานศิลปประยุกต์ ในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นอกจากนี้คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ไม่ได้หมายรวมถึง "เครื่องหมายการค้า" ที่ยังคงได้รับความคุ้มครองอยู่ แต่ปัจจุบันมักมีกลุ่มคนที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ ใช้ภาพการ์ตูนโดเรมอนหน้าตรง ใต้ภาพมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ จดเครื่องหมายการค้า ใช้ในการลักไก่จับกุมแม่ค้า ซึ่งตามแนวทางการวินิจฉัยต่างกัน ไม่เข้าข่ายตามนิยามคำว่างานศิลปประยุกต์
ทนายนิพัธ กล่าวอีกว่า ส่วนใหญ่แล้วแก๊งพวกนี้มักจะอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2553 แย้งว่า พ่อค้าแม่ค้าละเมิดลิขสิทธิ์งานอันเป็นศิลปะลักษณะจิตกรรม อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปีถึงวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ซึ่งมันคนละคำวินิยฉัย อย่างกรณีล่าสุดมีพ่อค้าโทรศัพท์มาปรึกษาว่าถูกจับเพราะใช้รูปโดเรมอนในบ๊อกเซอร์ แต่กลุ่มคนที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ ใช้รูปภาพโดเรมอนจดเครื่องหมายการค้า และยกเว้นกางเกงใน ก็สามารถใช้คำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไปใช้ในการต่อสู้คดีได้เลยชนะแน่นอน 1 ล้าน% หรือเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา ตนก็เคยว่าความคดีลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโคนัน ชนะห้างชื่อดัง
ทั้งนี้คำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 โดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ว่า ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ได้มีการโฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของประเทศไทยได้บัญญัติไว้ว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปะประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปี นับแต่ที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่อมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 งานตามฟ้องซึ่งมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก จึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธ.ค. 2537 เท่านั้น ขณะเกิดเหตุตามฟ้องในคดีนี้คือวันที่ 3 ส.ค. 2549 งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอน มาตัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของเครื่องใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้อง จึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตามฟ้อง ยกฟ้อง
อย่างไรก็ตาม จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาถือว่าตัวการ์ตูนโดราเอมอนหมดความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยไปตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2537 แล้ว ดังนั้นใครที่ถูกลักไก่จับว่าผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ก็ขอให้รู้ว่าโดนต้ม โดนหลอกจับกุมแล้ว ฉะนั้นใครที่โดนจับดังกล่าว ก็ขอให้นำคำพิพากษาศาลฎีกานี้ขึ้นต่อสู้โดยให้ตำรวจดูคำพิพากษาศาลฎีกา จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจมาลักไก่จับกุม พ่อค้าแม่ค้าและประชาชนที่ไม่รู้กฎหมายอีกต่อไป
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น