เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?


เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?

วันนี้ (17 ต.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมควบคุมโรค และเครือข่าย ลดการบริโภคเค็ม เดินหน้ารณรงค์พฤติกรรมติดเค็มของคนไทยเนื่องจากคนไทยเจ็บป่วยจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นจำนวนมาก และ "ความเค็ม" ก็เป็นสาเหตุของบางโรค เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะโรคไตที่พบว่า "จำนวนผู้ต้องล้างไตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2 หมื่นคนต่อปี"





ล่าสุดกรมสรรพสามิตรับลูกที่จะนำมาตรการภาษีมาใช้ เรียกว่า "ภาษีความเค็ม" หรือการเก็บภาษีอาหารที่มีส่วนผสมของ "โซเดียม อันเป็นสารที่ให้รสเค็ม ในปริมาณที่เกินจากมาตรฐานที่กำหนดว่าควรบริโภคได้ ซึ่งกรมฯอยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดและอัตราภาษีแต่หากมีการจัดเก็บภาษีความเค็มแล้วก็จะให้ผู้ระกอบการมีระยะเวลาปรับตัว 1-2 ปี เพื่อลดปริมาณความเค็มในสินค้า หรือปรับสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพมากขึ้น แม้ว่าภาษีความเค็มจะเนเรื่องใหม่ของไทยแต่ในต่างประเทศมีการนำมาตรการภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้แล้วเพื่อจูงใจให้ทั้งผู้บริโภคลดการบริโภค และผู้ประกอบการลดการใส่ส่วนผสมดังกล่าวลง

เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?


ก่อนอื่นมาดูว่ามีประเทศใดบ้างที่ใช้มาตรการลดความเค็มและของไทยจะมีแนวทางจัดเก็บจากสินค้าใดบ้าง

ประเทศใช้มาตรการลดบริโภคเค็ม
- มาตรการภาษี -

ประเทศฮังการี
-เก็บภาษีอัตรา10-15%ในปี 2554
-สินค้าขนมขบเคี้ยว-เครื่องปรุงรส
-ประชาชนลดบริโภคลง 20-35%
-ผู้ผลิตปรับสูตรอาหารลดโซเดียมลง

ประเทศโปรตุเกส
-เริ่มจัดเก็บภาษีปี2561
-อาหาร ขนมเช่น เวเฟอร์ บิสกิต มันฝรั่งแห้งหรือทอด
-เกลือเกิน 1% หรือโซเดียมเกิน400มก./100กรัมเก็บ27บาทต่อกก.
- มาตรการอื่นๆ


เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?

 

ประเทศอังกฤษ
- มีกฎหมายกำหนด "ฉลากแบบ สัญญาณไฟจราจร"
- ใช้กับส่วนผสม 4 ชนิด คือ น้ำตาล ไขมัน ไขมันอิ่มตัวและเกลือ
**"สีเขียว -ปริมาณน้อย สีเหลือง (หรือส้ม)-ปานกลาง สีแดง-ปริมาณมาก เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจน


เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?

 

ประเทศชิลี
- มีการใช้ "ฉลากคำเตือน" ในอาหาร/ขนมโซเดียมเกินมาตรฐาน
-มีการลดปริมาณค่ามาตรฐานลงเป็น 3 ระยะ
*ปี 59 กำหนดมีปริมาณโซเดียม 800 มก./100 กรัม
*ปี 61 ปริมาณโซเดียม 500 มก./100 กรัม
*ปี 62 ปริมาณโซเดียม 400 มก. / 100 กรัม
-อาหารที่มีฉลากคำเตือนไม่ให้ขายในโรงเรียนหรือทำการตลาดกับเด็ก


เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?


ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเค็ม
องค์การอนามัยโลกแนะนำ บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มล./วัน เทียบเท่าเกลือไม่เกิน 5 กรัม/วัน

ปัญหาที่พบในไทย คือ คนไทยบริโภคเกลือ 10 กรัม/วันหรือมากกว่า ทำให้เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตมากสุด อันดับ 1 โรคหัวใจขาดเลือก อันดับ 3 โรคหลอดเลือกสมอง อันดับ 8 โรคไตเรื้อรัง ซึ่งค่ารักษาพยาบาลปีละ50,000-100,000 ล้านบาท


เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?


แนวคิดจัดเก็บภาษีความเค็มของไทย

* สินค้าที่เข้าข่าย
-อาหารแช่แข็ง
-อาหารกระป๋อง
-บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป/โจ๊ก
-อาหารกึ่งสำเร็จรูป

* สินค้าไม่เข้าข่าย
- เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส
-อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ร้านข้าวแกง
-สินค้าชุมชน ปลาเค็ม เนื้อแดดเดียว
-ขนมขบเขี้ยวของเด็ก ไม่ถือเป็นอาหารจำเป็น


แน่นอนว่าการเก็บภาษีความเค็มจะมีผลให้ราคาสินค้า ที่มีโซเดียมสูงในระดับที่กฏหมายกำหนดไว้จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น สุดท้ายผู้ประกอบการอาจเลือกวิธีผลักภาระให้ผู้บริโภคนั้น คือ การปรับขึ้นราคาสินค้า


เปิดแนวคิดเก็บ ภาษีความเค็ม สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?

เครดิตแหล่งข้อมูล : tnnthailand


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:14 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์