พิษยาฆ่าหญ้า! สสจ.เลยเฝ้าระวังโรคเนื้อเน่า เผยยอดคนป่วยสูงติดอันดับ 1 มา 3 ปีซ้อน
ในส่วนการเกิดโรคซึ่งดูข้อมูลตามวิชาการ กรมควบคุมโรคเกิดจากการสัมผัสการใช้สารเคมีของเกษตรกร ซึ่งอาจไม่โดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดโรคนี้มากขึ้นกับการใช้สารเคมีในเกษตรกรและช่วงนี้ซึ่งเป็นฤดูการทำนา การทำเกษตร ขณะนี้ทาง สสจ.เลย ได้เร่งประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงที่เกิดโรคเนื้อหนังเน่า โดยได้ใช้การประชาสัมพันธ์เป็นหลักและกระตุ้นให้ อสม. ได้สร้างการปฎิบัติการเบื้องต้นในกลุ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ การมีบาดแผลเกิดขึ้นโดยเฉพาะหน้าฝน แต่ทั้งนี้อีกอย่างพี่น้องประชาชนยังไม่ค่อยตระหนักในเรื่องของความเสี่ยงของโรคนี้นัก
ด้านนางพิมพ์ธิดา บุญวงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา กล่าวว่า ในตำบลได้มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเนื้อหนังเน่า ส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยได้ไปสัมผัสกับสารเคมีที่เขาทำงาน เช่น ไปลุยน้ำ ไปทำนา แค่มีบาดแผลเล็กน้อยและไปสัมผัสสารเคมีอย่างยาฆ่าหญ้า และก็เป็นส่วนใหญ่ในตำบลนี้มีการใช้ยาฆ่าหญ้ากันในค่อนข้างจะมาก พอได้สัมผัสสารพวกนี้จากแผลเล็กๆ ก็จะเกิดบวมและมีการอักเสพอย่างรุนแรง และต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ทำโครงการป้องกันโดยคัดกรอง เจาะเลือดหาสารเคมีให้กับเกษตรกร ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสัมผัสกับสารเคมี เช่น พ่นยาฆ่าหญ้า หรือรดยาฆ่าหญ้า หรือไปสัมผัสกับน้ำที่มีสารเคมีรอบบริเวณ เราได้ทำทุกหมู่บ้านในตำบล เพราะเกษตรกรยังมีใช้สารเคมีจำนวนนี้ค่อนข้างเยอะในตำบล
ส่วนนางบัวผัน สุจิมงคล ผู้ป่วยเป็นโรคเนื้อเน่า เล่าว่า วันที่ตนเป็นตอนแรกได้มีแผลนิดเดียวบริเวณเท้า ตนได้ออกไปเก็บลำไย และใต้ต้นลำไยได้มีลูกหลานได้พ่นฉีดยาฆ่าหญ้าไว้ เท้าตนไปสัมผัสยอดหญ้าที่แห้งตายกับสารเคมี กลับมาบ้านก็มีอาการปวดแผลมาก จนต้องนำส่งโรงพยาบาล และพบว่าตนได้เป็นโรคเนื้อเน่า จนได้รับการผ่าตัดเอาหนังเนื้อที่เน่าออกจำนวนหลายครั้ง ป่วยไปกับโรคนี้รักษากว่า 3 เดือนถึงจะหาย เจ็บปวดทรมานมาก มีเพื่อนๆ ที่ไปรักษาพร้อมกัน บางคนได้ติดเชื้อเข้าไปในกระแสเลือดตายไปก็มี จึงอยากจะวิงวอนขอให้งดการใช้สารเคมีพวกนี้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก จากแผลนิดเดียวกลายเป็นเหวะหวะ อันตรายถึงชีวิต