กทม. เผย สถิติ ยอดเงินค่าปรับ ขับขี่-จอด บนทางเท้า


กทม. เผย สถิติ ยอดเงินค่าปรับ ขับขี่-จอด บนทางเท้า

วันที่ 15 ต.ค. นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า

สำนักเทศกิจได้รายงานผล การดำเนินนโยบายด้านการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย โดยจัดทำแผนปฏิบัติการจัดระเบียบผู้ค้หาบเร่-แผงลอย เพื่อคืนทางเท้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกเลิกจุดผ่อนผันให้ครอบคลุมพื้นที่ 50 สำนักงานเขต

ปัจจุบันได้ดำเนินการประกาศยกเลิกจุดผ่อนผันเรียบร้อยแล้ว จำนวน 508 จุด ยังเหลือจุดผ่อนผันที่อยู่ระหว่างดำเนินการยกเลิกอีกจำนวน 175 จุดในพื้นที่ 19 สำนักงานเขต ซึ่งในรอบเดือน ต.ค.62  มี 2 สำนักงานเขตเสนอยกเลิกจุดผ่อนผัน ได้แก่ เขตบางกอกน้อย และเขตคลองสาน ขณะนี้สำนักเทศกิจอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพื่อเสนอผู้บริหารลงนามประกาศยกเลิก ตามแผนปฏิบัติการจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธ.ค.62

สำหรับการดำเนินการโครงการกวดขันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.61-13 ต.ค.62 สำนักงานเขต จับกุม 24,337 ราย ว่ากล่าวตักเตือน 4,224 ราย ดำเนินคดี 18,049 ราย อยู่ระหว่างดำเนินคดี 2,064 ราย ปรับเป็นเงิน 17,335,300 บาท

 โดยระหว่างวันที่ 1-13 ต.ค.62 สำนักงานเขตจับกุม 614 ราย ดำเนินคดี 600 รายอยู่ระหว่างดำเนินคดี 14 ราย ปรับเป็นเงิน 1,176,500 บาท

ส่วนการดำเนินการกรณีป้ายโฆษณาที่ติดตั้งในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.61-13 ต.ค.62 สำนักงานเขตจัดเก็บ 126,497 ป้าย แจ้งความดำเนินคดี 49 ราย จับปรับ 2,964 คดี ปรับเป็นเงิน 9,424,400 บาท โดยระหว่างวันที่ 1-13 ต.ค.62 สำนักงานเขต จัดเก็บ 2,782 ป้าย จับ-ปรับ 106 คดี ปรับเป็นเงิน 368,900 บาท


อย่างไรก็ตามได้กำชับเจ้าหน้าที่เทศกิจอย่างต่อเนื่องในการกวดขันจุดผ่อนผันที่ยกเลิกแล้วรวมทั้งจุดที่ไม่ใช่จุดผ่อนผันห้ามไม่ให้มีผู้ค้าทำการค้าโดยเด็ดขาด หากตนลงตรวจพื้นที่แล้วพบในครั้งแรกจะให้ใบเหลืองก่อน หากมีครั้งที่ 2 จะพิจารณาโยกย้ายทั้งชุด สำหรับจุดผ่อนผันที่ยังเหลือ 175 จุด ต้องจัดระเบียบให้ดีจุดไหนที่จัดไม่ดีหรือไม่เรียบร้อยจะพิจารณายกเลิก

ส่วนจุดไหนที่จำเป็นต้องมีอยู่ เช่น Street Food จะไม่ให้มีการค้าขายเลยคงเป็นไปไม่ได้ จึงมอบหมายสำนักเทศกิจพิจารณาว่าผู้ค้าต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ทางเท้ากว้างเท่าไหร่ เป็นจุดที่มีอัตลักษณ์ เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจุดผ่อนผันทั้ง 175 จุด ว่าจุดใดมีความจำเป็น เหมาะสม และเป็นระเบียบเรียบร้อยจะให้คงอยู่ หากจุดใดที่สำรวจแล้วไม่สามารถดำเนินการตามที่กทม. กำหนดได้ก็ต้องยกเลิกไป

ส่วนการโครงการกวดขันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า กทม.ดำเนินการเข้มงวดอย่างเต็มที่ แต่ที่ยังมีผู้ฝ่าฝืน เรียกได้ว่าเป็นความเคยชินและมักง่ายของผู้ขับขี่ ตรงจุดไหนที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ก็พร้อมที่จะฝ่าฝืน ซึ่งตนได้ย้ำเจ้าหน้าที่ให้ออกตรวจพื้นที่ตามจุดต่างๆ ด้วยนอกจากการประจำจุดตั้งโต๊ะจับปรับ ซึ่งตั้งแต่มีการขึ้นค่าปรับจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.62 เป็นต้นมา ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน มียอดค่าปรับร่วม 6 ล้านบาท ถือว่ากทม. ทำงานเต็มที่แล้ว แต่ยังมีผู้ฝ่าฝืนคงต้องแก้ที่จิตสำนึกของคน

กทม. เผย สถิติ ยอดเงินค่าปรับ ขับขี่-จอด บนทางเท้า

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:14 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์