รัฐอนุมัติ! “ผู้ป่วยรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน” หวังลดปัญหา รพ.แออัด


รัฐอนุมัติ! “ผู้ป่วยรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน” หวังลดปัญหา รพ.แออัด


นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยร้านยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1)

นพ.สุขุม กล่าวว่า การเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมและทั่วถึงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกอบกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงนำมาสู่ภาวะความเจ็บป่วย ส่งผลให้เกิดการเข้ารับบริการอย่างหนาแน่นในโรงพยาบาล เกิดปัญหาคิวบริการที่ต้องรอเป็นเวลานานรวมถึงการรับยา การพัฒนาระบบการบริการเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยและการลดความแออัดในโรงพยาบาลจึงเป็นก้าวต่อไปที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ



รัฐอนุมัติ! “ผู้ป่วยรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน” หวังลดปัญหา รพ.แออัด


การลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยร้านยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) เป็นมาตรการหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ด้วยจำนวนร้านยาที่กระจายอยู่ในชุมชน ทำให้มีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ขณะที่ปัจจุบันมีร้านยามีส่วนหนึ่งได้ร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้โครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค นอกจากนี้มาตรการนี้ยังทำให้ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำการใช้ยาอย่างเหมาะสมตามใบสั่งแพทย์โดยเภสัชกร ลดปัญหาการใช้ยาไม่ถูกต้องได้



รัฐอนุมัติ! “ผู้ป่วยรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน” หวังลดปัญหา รพ.แออัด


ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ วันนี้ จะมีการรวบรวมความเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาตามใบสั่งแพทย์ที่ร้านยาคุณภาพใกล้บ้านภายหลังจากที่ได้รับการตรวจรักษาจากคุณหมอที่โรงพยาบาลแล้ว



รัฐอนุมัติ! “ผู้ป่วยรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้าน” หวังลดปัญหา รพ.แออัด


รูปแบบการบริหารจัดการแบ่งเป็น 3 ทางเลือก คือ 1.คือโรงพยาบาลเป็นผู้จัดยาและส่งยาไปที่ร้านยาคุณภาพเพื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วย 2 นำยาไปสำรองไว้ที่ร้านยาคุณภาพ ให้เภสัชกรร้านยาเป็นผู้จัดยาตามใบสั่งแพทย์ เสมือนเป็นห้องจ่ายยาย่อยของ รพ. และ 3. ให้ร้านยาเป็นผู้จัดซื้อยาและสำรองยาในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเอง โดยโรงพยาบาลเป็นผู้ตามจ่ายค่ายา ในการประชุมครั้งนี้จะช่วยกันดูความเป็นไปได้ของทั้ง 3 ทางเลือก สำหรับในส่วนของค่าบริหารจัดการยาไปยังร้านยานั้น สปสช.จะมีการจัดสรรงบเพื่อดูแลเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดภาระกับโรงพยาบาลและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้ ร้านขายยา ข.ย. 1 มีอยู่ 17,000 แห่งทั่วประเทศ โดยคาดว่าแนวทางนี้เริ่ม 1 ต.คนี้ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 50 แห่งก่อน โดยประสานให้ผู้ป่วยรับยากับร้านยา 500 แห่ง ในกลุ่มโรค เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง, หอบหืด,จิตเวช

เครดิตแหล่งข้อมูล : workpointnews.com



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:14 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์