ขสมก.เริ่มจ่ายค่ารถเมล์ผ่านเครื่องแทนเงินสด 3,000 คันทั่วกรุง
สำหรับเครื่อง รับชำระด้วยบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์จะใช้ได้ 2 แบบ คือ การสแกน QR Code โดยใช้แอปของกรุงไทย NEXT หรือ Mobile Banking ของทุกธนาคารโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ส่วนการแตะบัตรที่เครื่อง EDC นอกจากบัตรบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้วยังมีบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (ชำระค่าโดยสารเป็นรายเที่ยว)ที่บัตรโดยสารล่วงหน้าอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว) มีให้เลือกรายสัปดห์และรายเดือน บัตรนักเรียน นักศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเดบิต-เครดิตที่มีสัญลักษณ์ Contactless ของทุกธนาคาร
1.บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ มีจำหน่ายบนรถโดยสาร ขสมก.ทุกคัน ราคาใบละ 50 บาท สามารถเติมเงินในบัตรได้สูงสุด 1,000 บาท ใช้ได้ตลอดชีวิตไมมีระยะเวลากำหนด โดยระบบของเครื่อง EDC จะหักเงินภายในบัตรตามอัตราค่าบริการของรถโดยสารแต่ละประเภท
2.บัตรโดยสารล่วงหน้ารถปรับอากาศ และบัตรโดยสารล่วงหน้ารถธรรมดา มีจำหน่าย ณ จุดขายที่ ขสมก. กำหนด ผู้ถือบัตรสมารถเติมเงินในบัตรได้ดังนี้ บัตรรายเดือนรถโดยสารปรับอากาศ เติมเงิน 1,020 บาท รถโดยสารธรรมดา เติมเงิน 480 บาท บัตรรายสัปดาห์ รถโดยสารปรับอากาศ เติมเงิน 255 บาท รถโดยสารธรรมดา เติมเงิน 120 บาท ซึ่งบัตรโดยสารล่วงหน้าอิเล็กทรอนิกส์ จะมีรอบระยะเวลาการใช้งาน เช่นเดียวกับบัตรโดยสารล่วงหน้าแบบกระดาษ
3.บัตรนักเรียน นักศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มีจำหน่าย ณ ที่ทำการเขตการเดินรถทุกแห่ง ผู้ถือบัตรสามารถเติมเงินในบัตรได้ดังนี้ บัตรโดยสารรถปรับอากาศ สำหรับนักเรียนตั้งแต่ ม.3 ลงมา เติมเงิน 270 บาท สำหรับนักเรียนตั้งแต่ ม.4 ขึ้นไป เติมเงิน 540 บาท บัตรโดยสารรถธรรมดา สำหรับนักเรียนตั้งแต่ ม.3 ลงมา เติมเงิน 135 บาท สำหรับนักเรียนตั้งแต่ ม.4 ขึ้นไป เติมเงิน 270 บาทส่วนวิธีการเติมเงินมีหลายช่องทาง ผู้ถือบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท สามารถเติมเงินในบัตรผ่านโมบายแบงกิ้ง ตู้เอทีเอ็มทุกธนาคาร เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และตู้บุญเติมที่ร่วมรายการ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการชำระค่าโดยสารได้สามารถเลือกชำระค่าโดยสารตามที่สะดวก โดยนายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)บอกว่านอกจากรถเมล์ของขสมก.จะรับชำระผ่านเครื่องอีดีซีแล้วขณะนี้พนักงานยังรับชำระด้วยเงินเงินสดควบคู่ไปด้วย โดยยังมีการฉีกตั๋วให้ตามระยะทางที่แจ้งก่อนจะรับชำระเงินเพราะถือเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน โดยน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีกว่าผู้โดยสารจะมีความคุ้นชินกับระบบใหม่
เบื้องต้นขสมก.เตรียมผลิตบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ไว้จำนวน 300,000 ใบ เพื่อรองรับผู้ใช้บริการรถขสมก.ปัจจุบันวันละ 5 แสนคน ขณะที่ที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ใช้บัตรชำระค่าโดยสารผ่านเครืองอีดีซีอยู่แล้วมีประมาณวันละ 55,000 คนส่วนที่หลายคนสงสัยว่าเมื่อมีผู้โดยสารชำระผ่านบัตรหรือโมบายแบงกิ้งจำนวนมากระบบจะล่มหรือไม่และมีความรวดเร็วแค่ไหนลองไปฟังเสียงของผู้บริหารของธนาคารกรุงไทยกันค่ะ
โครงการนี้ขสมก.บอกว่าเป็นการเดินไปสู่ยุค 4.0 และสังคมไร้เงินสดตามนโยบายรัฐบาลซึ่งอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้โดยสารทและยังช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการเงินสด และลดต้นทุนการจัดการระบบโลจิสติกส์ของขสมก.ด้วย ซึ่งในอนาคตตามแผนฟื้นฟูของขสมก.ก็จะลดจำนวนพนักงานเก็บค่าโดยสารลงเรื่อยๆ โดยบางส่วนอาจเปลี่ยนไปทำงานด้านอื่นเช่นเป็นพนักงานขับรถแทนเพราะในอนาคตยังมีแผนจัดซื้อรถเมล์เข้ามาเพิ่มอีกราว 3,000 คัน