คกก.วัตถุอันตราย มีมติเอกฉันร์แบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด


คกก.วัตถุอันตราย มีมติเอกฉันร์แบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด

การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายในวันนี้ (22 ต.ค. 2562) มีขึ้นขณะที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัคค้านการสั่งห้ามใช้สารเคมีทางการเกษตรปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือภาครัฐ ผู้นำเข้าสารเคมี เกษตรกรและผู้บริโภคซึ่งมีนางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีมติ 9 ต่อ 0 เสียง เมื่อวันที่ 7 ต.ค. เห็นชอบให้ยกเลิกการจำหน่ายและยกเลิกการใช้ในประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 62 เป็นต้นไป

การประชุมซึ่งมี นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รักษาการรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นประธาน เริ่มขึ้นในเวลา 9.00 น. โดยมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่คัดค้านการแบนสารเคมีดังกล่าวมาชุมนุมที่กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อติดตามผลการประชุม

การประชุมเสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณุสข เปิดเผยมติที่ประชุมทางเฟซบุ๊กว่า คณะกรรมการมีมติแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด

นายอนุทินระบุว่า มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 26 คน จากคณะกรรมการทั้งหมด 29 คน โดย

1. พาราควอต : เห็นควรให้แบน 21 เสียง จำกัดการใช้ 5 เสียง

2. คลอร์ไพริฟอส : เห็นควรให้แบน 22 เสียง จำกัดการใช้ 4 เสียง

3.ไกลโฟเซต : เห็นควรให้แบน 19 เสียง จำกัดการใช้ 7 เสียง

"ขอกราบขอบพระคุณและน้อมคารวะต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายเฉพาะผู้ที่ลงมติแบนการใช้สารพิษด้วยจิตสำนึกที่รักและห่วงใยในคุณภาพชีวิตและสุขภาพของพี่น้องประชาชน ประวัติศาสตร์จะจารึกวีรกรรมที่ท่านทำเพื่อแผ่นดินเกิดในวันนี้เยี่ยงวีรบุรุษของชาติ ขอแสดงความยินดีกับคนไทยทุกคนที่ประเทศของเรายังมีข้าราชการและนักวิชาการที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรมหลงเหลืออยู่ในบ้านของเรา" นายอนุทินระบุ

อัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานชมรมกลุ่มรักแม่กลอง จ.ราชบุรี แกนนำกลุ่มเกษตรกรที่คัดค้านการแบนสารเคมีประกาศว่าจะยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำสั่งให้ยกเลิกการแบนสารเคมี

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีใครบ้าง

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีทั้งหมด 29 คน ประกอบด้วย 1.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 2.อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม 3.เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 5.ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 6.เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 7.ผู้แทนกระทรวงคมนาคม 8.อธิบดีกรมการขนส่งทางบก 9.อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน 10.อธิบดีกรมการค้าภายใน 11.อธิบดีกรมประมง 12.อธิบดีกรมปศุสัตว์ 13.อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 14.ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 15.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชากฎหมาย 16.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาเคมี 17.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 18.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 19.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 20.ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน 21.ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายท้องถิ่น 22.ผู้แทนองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม 23.ผู้แทนองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (คนที่ 1) 24.ผู้แทนองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (คนที่ 2)25.อธิบดีกรมการแพทย์ 26.อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 27.เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา 28.อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ 29.อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

ก่อนหน้านี้เครือข่ายสนับสนุนการแบบสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กรออกแถลงการณ์ยืนยันข้อเรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายออกคำสั่งห้ามใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดตามข้อเสนอของคณะทำงาน 4 ฝ่าย รวมทั้งให้คณะกรรมการฯ ลงมติแบบเปิดเผยพร้อมข้อวินิจฉัยส่วนบุคคล




ลำดับเหตุการณ์แบนสารเคมีอันตราย 3 ชนิด

5 เม.ย. 60 - คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นคณะกรรมร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติให้ดำเนินการออกประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิด โดยให้ยุติการนำเข้าภายใน ธ.ค. 61 และยุติการใช้ในเดือน ธ.ค. 62 อีกทั้งจำกัดการใช้ไกลโฟเซตอย่างเข้มงวด ห้ามใช้ในพื้นที่สาธารณะและชุมชนโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งน้ำ

19 พ.ย. 60 - กรมวิชาการเกษตร ต่อทะเบียนให้บริษัทเอกชน คือ บริษัทซินเจนทา, เอเลฟองเต้และดาส อะโกรไซแอนด์ นำเข้าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดได้อีก 6 ปี โดยให้เหตุผลว่าหากไม่ต่อทะเบียนจะทำให้เอกชนเสียหายและรัฐอาจถูกฟ้องได้

30 ม.ค. 61 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้พาราควอตให้ชัดเจน

15 ก.พ. 61 - กระทรวงสาธารณสุขประชุมหารือเรื่องพาราควอต โดยยืนยันตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง คือ ให้ยกเลิกภายใน ธ.ค. 62

23 พ.ค. 61 - คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติไม่ยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 รายการ สร้างความผิดหวังให้เครือข่ายเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชนที่คัดค้านการใช้สารเคมี โดยเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ได้ยื่นจดหมายไม่เห็นด้วยต่อมติดังกล่าว ตั้งข้อสังเกตว่า กรรมการที่ร่วมพิจารณานั้นไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผลกระทบต่อสุขภาพเลย ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่สนับสนุนการใช้สารเคมีดังกล่าวทั้งสิ้น อีกทั้งยังใช้ข้อมูลเก่า ไม่ใช้งานข้อมูลเชิงประจักษ์ใหม่ ๆ ประกอบการพิจารณา

23 พ.ย. 61 - ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกการใช้พาราควอตภายใน 1 ปี แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสร้างความเข้าใจกับประชน จำกัดและควบคุมการใช้ และพัฒนาวิธีการทดแทนให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันก่อนจะยกเลิกอย่างถาวร

14 ก.พ. 62 - ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อประธานกรรมการวัตถุอันตราย ให้พิจารณาควบคุมพาราควอตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4

9 ส.ค. 62 - หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ ประกาศว่าจะต้องยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูกำจัดศัตรูพืชความเสี่ยงสูง 3 ชนิดให้ได้ก่อนสิ้นปี 62

7 ต.ค. 62 - ประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือภาครัฐ ผู้นำเข้าสารเคมี เกษตรกร และผู้บริโภค โดยมีมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีมติ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นชอบให้ยกระดับสารเคมีเกษตร 3 ชนิด จากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 เพื่อให้ยกเลิกการจำหน่าย และยกเลิกการใช้ในประเทศ เริ่มวันที่ 1 ธ.ค. 62

โดยวันที่ 22 ต.ค.นี้ จะมีประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน คาดว่ากระทรวงเกษตรฯจะส่งเรื่องการแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิดเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในวันที่ 27 ต.ค.


คกก.วัตถุอันตราย มีมติเอกฉันร์แบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี BBC NEWS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:14 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์