แพทย์เตือน! รมควันฆ่าตัวตาย ไม่ใช่วิธีที่ง่าย ตายทรมาน
"การรับควันพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ อย่ามองว่าเป็นวิธีที่ง่าย เพราะเป็นการตายอย่างทรมานที่สุด"
นพ.ฉันชาย กล่าวว่า เนื่องจากร่างกายจะเพราะต้องสำลักควัน และสูดมลพิษเข้าไปในกระแสเลือด หากมีค่าความเข้มข้นสูงมากในสภาพพื้นที่แคบ ไม่มีอาการถ่ายเท และยิ่งทำให้คนเสียชีวิตเร็วขึ้น แต่บางคนหากไม่เสียชีวิตทันที ก็จะกลายเป็นคนพิการ เพราะสมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยงจากการสำลักควัน
"ที่ผ่านมามักจะเจอผู้ป่วยที่เกิดจากเหตุการณ์ไฟไหม้อาคาร หรือไฟไหม้บ้าน รวมทั้งการตั้งเตนท์นอน และมีการเผลอจุดไฟให้ความร้อน ที่เข้ามารักษาด้วยอาการตายจากพิษคาร์บอนมอนอกไซต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับกลุ่มเหล่านี้"
ห่วงเลียนแบบ-วอนคนใกล้ชิดช่วยดูแลกล่มเสี่ยง
ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ข่าวการฆ่าตัวตายค่อนข้างถี่ โดยเฉพาะข่าวการฆ่าตัวตายแบบรมควัน กรมสุขภาพจิตห่วงประชาชนในการติด ตามข่าวสารข้อมูลความเคลื่อน ไหวดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นมาได้
โดยการเลียนแบบมักเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับข่าวที่บรรยายถึงวิธีการกระทำโดยละเอียดการได้เห็นภาพ หรือวิธีการฆ่าตัวตายจากสื่อ ได้ฟังการบรรยายในเรื่องของการฆ่าตัวตาย ซ้ำบ่อยๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนมากน้อยตามระยะเวลา ความถี่ และปริมาณข่าวที่ได้รับด้วย
"จากข้อมูลศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต ปี 2540-2560 พบว่า มีการฆ่าตัวตายโดยใช้วิธีการรมควัน เพียงประมาณ 0.1% ของจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และผู้ชายเสี่ยงกว่าผู้หญิง 1.38 เท่าในการใช้วิธีการนี้"
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือเพื่อป้องกัน โดยในส่วนของสื่อมวล ชน ที่มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารควรดำเนินการด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าววิธีการฆ่าตัวตายอย่างละเอียด ภาพการฆ่าตัวตาย รวมไปถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำร้ายตัวเอง และหลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวซ้ำๆ ถี่ๆเพื่อป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบการฆ่าตัวตาย